แนวทางการจัดทำแผนสำรองฉุกเฉินสำหรับปี ค.ศ. 2000

ดร.ชนม์ชนก วีรวรรณ
รักษาการหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมภาษาและซอฟ์แวร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
chonchanok@nectec.or.th


ABSTRACT -- The consequence of Y2K can led to failures in electronic appliances, interruption in supply-chain, lost of income, power outages, telecommunication interruption, and panics among the people, etc. Several countries are lagging behind in their effort to solve the problems. With less that 100 days left, the chances are they won't make it. Contingency planning becomes the way out. Preparation for contingency plan boils down to answering 4 simple questions. First, what kind of situations (scenarios) should we prepare for? Third, how shall we deal with the situation if it occurs? Fourth, how can we recover from the disaster? This paper layout approach and steps used for preparing a contingency plan.
Keywords -- Y2K problem, Contingency plan.

บทคัดย่อ -- ปัญหา Y2K สามารถส่งผลกระทบได้อย่างรุนแรง อาทิเช่น ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ล่ม เกิดการติดขัดในกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม การสูญเสียเรื่องการเงิน ไฟฟ้าดับ การติดขัดในการติดต่อสื่อสาร และความตื่นตระหนกของคนทั่วไป ฯลฯ เกือบทุกประเทศทั่วโลก มีความล่าช้าในการแก้ปัญหานี้ ขณะที่มีเวลาให้แก้ปัญหาเหลื่อน้อยกว่า 100 วันนี้ ถ้าพึ่งจะเริ่มแก้ปัญหา คาดได้ว่าจะแก้ไม่ทันแน่นอน ทางรอดที่ยังคงเหลืออยู่คือการจัดทำแผนฉุกเฉิน การจัดทำแผนฉุกเฉินที่จริงแล้ว เป็นการตอบคำถาม 4 คำถามหลัก ได้แก่ มีสถานการณ์อะไรบ้างที่เราต้องระวัง ? เราจะลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร ? เราจะรับสถานการณ์อย่างไร ถ้าปัญหาเกิดขึ้น ? และเราจะกู้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างไร ? บทความนี้จึงนำเสนอแนวทางในการจัดทำแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000
คำสำคัญ -- ปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000 , แผนสำรองฉุกเฉิน


National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright  © 2001 By Information System Service Section. All right reserved.