ซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการจัดฟันCephSmile V2

Facebook
Twitter
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีกระโหลกศรีษะ และจำลองการรักษาสำหรับการวิเคราะห์และวางแผนรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน เวอร์ชั่น 2.0 (CephSmile V2)

CephSmile เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการทำงานของทันตแพทย์ในการวางแผนการจัดฟันได้สะดวกมากขึ้น โดยโปรแกรมสามารถวาดรอยของรูปร่างกระโหลกศรีษะใบหน้าด้านข้างและด้านหน้า ทั้งที่ส่วนที่เป็น โครงสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อจากจุดสำคัญในแผ่นภาพรังสีเซฟาโลเมตริก ที่กำหนดโดยทันตแพทย์ นอกจากนี้ CephSmile ยังช่วยคำนวณค่าของมุมและระยะต่างๆ (Cephalometric Analysis) ที่มีความสำคัญและใช้วิเคราะห์ถึงปัญหาความผิดปกติของ โครงสร้างกระโหลกศรีษะใบหน้าและฟันด้วยทฤษฎีทั้งในและต่างประเทศ และสามารถทำการเปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละช่วง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงใบหน้าของผู้ป่วย ว่าจะมีแนวโน้มของใบหน้าเป็นอย่างไรภายหลังจัดฟัน สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีด้านหน้า (Postero-Anterion View) เพื่อดูความสมมาตรของใบหน้าด้านหน้า สามารถจำลองกะโหลกใน 3 มิติ จากภาพถ่ายรังสีด้านหน้าและด้านข้าง และมีฟังก์ชันพิเศษในการวิเคราะห์ภาพแบบจำลองฟัน เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างที่ใช้ในการเคลื่อนฟันอีกด้วย สามารถจำลองการตัดฟัน ถอนฟัน และจำลองการเคลื่อนที่ฟันใน 2 มิติ

ผลงานชิ้นนี้ เป็นความร่วมมือกันของ เนคเทค และคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาผลงานคือการพัฒนาซอฟแวร์ทางการแพทย์ ที่เหมาะสมกับข้อมูลคนไทยโดยเฉพาะ เพื่อแทนการ วิเคราะห์และวางแผนการจัดฟันด้วยมือ นอกจากนี้โปรแกรม CephSmile ได้รับการพัฒนาเพื่อลดการนำเข้า โปรแกรมวิเคราะห์กะโหลกศีรษะจากต่างประเทศ โดยพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานตามความต้องการของทันตแพทย์ในประเทศเป็นหลัก

test

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์

LATERAL CEPHALOMETRIC ANALYSIS
CephSmile สามารถทำการซ้อนทับภาพระหว่างภาพรังสี และภาพใบหน้าด้านข้าง สามารถทำการ วาดโครงร่างของใบหน้า กะโหลก และฟันที่สำคัญ ตาม Reference Points มี Tools ช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถทำการวิเคราะห์ Cephalometric Analysis ในรูปแบบการวิเคราะห์แบบต่างๆ ทั้งตามทฤษฎีในประเทศ อาทิเช่น Mahidol, Chula, Chiangmai, Khonkean, Songkha และตามทฤษฎีที่นิยมในต่างประเทศ อาทิเช่น Down, Steiner, Tweed, Jaraback, Harvold, Ricketts, McNamara, ABO และ Sassouni Analysis ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ทราบถึงปัญหาของโครงสร้างกระโหลกศรีษะ ใบหน้า และการสบฟันผิดปกติ เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
POSTERO-ANTERIOR (PA) ANALYSIS
เป็นการวิเคราะห์ภาพรังสีใบหน้าด้านหน้า เพื่อดูความสมมาตรของใบหน้า สำหรับการจัดฟันและการผ่าตัดขากรรไกร นอกจากนี้ยังสามารถซ้อนทับภาพรังสีด้านหน้า ลงบนภาพถ่ายได้ และ สามารถวาดภาพและแก้ไขลายเส้นได้เหมือนการวิเคราะห์ด้านข้าง
SUPERIMPOSITION
CephSmile จะช่วยวาดรอยของรูปร่าง กะโหลก ศรีษะใบหน้าด้านข้าง ทั้งที่ส่วนที่เป็นโครงสร้างกระดูก และเนื้อเยื่อ จากจุดสำคัญในแผ่นภาพรังสี และช่วยคำนวณค่าของมุมและระยะต่างๆ ที่เกิดขึ้น (Cephalometric Analysis) สามารถทำการพิมพ์ บันทึกข้อมูลต่างๆ ข้อมูลที่บันทึก สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ ก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา ในฟังก์ชันนี้
ORTHODONTIC TREATMENT SIMULATION
CephSmile มี ฟังก์ชัน การจำลองใบหน้าด้านข้าง หลังการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันและผ่าตัดในระบบดิจิทัล โดยทำการคำนวณการเปลี่ยนแปลงหรือบิดเบือนของภาพใบหน้าที่เกิดขึ้น โดยอ้างอิงจากค่าทางสถิติของการเปลี่ยนแปลงรูปหน้าหลังการจัดฟันของคนไทย 50 ราย (ค่าความสัมพันธ์ต่างๆ ได้จากคณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ซึ่งจะทำให้ได้รูปหน้าที่จำลองได้เหมือนจริงสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ
3D SKULL FROM 2D LATERAL & PA X-RAY VIEWS
เป็นการจำลองภาพกะโหลกศรีษะใน 3 มิติ จากภาพรังสีด้านหน้าและด้านข้างในระบบดิจิทัล ซึ่งจะใช้เพียงข้อมูลภาพ X-ray ด้านหน้า (PA View) และ ด้านข้าง (Lateral View) และข้อมูลลายเส้น Cephalometric Analysis ก็จะได้ภาพจำลองกะโหลกใน 3 มิติได้ พร้อมสามารถวัดขนาดและมุมใน 3 มิติได้เช่นกัน
MODEL ANALYSIS
ในการวิเคราะห์แบบจำลองฟันมีความสำคัญ เพื่อใช้ในการวัดขนาดความกว้างของฟันแต่ละซี่ และขนาดความกว้างของฟันโดยรวม และช่องว่างที่มีอยู่จริงภายในช่องปาก เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ช่องว่างในช่องปากและนำมาวางแผนการรักษา ในการพิจารณาถึงการเคลื่อนฟันหรือการถอนฟันสำหรับการจัดฟัน

