e-Culture – NECTEC-ACE 2018 https://www.nectec.or.th/ace2018 Annual Conference and Exhibition 2018 Fri, 02 Nov 2018 10:44:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 https://www.nectec.or.th/ace2018/wp-content/uploads/2018/06/cropped-ace-512-32x32.png e-Culture – NECTEC-ACE 2018 https://www.nectec.or.th/ace2018 32 32 About NECTEC-ACE 2018 https://www.nectec.or.th/ace2018/about/ Thu, 02 Aug 2018 11:57:18 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2018/?p=737 Read more

]]>
งานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค ประจำปี 2561
NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2018
“ประเทศไทยก้าวไกล ด้วยงานวิจัยใช้ได้จริง”

วันอังคารที่ 25 กันยายน 2561
ณ ห้องบอลรูม รีเซฟชั่นฮอลล์ โซนเอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

ปาถกฐา “ประเทศไทยก้าวไกล ด้วยงานวิจัยใช้ได้จริง”
โดย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ

ประเทศไทยยังคงเดินหน้าตามนโยบายปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และปฏิรูปประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 จะใช้นวัตกรรมนำไทยสู่ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ และร่วมมีบทบาทในการขับเคลื่อน ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมกับการปูพื้นฐานในการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริม และสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ สร้างสังคมแห่งโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จึงกำหนดนโยบายหลักมุ่งเน้น 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ วิทย์แก้จน วิทย์สร้างคน วิทย์เสริมแกร่ง และวิทย์สู่ภูมิภาค

รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน 4 นโยบายดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบโครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ (Big Rock) ให้กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 3,292 ล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยในระยะสั้นคือ เพื่อแก้ปัญหาของประเทศให้ตรงจุด และตรงกับความต้องการของคนในประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำหรือแก้จนให้กับคนส่วนใหญ่ พร้อมกับสร้างคนรุ่นใหม่ ให้มีความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4 นโยบายหลักจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ถูกตั้งความหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาล ต่อไป

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ เนคเทค-สวทช. ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีพันธกิจหลักดำเนินการวิจัย พัฒนา ออกแบบ วิศวกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมภายในประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเสริมสร้าง โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และชุมชนของประเทศ ด้วยพันธกิจดังกล่าว เนคเทค จะนำเอาผลงานวิจัยและองค์ความรู้ที่สะสมอย่างยาวนาน มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ให้เกิดเป็นรูปธรรม ผลิตผลงานวิจัยที่จับต้องได้สามารถนำไปใช้ได้จริง เนคเทคได้กำหนดกรอบวิจัย 5 ประเด็นมุ่งเน้น เพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายและสอดคล้องตามนโยบายหลัก 4 ประเด็นสำคัญของกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่

“วิทย์แก้จน” ด้วยกรอบวิจัยมุ่งเน้นทางด้านเกษตรและอาหาร
“วิทย์สร้างคน และวิทย์เสริมแกร่ง” ด้วยกรอบวิจัยมุ่งเน้นทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
“วิทย์สู่ภูมิภาค” ด้วยกรอบวิจัยมุ่งเน้นทางด้านการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชนชายขอบ

ในทุกๆ ปี เนคเทค-สวทช. จะจัดให้มีการประชุมวิชาการประจำปี ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาผลงานวิจัยและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน วัตถุประสงค์หลักของการจัดงานประชุมวิชาการ เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าผลงานวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ในสาขาต่างๆ ที่ใช้งานได้จริง และนำไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคการศึกษา เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมในระดับประเทศได้อย่างยั่งยืนและส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการที่สามารถสร้างเครือข่ายทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล พร้อมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพบุคลากรด้านวิจัย โดยจะมีเวทีการนำเสนอ การอภิปราย และการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ จากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

สำหรับงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทคประจำปี 2561 หรือ NECTEC Annual Conference and Exhibitions 2018 (NECTEC – ACE 2018) ในปีนี้ กำหนดจัดในวันอังคารที่ 25 กันยายน 2561 ณ ห้องบอลรูม รีเซฟชั่นฮอลล์ โซนเอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยก้าวไกล ด้วยงานวิจัยใช้ได้จริง” โดยมีเป้าหมายเป็นเวทีเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยพัฒนาที่มีการนำไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ หนุนการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างก้าวกระโดด ภายใต้กรอบวิจัย 5 ประเด็นมุ่งเน้น

และภายในงานปีนี้จะมีการนำเสนอผลงานโครงการภายใต้งบโครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ (Big Rock) จำนวน 2 โครงการ ที่ เนคเทค-สวทช. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานตามนโยบาย “วิทย์สร้างคน”และ”วิทย์สู่ภูมิภาค”

โครงการที่หนึ่ง ได้แก่ โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน (Coding at School Powered by KidBright) ทีมนักวิจัยเนคเทคจัดทำบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright จำนวน 200,000 ชุด แจกจ่ายให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดของรัฐ ประมาณ 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนากำลังคนด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน และยกระดับความสามารถของเด็กไทยสู่ความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคและระดับสากล และตามนโยบาย “วิทย์สร้างคน”และ“วิทย์เสริมแกร่ง”

