ห้องปฏิบัติการวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน หรือ Smart Machine and Mixed Reality (SMR) เป็นห้องปฏิบัติการที่ปรับเปลี่ยนจากห้องปฏิบัติการวิจัยระบบอัตโนมัติขั้นสูง Advanced Automation System (AAS) ในอดีตห้องปฏิบัติการ AAS มีงานวิจัยเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติหลายชิ้น อาทิ เครื่องจักรกลอัตโนมัติ เครื่องตรวจสอบชิ้นงานด้วยภาพ ซอฟต์แวร์ Optimization เป็นต้น ต้นแบบส่วนใหญ่ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานในจริงในภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาตามกาลเวลา แนวโน้มเครื่องจักรกลในอนาคตจะมีความฉลาดมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) อยู่เบื้องหลัง เครื่องจักรกลเหล่านี้จะสามารถทำงานยากๆ แทนคนได้ และเป็นเครื่องจักรที่ให้คุณค่ากับผู้ใช้ได้มากกว่าเครื่องจักรกลแบบเดิม ประกอบกับการที่โลกกำลังก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลหรือหุ่นยนต์ในงานต่างๆ มากขึ้น
ห้องปฏิบัติการวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน
ที่ผ่านมาห้องปฏิบัติการ AAS มีโครงการวิจัยหุ่นยนต์ตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Inspection System : GIV) ได้พัฒนาร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และใช้งานอยู่ในกิจการของ กฟผ. อยู่ในปัจจุบัน และมีโจทย์วิจัยหุ่นยนต์ประเภทอื่นๆเข้ามาเป็นระยะ เช่น หุ่นยนต์ตรวจสอบใต้น้ำ และหุ่นยนต์ตรวจสอบปล่องไฟโรงไฟฟ้า เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความต้องการหุ่นยนต์เฉพาะทางที่เริ่มมีมากขึ้นในตลาดของประเทศไทย
นอกจากนี้เทคโนโลยีอีกประเภทที่มีแนวโน้มจะใช้งานมากในอนาคตคือ เทคโนโลยีวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) ทั้งในส่วนของระบบเสมือนจริง (Virtual Reality : VR) และการประสานระหว่างโลกจริงกับระบบเสมือน (Augmented Reality : AR) เพราะเทคโนโลยีนี้สามารถลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ การนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และเทคโนโลยีวิศวกรรมดิจิตอลเข้ามาทำงานร่วมกันจะสามารถช่วยให้ระบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ดีขึ้น
วิสัยทัศน์
- เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านการพัฒนาระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และวิศวกรรมดิจิทัล เพื่อสร้างต้นแบบที่มีนวัตกรรมร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกประเทศ
พันธกิจ
- ดำเนินการวิจัย พัฒนา และออกแบบวิศวกรรม ในโจทย์ทางด้านหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และวิศวกรรมดิจิทัล
- ทำงานร่วมกันกับพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางด้านระบบอัตโนมัติ ที่ถูกนำไปใช้ได้จริงและสามารถแข่งขันได้ในตลาด
เทคโนโลยีหลัก
- เทคโนโลยีหุ่นยนต์บริการ (Service Robot) แบ่งเป็น
- หุ่นยนต์สำหรับงานส่วนตัว (Service robot for personal use)
- หุ่นยนต์สำหรับงานเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Service robot for professional use)
- เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI)
- เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual and Augmented Reality Team)
ผลงาน
- International Journals:
- Kittipong Ekkachai, Kanokvate Tungpimolrut, and Itthisek Nilkhamhang, “Force control of a magnetorheological damper using an elementary hysteresis model-based feedforward neural network”, Smart Materials and Structure, Vol. 22, No. 11, Paper No. 115030, 9 p, November 2013.
- P. Bunnun, S. Subramanian and W. Mayol-Cuevas, “In–Situ Interactive Image-based Model Building for Augmented Reality from a Handheld Device”, Virtual Reality, Springer, January 2012.
- W.Covanich and D.C. McFarlane, “Comparing the control structure of ISA S88- and Holonic Component-Based Architecture,” Systems, Man, and Cybernetics, Part C: Applications and Reviews, IEEE Transactions on, vol. 41, no. 1, pp. 4-13, 2011.
- W. Covanich and D. C. McFarlane, "Assessing ease of reconfiguration of conventional and Holonic manufacturing systems: Approach and case study," Engineering Applications of Artificial Intelligence, vol. 22, no.7, pp. 1015-1024, 2009.
