Logo - NECTEC and Backto NECTEC HomepageNational Electronics and Computer Technology

Research & Developmenticon หน้าหลัก
icon สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
icon OMOP
icon เทคโนโลยี ECTI
icon สรุปผลงานวิจัยและพัฒนา ECTI-A
icon สาขาอิเล็กทรอนิกส์
icon สาขาคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณ
icon สาขาโทรคมนาคม
icon สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
icon โครงการพิเศษ
icon ทุนวิจัย
icon ถ่ายทอดเทคโนโลยี
icon พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
icon นโยบายและโครงสร้างพื้นฐาน

งานวิจัยและพัฒนา ECTI

การดำเนินงานทางด้านการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม เป็นภารกิจหลักที่สำคัญของเนคเทค ตั้งแต่เริ่มแรกที่มีการตั้งองค์กรนี้ ทั้งนี้เนคเทคมีการปรับสาขาเทคโนโลยีเป้าหมาย ในการทำการวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการมุ่งเน้น อุตสาหกรรมต่างๆ มาเป็นระยะๆ โดยตลอด ในแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2543 - 2552) ซึ่งจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและเนคเทค ได้กำหนดเทคโนโลยีเป้าหมายออกเป็น 4 ด้าน คือ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing) โทรคมนาคม (Telecommunications) และสารสนเทศ (Information) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ECTI เพื่อเป็นกรอบในการทำการวิจัยพัฒนา และวิศวกรรมในช่วงระยะ 10 ปีต่อไป โดยในแต่ละสาขาเทคโนโลยีนั้น ได้มีการกำหนดชุดโครงการที่จะต้องดำเนินการ ตลอดจนเป้าหมายที่จะต้องบรรลุไว้อย่างชัดเจน

ECTI

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)

อิเล็กทรอนิกส์เป็นเทคโนโลยีต้นน้ำที่จำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีแทบทุกชนิด อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่มีการเจริญเติบโต มีนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก้อตาม สำหรับอุตสาหกรรมของไทยแล้วมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในประเทศยังมีสัดส่วนที่ต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรม ในประเทศส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรม รับจ้างประกอบ ไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ไม่มีขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าใหม่ ไม่มีอุตสาหกรรมสนับสนุน ในประเทศซึ่งทำให้ต้องนำเข้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนสำคัญจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด นอกจากนี้มาตรการและ ความเข้มงวด ในด้านมาตรฐานต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ก็ได้กลายมาเป็น กำแพงการส่งออกใหม่ที่สำคัญของประเทศที่จะก้าวเข้าไปผลิตสินค้า ECTI ต่างๆ มาตรการและ ความเข้มงวดในด้านมาตรฐานต่างๆ นี้ เป็นต้นทุนการผลิตสินค้าทั้งในแง่การเงิน เวลา และความสามารถ ทางด้านเทคนิกที่ประเทศผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เหล่านี้ทำให้ได้เพื่อที่จะสามารถ แข่งขัน หรือได้รับการยอมรับในเวทีโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยผลักดันให้ประเทศไทย จะต้องมีมาตรการและงบประมาณ ในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับประเทศต่างๆ เช่น เกาหลี ใต้หวัน สิงคโปร์ ซึ่งได้ทำและ ประสบความสำเร็จ ไปก่อนหน้าแล้ว

คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing)

จากการพิจารณาสถานการณ์แวดล้อมของประเทศ และการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสารสนเทศของประเทศ ทั้งด้านข้อมูล ระบบเครือข่ายข้อมูล และการใช้งานข้อมูล ที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า ความต้องการ ในการประมวลผลข้อมูล ขนาดใหญ่ การจำลองสถานการณ์ในงาน ด้านวิศวกรรมต่างๆ หรือเหตุการณ์ ในธรรมชาติ มีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การลดความสูญเสีย ที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินการจริง รวมถึงการทำนายเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่ง ปัจจุบันประเทศไทย ใช้งบประมาณด้านต่างๆ เหล่านี้ปีละหลายพันล้านบาท ดังนั้นเนคเทค จึงได้วางแนว ทางการ พัฒนาเทคโนโลยีการประมวลผลประสิทธิภาพสูง ที่ประกอบทั้งตัวระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง การคำนวณแบบขนานและแบบกลุ่ม การประยุกต์ใช้งานทั้งด้านการจำลองแบบ ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบเครือข่ายสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

โทรคมนาคม (Telecommunications)

เทคโนโลยีโทรคมนาคมและเครือข่ายเป็นเทคโนโลยีที่มีความต้องการในประเทศสูงมาก ในแต่ละปี มีการนำเข้า จากต่างประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งรัฐยังมีแผนการลงทุนอีก 500,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์เป็น 10 ล้านคู่สาย ในขณะที่อุตสาหกรรมในประเทศ มีขีดความสามารถ ในการผลิต และประกอบสูง แต่ขาดความสามารถในการพัฒนาต้นแบบสำหรับการผลิต ดังนี้นรัฐจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาต้นแบบผลิตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทดแทนการนำเข้า นอกจากนั้นแล้วการรวมกันของเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม และสื่อสารข้อมูลทำให้เปิดโอกาสแก่ SMEs ใหม่ๆ ให้เติบโตเป็นบริษัทขนาดใหญ่ได้

สารสนเทศ (Information)

ซอฟต์แวร์เป็นตัวจักรสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology :IT) ได้มีวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งมีส่วนสนับสนุนในการพัฒนาภาคการผลิต และบริการของประเทศ ปัจจับดังกล่างส่งผลให้ความต้องการใช้ซอฟต์แวร์มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ที่ไม่ต้องการการลงทุนสูงนัก จนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้น ประเทศจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ อาทิ การเตรียมการด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ด้านการพัฒนาบุคลากร คุณภาพ ด้านความต้องการที่จะเข้าถึงข้อมูล ได้จากทุกแห่งและทุกเมื่อ ด้านการจัดการข้อมูลมหาศาลที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนเครือข่าย เพื่อสามารถรองรับแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย )

ผู้รับผิดชอบ งานพัฒนาเนื้อหาสาระดิจิทัล โทร. 02-564-6900 ต่อ 2353 - 2354
Mail to Web Master

สงวนลิขสิทธิ์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทร.02-564-6900 ต่อ 2346 - 2355
Mail to Web Master

Valid HTML 4.01 Transitional Valid CSS! Level A Conformance to Web Content Accessibility Guidelines 1.0 พัฒนาด้วย CSS Technology