โครงการที่สอง ได้แก่ โครงการขยายผลงานวิจัย DentiiScan เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย อีกหนึ่งผลงานของทีมวิจัยเนคเทค ในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางทันตกรรมได้แก่ เครื่อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติทางทันตกรรม (DentiiScan), ซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียม (DentiPlan), การออกแบบและผลิตครอบฟันเซรามิกส์ โดยทำการติดตั้งเครื่อง DentiiScan ในโรงพยาบาลภาครัฐ จำนวน 50 แห่ง เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทางทันตกรรมในระดับประเทศด้วยนวัตกรรมไทย และเป็นฐานในการสร้างอุตสาหกรรมการบริการทางการแพทย์ที่เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรมในระดับประเทศ นอกจากนี้ เนคเทค-สวทช. จะถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลงานวิจัยของเนคเทค และผลงานที่ร่วมกับพันธมิตร มานำเสนอในรูปแบบการสัมมนาวิชาการ และการจัดนิทรรศการ


การจัดสัมมนาวิชาการ

NECTEC-ACE 2018 มุ่งเน้นการนำเสนอทั้งแนวโน้มเทคโนโลยี ที่อาจมีทั้งผลกระทบและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในระยะเวลาอันใกล้ รวมถึงการนำเสนอแนวทางผลักดันผลงานวิจัยพร้อมใช้ได้จริงของเนคเทคและเครือข่ายพันธมิตร เพื่อตอบโจทย์ด้านต่างๆ อาทิ “วิทย์แก้จน” “วิทย์สร้างคน” “วิทย์เสริมแกร่ง” หรือ “วิทย์สู่ภูมิภาค” เป็นต้น ทั้งนี้มีหัวข้อสัมมนาน่าสนใจดังนี้

  • ประเทศไทยก้าวไกล ด้วย AI เทคโนโลยี: วิทย์สร้างคนและวิทย์เสริมแกร่ง ว่าด้วยทิศทางแนวโน้มงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โอกาสของการนำไปใช้งาน รวมถึงผลงานวิจัยของเนคเทคที่เกี่ยวข้อง
  • Cybersecurity & Disruptive Technologies ประเทศไทยจะก้าวไปอย่างไร: วิทย์เสริมแกร่ง ด้วยการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังกล่าว
  • Kid Bright: Coding at School Project: วิทย์สร้างคนและวิทย์เสริมแกร่ง งานวิจัยไทยสู่การใช้จริงในโรงเรียนกว่า 200 โรงเรียน เพื่อเสริมแกร่งแก่เยาวชน และสร้างเครือข่าย Maker ไทยให้ยั่งยืน
  • Anurak ระบบบริหารจัดการข้อมูลพิพิธภัณฑ์: วิทย์สู่ภูมิภาค จากงานวิจัยสู่คลังข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลทั่วประเทศไทย
  • อุตสาหกรรมไทยกับมาตรฐานสากลด้านเครื่องมือแพทย์และนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตในสังคมสูงวัย : การนำเสนอทิศทางมาตรฐานอันจำเป็นสำหรับเครื่องมือแพทย์ และนวัตกรรมเพื่อผู้สูงวัย ตอบโจทย์การเปลี่ยนงานวิจัยไปสู่การใช้ได้จริงในระยะอันใกล้

นอกจากนั้น ตลอดงานยังมีการสัมมนาที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “เครือข่าย IoT Academic Network” “Advanced Materials for Sensing and Energy Storage” “เทคโนโลยีเซนเซอร์ตอบโจทย์ใช้จริงในประเทศไทย” เป็นต้น โดยการสัมมนาทั้งหมด ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับฟังความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งรวมถึง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ Start-Up บริษัท Maker ต่างๆ อีกด้วย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


การจัดนิทรรศการ

NECTEC-ACE 2018 นำเสนอผลงานของเนคเทคที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ด้วยงานวิจัยที่สามารถใช้ได้จริง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย วิทย์ของภาครัฐ ได้แก่ วิทย์แก้จน วิทย์สร้างคน วิทย์เสริมแกร่ง และวิทย์สู่ภูมิภาค โดยมีผลงานที่น่าสนใจ อาทิ

