NECTEC-ACE 2020 https://www.nectec.or.th/ace2020 NECTEC-ACE Online Series Tue, 17 Nov 2020 07:48:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.7.2 https://www.nectec.or.th/ace2020/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico NECTEC-ACE 2020 https://www.nectec.or.th/ace2020 32 32 EP.2 TPMAP: BIG DATA กับการแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน https://www.nectec.or.th/ace2020/ep2-tpmap/ Mon, 09 Nov 2020 06:40:38 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2020/?p=1955 Read more

]]>

[EP.2] TPMAP: BIG DATA กับการแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

ท่ามกลางความท้าทายของการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ ข้อมูลจาก TPMAP ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ซึ่งปัจจุบันถูกใช้งานแล้ว 73 จังหวัด จะช่วยขจัดและแก้ไขปัญหาความยากจนของคนไทยได้อย่างไร?

มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองไปด้วยกันกับ NECTEC-ACE Online Series EP.2 นี้!

สาระสำคัญของการเสวนา

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (ยุทธศาสตร์ที่ 3) และการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (ยุทธศาสตร์ที่ 6) ดังนั้นเพื่อการขับเคลื่อนและผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) หน่วยงานภายใต้สังกัดของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่มีชื่อระบบว่า Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) โดยมีเป้าหมายให้เป็นระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนเพื่อนำไปสู่นโยบายการปฏิบัติบนหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based Policy)

ในช่วงที่ผ่านมา TPMAP ได้มีการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความยากจนแล้วทั่วประเทศถึง 73 จังหวัด ครอบคลุมมิติความยากจนด้านการศึกษา ด้านรายได้ ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ ด้านสุขภาพ และด้านสภาพที่อยู่อาศัย โดยมีผลการดำเนินงานในเบื้องต้นอย่างน่าสนใจ

ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการนำระบบ TPMAP ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาและชี้เป้าผู้ที่ต้องการได้รับการช่วยเหลืออย่างแม่นยำ เปรียบเสมือนทีมพัฒนาจังหวัดฯ สามารถเดินไปเคาะประตูหน้าบ้านผู้ที่ต้องการได้รับการช่วยเหลือ พร้อมรายงานผลการดำเนินงานได้แบบ Real Time โดยมุ่งหวังที่จะขจัดและแก้ไขปัญหาความยากจนในทั้ง 5 มิติของคนไทย เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ อย่างไรก็ตามความท้าทายในการใช้งานระบบฯ ยังมีอีกมาก รวมถึงความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

เวทีเสวนาในครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างความสำเร็จของ “สมุทรสงครามโมเดล” และหน่วยงานสำคัญของชาติที่จะร่วมกันเดินหน้าแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยไปพร้อมกับการพัฒนาระบบ TPMAP ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทยต่อไป

ep2-poster

หัวข้อการเสวนา

  • สมุทรสงครามโมเดล กับการแก้ปัญหาความยากจนที่จังหวัดสมุทรสงคราม
    โดย นายชรัส บุญณสะ
    ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
  • การน้อมนำหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” 
    มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ

    โดย นางสาวมนทิรา เข็มทอง
    ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานแผนและยุทธศาสตร์
    สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
  • ยุทธศาสตร์ชาติสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่
    โดย ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ
    ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • TPMAP กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่
    โดย ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์
    หัวหน้าทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)

ดำเนินรายการ โดย

  • ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
    รักษาการรองผู้อำนวยการ 
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)
  • SUTHICHAI AI
    ผู้ประกาศข่าวปัญญาประดิษฐ์

รับชมเสวนาย้อนหลัง​

]]>
EP.1 เทคโนโลยีเพื่อการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคติดต่ออย่างบูรณาการ https://www.nectec.or.th/ace2020/ep1-ddccare/ Mon, 09 Nov 2020 04:11:31 +0000 https://www.nectec.or.th/ace2020/?p=1928 Read more

]]>

[EP.1] เทคโนโลยีเพื่อการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคติดต่ออย่างบูรณาการ

NECTEC-ACE Online Series EP.1 ชวนคุณร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สู้! COVID-19 ด้วยเทคโนโลยี
เจาะลึกเบื้องหลัง . . . การพัฒนาระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบนความท้าทายของวิกฤต COVID-19

สาระสำคัญของการเสวนา

การกักตัว หรือ Quarantine ถือเป็นหนึ่งในมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแยกตัวออกจากชุมชน ไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อสังเกตอาการและป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ขณะเดียวกันบุคลากรทางด้านสาธารณสุขและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำเป็นต้องทราบข้อมูลต่างๆ ของผู้ที่มีความเสี่ยงในช่วงการกักตัว เพื่อประเมินสถานการณ์ เตรียมการ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค รวมถึงการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัย “เทคโนโลยีเพื่อการเฝ้าระวังสถานการณ์ ทางระบาดวิทยาของโรคติดต่ออย่างบูรณาการ” ช่วยขับเคลื่อนการจัดการภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขให้มีความเข้มแข็ง กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารสถานการณ์ทางระบาดวิทยา และ สวทช. ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้ร่วมกันพัฒนาระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ DDC-CARE ท่ามกลางความท้าทายทางด้านเวลาและความต้องการที่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ และการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรในการสนับสนุนทรัพยากรคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่สำคัญ

ในสัมมนานี้เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานการณ์ทางระบาดวิทยา และการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ DDC-CARE จากการบูรณาการเทคโนโลยีพร้อมใช้ของ สวทช. การใช้งานระบบ DDC-CARE เชิงรุก ในช่วง Home Quarantine จนถึง Alternative Hospital Quarantine ตลอดจน การขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่แพลตฟอร์มการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคติดต่ออย่างบูรณาการ เพื่อการต่อยอดโดยไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ทุกครั้ง

ep1-poster

ร่วมเสวนาโดย

  • นายแพทย์ยงเจือ เหล่าศิริถาวร
    ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ
    กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล
    นักวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ – สวทช.
  • ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์
    นักวิจัยกลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ เนคเทค-สวทช.

ดำเนินรายการโดย

  • ดร.ปรัชญา บุญขวัญ
    นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค-สวทช.
  • KITTI AI
    ผู้ประกาศข่าวปัญญาประดิษฐ์

รับชมเสวนาย้อนหลัง

]]>