หัวข้อที่ ๔ เรื่อง ประเทศไทยกับโลก
ลายเส้นคั่น

          เสนอนิทรรศการถาวรแบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้สื่อเทคโนโลยีและสื่อศิลปกรรม แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและผลกระทบของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ในโลก ตั้งแต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาคมในดินแดนที่เป็นผืนแผ่นดินไทยในปัจจุบันประชาคมโลก นำไปสู่การปรับตัว การสร้างสรรค์วัฒนธรรมของประชาคมบนผืนแผ่นดินนี้มาเป็นลำดับ โดยมีแนวความคิดว่าการอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในประชาคมโลกได้นั้น คนไทยจะต้องคำนึงถึงสิทธิและเสมอภาคในการสานความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ดังคำขวัญที่ว่า "สร้างเกียรติภูมิไทย สร้างสายใยในสังคมโลก"
   

การจัดแสดงได้แบ่งตามเนื้อหาไว้ ๑๓ ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ ๑ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ : วัฒนธรรมสัมพันธ์ในโลกที่ไม่มี พรมแดน
ส่วนที่ ๒ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ : อารยธรรมสัมพันธ์ข้ามทวีป
ส่วนที่ ๓ สมัยประวัติศาสตร์พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ : สัมพันธภาพแห่งรัฐโบราณ
ส่วนที่ ๔ โลกตะวันออกกับประเทศไทยสมัยสุโขทัย - อยุธยา : สัมพันธภาพในปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ส่วนที่ ๕ โลกตะวันตกกับประเทศไทยสมัยอยุธยา : สัมพันธภาพพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ส่วนที่ ๖ ประเทศไทยกับโลกตะวันออกและตะวันตกในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ : สัมพันธภาพกับ ต่างชาติในสมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์
ส่วนที่ ๗ ประเทศไทยในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ : จักรวรรดินิยม การ เข้าสู่สังคมโลก และการปฏิรูปการเมือง
ส่วนที่ ๘ ประเทศไทยในหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนถึงการเข้าร่วมในสงครามเวียดนาม : การต่างประเทศในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖
ส่วนที่ ๙ การปรับตัวของประเทศไทยให้เข้ากับสภาพการเมืองโลก : จากต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖ จนถึงปัจจุบัน
ส่วนที่ ๑๐ ไทยกับความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนที่ ๑๑ ไทยในระเบียบเศรษฐกิจโลก
ส่วนที่ ๑๒ ปัญหาและความร่วมมือที่ไร้พรมแดน ส่วนที่ ๑๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับโครงการพระราชดำริ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ไร้ พรมแดน


[จอหลัก | ความเป็นมา | ข้อมูล ๗๖ จังหวัด | ถามไถ่ไทย | ฟังเพลง | ชมวิดีโอ | หอวัฒนธรรมนิทัศน์ | คณะผู้จัดทำ | กาญจนาภิเษก]
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร