...10th EAWG Meeting...
...11th EATF Meeting...

                  การประชุม EAWG ครั้งที่ 10
                     วันที่ 1-2 เมษายน 2545
        ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม


การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
     ที่ประชุมได้อภิปรายถึงการจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ในแต่ละสาขาภายใต้แผนการดำเนินงานของ
e-ASEAN โดยตระหนักถึงเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด และความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างกลไกเพื่อผลักดันให้แผนการ
ดำเนินงานมีความก้าวหน้า เพื่อนำเสนอต่อผู้นำอาเซียน ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นว่าโครงการที่ควรเร่งดำเนินการนั้นควรจะ
เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม ประชาชน และภาครัฐบาล ตลอดจนลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ และสามารถดำเนินการได้ภายในวงงบประมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามโครงการอื่นภายใต้แผนการ
ดำเนินการ ก็จะยังคงอยู่และทยอยดำเนินการตามลำดับ

ASEAN Information Infrastructure
ในสาขานี้ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมซึ่งเป็นภารกิจหลักของกประชุม
เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านโทรคมนาคมของอาเซียน (ASEAN TELSOM) EAWG จะเน้นที่โครงสร้างพื้นฐานด้าน
อินเทอร์เน็ต ดังนี้
      ARIX (ASEAN Regional Internet Exchange)
      ARISPA (ASEAN Regional Internet Service Provider Association)
      PKI (Public Key Infrastructure)
     Technical Architecture
e-Commerce
สิงคโปร์ในฐานะ Shepherd เสนอที่ประชุมว่าควรเน้นที่ B2B e-Commerce เนื่องจากภาคธุรกิจมีความพร้อมในการ
ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริการ และ การติดต่อทางการค้า โดยจะเน้นที่ Common Reference Framework
ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
      Legal Infrastructure
      Electronic Payment Gateways
      Alternative Dispute Resolution Mechanism
      CA (Certification Authority)/PKI (Public Key Infrastructure)
      Security Issues
Liberalization Trade in ICT Products, Services, and Investment
ในสาขานี้ จะเน้นที่การพัฒนา Common Standards in ICT Skills Certification และ Companies Certification
Capacity Building and e-Society
สาขานี้จะเน้นโครงการสำหรับด้านต่างๆ 3 ด้านดังนี้
      ภาคการศึกษา > SchoolNet
      ภาคอุตสาหกรรม > Asia Incubator 2003
      ภาคแรงงาน > Knowledge Worker Development Program
e-Government
ที่ประชุมเห็นพ้องว่าควรเน้นการพัฒนาแผนแม่บทด้าน e-Government และ โครงการต่างๆ ดังต่อไปนี้
      e-Visa
      e-Passport
      Trade EDI
      ASEAN Smart Card

Other Work Program Updates
e-ASEAN Public Awareness Program
ที่ประชุมมีความคิดที่จะจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ e-ASEAN โดยพ่วงไปกับกิจกรรมใหญ่ๆ ทางด้าน ICT ในแต่ละ
ประเทศสมาชิก โดยจัดหมุนเวียนกันไปปีละครั้ง และเห็นว่าควรหารือกับผู้จัดกิจกรรมเหล่านี้ถึงความร่วมมือกับ EAWG
ในการจัดการประชุม โดยมีวาระ e-ASEAN เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม และรายงานถึงความคืบหน้าในการหารือในการ
ประชุมครั้งต่อไป สมาชิกได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม ICT ในประเทศของตน ดังนี้
      บรูไน > BITEX ICT Conference and Exhibition
      มาเลเซีย > ASEAN Communication Multimedia
      ฟิลิปปินส์ > ICT Summit for e-Government
      ไทย > ASOCIO (Asian-Oceanian Computing Industry Organization) Meeting
      สิงคโปร์ > CommunicAsia
เว็บไซต์ www.e-ASEAN.info
จะมีการพัฒนาเนื้อหาของเว็บไซต์ให้มีข้อมูลเกี่ยวกับ ICT ให้ครอบคลุมกว้างขวางเพื่อให้ประชาสัมพันธ์ e-ASEAN
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้แต่ละประเทศแต่งตั้ง content manager เพื่อให้ข้อมูลด้าน ICT ในประเทศของตน
แก่เว็บไซต์ ที่ประชุมเห็นชอบให้หน้าที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในความรับผิดชอบของผู้ประสานงานโครงการ (Country
Project Coordinator) สิงคโปร์ได้ย้ำถึงการจัดทำฐานข้อมูลนโยบายด้าน ICT สมาชิกเห็นชอบให้มีโครงร่างสำหรับ
การพัฒนาข้อมูล ICT แห่งชาติ และแม่แบบสำหรับการพัฒนาเนื้อหาด้าน ICT เพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาเนื้อหาต่อไป
Initiative for ASEAN Integration (IAI)
ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงการประสานงานระหว่าง EAWG และ แผนงานด้าน ICT ภายใต้โครงการ IAI
เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน และตกลงว่าจะทำรายงานเกี่ยวกับประเด็นนี้เสนอต่อคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้าน
เศรษฐกิจของอาเซียน (SEOM) เพื่อพิจารณา เพื่อหาแนวทางในการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างคณะทำงาน
ต่างๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับ ICT ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

กลไกการบริหารจัดการเงินทุน
ประเทศที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาแนวทางในการจัดหาและบริหารเงินทุนสำหรับ e-ASEAN ได้นำเสนอแนวทางต่างๆ
ได้แก่ Preferential Loan, Bank Loan, Build-Operate-Transfer (BOT), ASEAN-ICT Fund และ Equity
Sharing เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสมของแต่ละแนวทาง
สำหรับโครงการแต่ละประเภท บทบาทของ EAWG ในการบริหารจัดการ หลักการในการสร้างกองทุนพิเศษ และวิธีการ
จัดสรรการใช้เงินกองทุนสำหรับโครงการภาครัฐและโครงการภาคเอกชน บรูไนในฐานะประเทศที่เป็นผู้ยกร่างโครงการ
กลไกการบริหารจัดการเงินทุนจะเตรียมสรุปโครงการร่างสุดท้ายและนำเสนอต่อ SEOM ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545

การปรับระบบการบริหารจัดการของ EAWG
สืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว ประเทศสมาชิกได้แต่งตั้งผู้ประสานงานโครงการตามที่ได้รับมอบหมาย และที่ประชุม
เห็นชอบกับการปรับ TOR ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใน EAWG ใหม่ ทั้งประธานคณะทำงาน ประเทศสมาชิก ผู้ประสาน
งานโครงการ และสำนักเลขาธิการอาเซียน นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบในการปรับเปลี่ยนผู้นำในการปฏิบัติภารกิจใน
สาขาต่างๆ ของ EWAG ให้สอดคล้องกับคณะทำงานเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านโทรคมนาคมของอาเซียน (TELSOM) โดย
EAWG จะเน้นที่ Soft Infrastructure เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ Hard Infrastructure ที่เป็นภารกิจหลักของ TELSOM

ความร่วมมือกับคู่เจรจา
ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการเชิญจีน เกาหลีและญี่ปุ่นมาหารือถึงความร่วมมือระหว่างกัน