- International Conferences:
- Theerapong Fongjun , Apicit Tantaworrasilp , Phanuphan Kwansud , Pished Bunnun and Chonlada Theeraworn ,“Automatic Multi Channel Serial I/O Interface using FPGA,” SICE2011, 2011.
- Theerapong Fongjun and Kamonwan Tanta-ngai, “Improving Efficiency of FPGA Position Control System,” ECTI-CON2011, pp.597-600, 2011.
- Kittipong Ekkachai, Kanokvate Tungpimolrut, Sirichai Nithi-Uthai, Apicit Tantaworrasilp and Itthisek Nilkhamhang (2011). Modeling of a magneto-rheological damper using modified FNN without force sensor input, In Proceedings of the The SICE Annual Conference 2011, 13-18 September 2011, Tokyo, Japan. pp. 1265-1269.
- Kittipong Ekkachai, Kamonwan Tanta-Ngai, Kanokvate Tungpimolrut and Itthisek Nilkhamhang, “A control of MR damper using feed-forward neural network without force sensor”, The 8th Electrical Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI) Association, Thailand – Conference (ECTI-CON 2011), Khon Kaen, Thailand, May 2011.
- Udom Komin and Kamonwan Tanta-ngai " DSP-Based Motion Controller Development for Milling Machine " / SICE2011 Japan/ no.6, pp. 100-106, 2011.
- Itthisek Nilkhamhang, Rawikarn Suppharachoyothin, Jettanant Nittayasak, Yasuharu Koike, Toshiaki Kondo, anokvat Tungpimolrut and Teesid Leelasawassuk “A Comparative Study of Eye Tracking Techniques”, ICICTES 2010, Thailand.
- Itthisek Nilkhamhang, Rawikarn Suppharachoyothin, Jettanant Nittayasak, Yasuharu Koike, Toshiaki Kondo, anokvat Tungpimolrut and Teesid Leelasawassuk “A Scale-Variable Template Matching Technique for Eye Tracking”, ICESIT 2010, Thailand.
- Kittipong Ekkachai, Udom Komin, Wuttikorn Chaopramualkul, Apicit Tantaworrasilp, Phanuphan Kwansud, Pongsakorn Seekhao, Teesid Leelasawassuk, Kamonwan Tanta-Ngai and Kanokvate Tungpimolrut, “Design and Development of an Open Architecture CNC Controller for Milling Machine Retrofitting”, ICCAS-SICE09, 17-21 Aug 2009, JAPAN.
- Puwat Charukamnoetkanok, Kittipong Ekkachai, Narisara Klanarongran, Teesid Leelasawassuk, Prakob Komeswarakul, Pitipong Suramethakul, Oraorn Thonginnetra, Sunisa Sintuwong, Kanokvat Tungpimolrut, Waree Kongprawechon, Pannet Pangputhipong, “Robotic Slit-lamp for Tele-Ophthalmology”, ICCAS-SICE09, 17-21 Aug 2009, JAPAN.
- Sutham Keerativittayanum, Kanokkwan Rakjaeng, Toshiaki Kondo, Waree Kongprawechnon, Kanokvat Tungpimolrut and Teesid Leelasawassuk “Eye Tracking System for Ophthalmic Operating Microscope”, ICROS-SICE 2009, Japan.
- Udom Komin, Suthee Phoojaruenchanachai, Somchai Chatratana and Suwat Kuntanapreeda "Robust Adaptive Fuzzy Control for a Class of Uncertain Servomechanism Systems" /IEEE TENCON2004/, no. 1, pp. 10-16, 2004.