ข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ CephSmileV2

ซอฟต์แวร์ทำงานได้ภายใต้กำหนดของอุปกรณ์และระบบที่เกี่ยวข้องดังนี้
  1. ตัวประมวลผล: มาตรฐานขั้นต่ำคือ Intel ® PentiumTM IV 2 GHz หรือเทียบเท่าส่วนมาตรฐานที่รับรองให้ใช้คือ Intel ® Core IITM 3GHz หรือ เทียบเท่า OS: Windows XP, Vista, 7, 8
  2. หน่วยความจำเครื่องคอมพิวเตอร์: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ 1GB มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ 2 GB ขึ้นไป
  3. หน่วยความจำวิดิโอการ์ด: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ 256 MB มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ 512MB ขึ้นไป
  4. พื้นที่ในการติดตั้งโปรแกรม: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ 150 MB มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ 512 MB
  5. ความคมชัดของ จอ: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ 1024 x 768 จุดภาพแบบ 32 บิต มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ 1280 x 1024 จุดภาพแบบ 32 บิต ขึ้นไป
  6. พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ สำหรับข้อมูลผู้ป่วย: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ 60 GB มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ 120 GB ขึ้นไป
  7. เครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ เครื่องพิมพ์สีแบบอิงก์เจ็ตใช้กับระบบปฏิบัติการณ์วินโดว์ ความคมชัดการพิมพ์ที่ 4800×1200 จุดต่อนิ้ว มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ เครื่องพิมพ์สีแบบเลเซอร์ใช้กับระบบปฏิบัติการณ์ วินโดว์ ความคมชัดการพิมพ์ที่ 4800×1200 จุดต่อนิ้ว
  8. ตัวอินเตอร์เฟสกับ USB มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ USB1 มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ USB2 ขึ้นไป
  9. ไดรฟ์ซีดี: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ แบบ VCD-RW มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ แบบ DVD-RW ขึ้นไป
  10. กล้องถ่ายรูป: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ ขนาด 3.1 ล้านจุดภาพขึ้นไปกำลัง Optic Zoom ตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไปมาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือขนาด 3.1 ล้านจุดภาพขึ้นไปกำลัง Optic Zoom ตั้งแต่ 10 เท่าขึ้นไป
  11. สแกนเนอร์: มาตรฐานขั้นต่ำ (minimum) คือ เครื่องสแกนเนอร์สีทั่วไป มาตรฐานที่รับรองให้ใช้ (recommended) คือ เครื่องสแกนเนอร์สีที่สามารถสแกนแผ่นใสได้

การใช้งานจริง

ปัจจุบันผลงาน version 2 มีการนำไปทอลองใช้งานเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนของนักศึกษาและแพทย์ผู้สอนในหลายมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร และปัจจุบันมีหน่วยงานซื้อ Licesne เพื่อนำไปประกอบการทำงานของแพทย์แล้วหลายหน่วยงาน เช่น

  • ศูนย์ทันตกรรมจัดฟัน สยามนครอินทร์
  • คลินิกทันตกรรมเดนทัลเวิลด์
  • Bright Smile Clinic
  • โรงพยาบาลลำปาง

แนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี

การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ (Licensing) เพื่อการใช้งาน โดยคิดราคา License ละ 60,000 บาท

ทีมวิจัยและพัฒนา

ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาพ (IMG) เนคเทค & คณะทันตแพทย์ศาสตร์ ม.มหิดล

สนใจผลิตภัณฑ์/ผลงาน

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี (BTT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-2354, 2357, 2382, 2383, 2399
email : business[at]nectec.or.th

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.cephsmilev2.com