  • วิทย์แก้จน
    Thai Poverty Map and Analytics Platform: TPMAP ระบบ BigData สำหรับชี้เป้าผู้ที่มีรายได้น้อยเพื่อการกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
  • วิทย์สร้างคน
    KidBright บอร์ดสมองกลฝังตัวที่ส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้กระบวนการคิดอย่างมีระบบ มิวอาย (New Version): กล้องจุลทรรศน์บนมือถือสั่งงานด้วยบอร์ด KidBright หรือคอมพิวเตอร์ ผลงานเยาวชนจากโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ สนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชนให้ต่อยอดพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สู่การใช้งานจริง
  • วิทย์เสริมแกร่ง
    นำเสนอผลงานที่มีความพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคธุรกิจ เช่น GASSET: เซนเซอร์ตรวจจับแก๊สชนิดฟิล์มบางสารกึ่งตัวนำโลหะออกไซด์ซึ่งมีความไวสูงและใช้พลังงานต่ำ ABDUL Platform: โปรแกรมแชตบอต อยู่ไหน (UNAI): ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ Open-D (Open Data Service Platform): แพลตฟอร์มให้บริการข้อมูลแบบเปิด uRTU: หน่วยตรวจวัดระยะไกลยูนิเวอร์แซล DIGEST: ระบบวินิจฉัยและให้คำแนะนำการสร้างกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อยกระดับการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 และผลงานที่ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคธุรกิจ เช่น NETPIE: แพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างสรรพสิ่ง Aquatic Control: ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์สัตว์น้ำ DSM eMeeting Cloud Service, Digital Dentistry Platform และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อ่านไทย เป็นต้น
  • วิทย์สู่ภูมิภาค
    นำเสนอผลงานที่เนคเทคได้พัฒนาขึ้นจนเป็นผลสำเร็จและสามารถส่งต่อเทคโนโลยีสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้เป็นผลสำเร็จ อาทิ ผลงานในกลุ่ม Smart City, Lidar Mapping (Li-Ma): ระบบสร้างแผนที่ 3 มิติที่มีพิกัดทางภูมิศาสตร์โดยใช้แสงเลเซอร์ความละเอียดสูง รักษ์น้ำ: ระบบพยากรณ์และจำลองเหตุการณ์เพื่อการบริหารจัดการปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม เป็นต้น

ซึ่งผลงานต่างๆ ที่นำเสนอนั้น ล้วนเป็นผลงานที่ใช้งานได้จริง และสามารถตอบโจทย์ทั้งในมิติของผู้ประกอบการที่ต้องการนำเทคโนโลยีไปต่อยอดธุรกิจ ตลอดจนผู้บริโภคปลายทางได้อย่างดี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

]]>
Session 9 : สร้างคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยแพลตฟอร์มวัฒนธรรมดิจิทัล Anurak https://www.nectec.or.th/ace2018/ss9-anurak/ Tue, 17 Jul 2018 14:40:21 +0000 https://10.226.48.53/ace2018/?p=149 Read more

]]>

หัวข้อ : สร้างคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยแพลตฟอร์มวัฒนธรรมดิจิทัล Anurak

ห้องสัมมนา: Meeting Room 3
เวลา: 14.45 - 16.15 น.

ศิลปะและภูมิปัญญาของชาติไทย ถือได้ว่าเป็นมรดกของชาติ ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพื่อสืบต่อให้กับชนรุ่นหลังได้เกิดการเรียนรู้และตะหนักถึงคุณค่าของท้องถิ่น ซึ่งก่อให้เกิดจิตสำนึกในถิ่นฐานบ้านเกิดและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลหลักฐานของโบราณวัตถุ ชะลอการเสื่อมสภาพ ชำรุดเสียหายของวัตถุทางประวัติศาสตร์ อันเกิดจากการจับต้องโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่และสืบค้นองค์ความรู้ ให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย โดยไม่ทำให้วัตถุทางประวัติศาสตร์เกิดความเสียหาย การพัฒนาบุคลากรถือได้ว่าเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนที่สำคัญ โครงการจึงมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความตระหนักในการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีความรู้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้เผยแพร่จากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังก่อให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนเป็นการพัฒนาสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศและสังคมไทย

กำหนดการ

14.45 – 16.15 น. สร้างคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยแพลตฟอร์มวัฒนธรรมดิจิทัล Anurak

เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าถึงมุมมองและประสบการณ์ด้านการทำงานวัฒนธรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ด้านนโยบายที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของประเทศ ด้านการศึกษา
ในรูปแบบ Communities based learning ด้านชุมชน การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ และด้านเทคโนโลยี ดังนี้

  • ถ่ายทอดประสบการณ์ในมุมมองของภาคธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์และงานบริการ ที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน   ความท้าทายที่จำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์กับงานด้านเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร (Information Technology : IT)  รวมไปถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะและเพิ่มศักยภาพด้านบุคลากรด้านเทคโนโลยี
    โดย คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม
    Principal Visionary Architect
    KASIKORN Business – Technology Group (KBTG)

  • ถ่ายทอดประสบการณ์ จากชุมชนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้ใช้ประโยชน์จริงจากเทคโนโลยีระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum) และระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ (Museum Pool)
    โดย คุณพรรษา บัวมะลิ
    พิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ไตลื้อ บ้านใบบุญ (เชียงใหม่)
  • สถาบันการศึกษา ตัวกลางในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวัฒนธรรม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน พัฒนานิสิต นักศึกษา ให้รับใช้และเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง
    โดย อาจารย์พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน และรองรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
    โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
    นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย

คุณกริช นาสิงห์ขันธุ์
หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

]]>