- Prototypes:
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์ เครื่องย้อมเลือดอัตโนมัติ, 2557
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์ เครื่องทดสอบลูกหมาก, 2557
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์ ซอฟต์แวร์ระบบบริหารอะไหล่กังหันก๊าซ, 2557
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์ ซอฟท์แวร์ระบบบริหารการตัดเหล็กเส้นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, 2555
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์ ชุดอุปกรณ์ตรวจสอบชิ้นงานฉลากและอิเล็กทรอนิกส์, 2555
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์ ระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ V2.0, 2553
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์การสร้างเครื่องแกะสลักไม้ควบคุมด้วยโปรแกรม EMC ด้วยระบบขับเคลื่อนแบบเซอร์โว Wood Engraving Machine Controled by EMC with Servo System, 2549
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์ เครื่องขัดลูกหมากรถบรรทุก, 2554
- ต้นแบบภาคสนาม อุปกรณ์ตรวจตาทางไกลรุ่น 2, 2552
- ต้นแบบภาคสนาม ระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ V1.0, 2551
- ต้นแบบภาคสนาม การ์ดควบคุมการเคลื่อนที่ PMD V1.0 PMD Motion Control Card V1.0, 2550
- ต้นแบบภาคสนามอุปกรณ์ตรวจตาทางไกล ระยะที่ 1 Eye Teleanalyzer Phase 1, 2550
- ต้นแบบภาคสนาม คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องเจียระไนโลหะอัตโนมัติ เวอร์ชัน PMAC PC Based 2-Axis Griding Machine Controller (PMAC), 2548
- ต้นแบบห้องปฏิบัติการ การ์ดควบคุมการเคลื่อนที่ด้วยชิพประมวลผลแบบดิจิตอลเวอร์ชั่น 1.0, 2551
- ต้นแบบห้องปฏิบัติการ ดิจิตอลอินพุทเอาท์พุท 64 บิตพีซีไอการ์ด 64-bit DIGITAL Isolated I/O PCI Card, 2550 ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตอัตโนมัติ, 2550
- ต้นแบบห้องปฏิบัติการ การพัฒนาอัลกอริทึมการเคลื่อนที่แบบต่อเนื่องของเครื่องจักรซีเอนซีบนชุดควบคุม DSP Improvement of Continuous Motion Algorithm for CNC Machine on DSP Motion Controller ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตอัตโนมัติ, 2550
- ต้นแบบห้องปฏิบัติการ บอร์ดแสดงผลการกดสวิตช์สำหรับการแข่งขันระบบปฏิบัติการลินุกซ์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 8 Display Board for The Eighth Thailand Open Source Software Festival, 2550
- ต้นแบบห้องปฏิบัติการ เครื่องกัดชิ้นงาน RAMA200 Milling Machine RAMA200, 2550
- ต้นแบบห้องปฏิบัติการ การควบคุมเครื่องกลึงชิ้นงานด้วยโปรแกรม EMC โดยใช้ระบบขับเคลื่อนแบบเซอร์โว Turning Machine Controlled by EMC with Servo System, 2549
- ต้นแบบห้องปฏิบัติการ บอร์ดเชื่อมต่อสำหรับเครื่องกัดชิ้นงาน RAMA200 Interface Board for Milling Machine RAMA200, 2549
- ต้นแบบห้องปฏิบัติการ บอร์ดวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการแข่งขันการประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ YECC2006 Prototype Electronics Board for Youth Electronics Circuit Contest 2006, 2549
- Patents:
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เครื่องขัดลูกหมากอัตโนมัติ
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เครื่องเรียงสกรูชนิดหัวแบนอัตโนมัติ
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ระบบตรวจและวิเคราะห์คลื่นหัวใจอัตโนมัติผ่านระบบสื่อสารทางไกล
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ระบบสำหรับวัดชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
- อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อุปกรณ์ขนย้ายกระสอบ
บุคลากร
- บุคลากรและความเชี่ยวชาญ:
- ดร.กิตติพงศ์ เอกไชย : Optimization, Man-Machine Interface, Neural Network
- ดร.วุฒิภัทร คอวนิช : Reconfigurable manufacturing system, Digital Real-Time Control System, Machine Vision
- ดร.พิเชษฐ์ บุญหนุน : Augmented Reality, Machine Vision, Digital Real-Time Control System, SCADA
- นายวุฒิกร เชาว์ประมวลกุล : Motion Control System, CNC & PLC System, Embedded Programming
- นายอุดม โกมินทร์ : Automated Manufacturing System, Multi-Axis Motion control, Fuzzy Systems, Adaptive Control, Robot Control
- นายอภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์ (ลาศึกษาต่อ) : การออกแบบระบบสมองกลฝังตัว สำหรับงานควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
- ดร.จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน : Advanced Control System, Medical Image processing
- นายพงศกร สีขาว : Man-Machine Interface, Motion Control, Channel Coding in Communications
- นายธีรพงศ์ ฟองจันทร์ : Embedded System, Automation System
- นายสิริชัย นิธิอุทัย : Machine Design , Robot Control
- นายภานุพันธ์ ขวัญสุด : Wiring, SCH & PCB Design, CAD/CAM Design
- นายเชิดศักดิ์ กิ่งก้าน (ลาศึกษาต่อ) : Signal Processing, Machine Vision
- ดร.ธีศิษฏ์ ลีลาสวัสดิ์สุข : Image Processing, Machine Vision, Pattern Recognition, Gaze Detection
- นายวิทย์วศิน วิมลมงคลพร : Mechanical Design, Virtual Reality
- นายพิเชษฐ พุดซ้อน : Man-Machine Interface
ติดต่อ
- ห้องปฏิบัติการวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน (SMR)
- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
- email: smr[at]nectec.or.th