ปัจจุบันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่เทระเฮิรตซ์ได้รับความสนใจจากนักวิจัยในต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะเฉพาะตัวของความถี่ในย่านนี้ที่ Non-Ionizing และสามารถทะลุผ่านสิ่งของที่เป็น Dielectric materials รวมถึงมีความไวในการตรวจจับสารเคมีและสารตั้งต้นวัตถุระเบิด ทำให้ได้มีการวิจัยและพัฒนานำความถี่ในย่านนี้มาประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายในด้าน เช่น การประยุกต์ใช้งานทางอุตสาหกรรม, การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing: NDT), ด้านการแพทย์, security scanning, รวมถึงเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ดังนั้นเพื่อให้สามารถรองรับทั้งภาระกิจและสร้างบุคลากรที่จะทำงานวิจัยในสาขานี้ จึงต้องมีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ เพื่อตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาอุสาหกรรมในประเทศรวมถึงเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์
วิสัยทัศน์
เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ที่ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี สามารถนำไปสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความปลอดภัย ในประเทศและภูมิภาค เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป
พันธกิจ
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
- ส่งเสริมและร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์กับภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมไทย
เทคโนโลยีหลัก
- THz sources
- Smith-Purcell Radiation
- IMPATT Diode
- Quantum Cascade Laser
- Photoconductive THz emitter III-V
- THz detectors
- Detector for CW sources
- Photoconductive THz receiver III-V
- THz Spectroscopy
- THz Imaging
บุคลากร
- บุคลากรและความเชี่ยวชาญ:
- ดร.กิตติพงศ์ เกษมสุข (นักวิจัย) : Terahertz Technology, Waveguide design, Optical sensor, Electron beam Technology, X-Ray machine, Medical devices, Wearable devices, Digital Signal Processing, Product design และ Project management
- ดร.นพดล นันทวงศ์ (นักวิจัย) : การเคลือบฟิล์มบางด้วยวิธี MOCVD การวิเคราะห์ฟิล์มบางแสงด้วย TEM, PL และ Raman เทคโนโลยี SERS
- ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง (นักวิจัย) : Microwave and millimeter wave technology, Radio frequency technology and application, Wireless communication, Electronic circuit for electromagnetic wave communication
- ดร.ขวัญชัย ตันติวณิชพันธุ์ (นักวิจัย) : Terahertz Technology, Semiconductor Photonics, Optical fiber and gratings, Graphene Technology, Semiconductor fabrication (Photolithography, Electron beam lithography, SEM, AFM, Evaporator, Spectroscopy)
- นายภัทรกร รัตนวรรณ์ (ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส) : วงจรอิเล็กทรอนิกส์, วงจรความถี่สูง, ไมโครคอนโทรลเลอร์
- นายณภัทร โคตะ (ผู้ช่วยนักวิจัย) : การประมวลผลภาพดิจิตอล, ระบบสมองกลฝังตัว
- Miss CHIA JIA YI (ผู้ช่วยนักวิจัย) : ระบบสมองกลฝังตัว, ระบบสแกนภาพดิจิตอล, Nuclear Security
ติดต่อ
- ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ (TTL)
- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
- email : ttl[at]nectec.or.th