การระบำรำฟ้อนของไทยในแต่ละภาค


การระบำรำฟ้อนของไทยในแต่ละภาค
การแสดงพื้นเมืองประเภทนี้ จะเน้นทางด้านการแสดงลีลาและการร่ายรำอันเป็นรูปแบบซึ่งแสดงถึงเอกลักษ์ของแต่ละท้องถิ่น
ซึ่งปรากฏขึ้นในแต่ละภาคของประเทศไทย ในที่นี้จะขอนำมากล่าวโดยสังเขปเป็นภาค ๆ ดังนี้
ภาคกลาง การแสดงประเภทระบำรำฟ้อนของภาคกลาง ส่วนใหญ่มักผสมผสานกับการเล่นเพลงประกอบดนตรี เช่น
รำเหย่อย (รำเหย่อย) เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ ลำตัด และรำวง เป็นต้น
ภาคเหนือ ชาวเหนือมักเรียกคำนำหน้าชุดการแสดงประจำภาคของตนเองว่า “ฟ้อน” ได้แก่ ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
ฟ้อนไต ฟ้อนปั่นฝ้าย ฟ้อนแว้น ฟ้อนหางนกยูง ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนแพน เป็นต้น



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การแสดงประเภทระบำรำฟ้อนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง คือ
ถ้าเป็นกลุ่มวัฒนธรรมไทย-เขมร จะเรียกคำนำหน้าชุดการแสดงว่า “เรือมหรือเร็อม” แต่ถ้าเป็นกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว จะเรียกคำ
นำหน้าชุดการแสดงว่า “ฟ้อน” ส่วนคำว่า “เซิ้ง” แต่เดิมหมายถึงการแสดงที่มีบทร้องประกอบการรำ แต่ปัจจุบันใช้เรียกชุดการแสดง
ที่ประดิษฐ์ดัดแปลงขึ้นใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิตของชาวบ้านเน้นความสนุกสนาน ชุดการแสดงเหล่านี้ ได้แก่ ฟ้อน-
แมงตับเต่า ฟ้อนภูไท เรือมอันเร เรือมอาไย เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งนางแมว เป็นต้น




ภาคใต้ ส่วนมากการแสดงจะเน้นศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิม ได้แก่ การแสดงรองเง็ง มีรูปแบบการเต้นและ
ดนตรีเป็นของตะวันตก ซึ่งเชื่อกันว่าชาวโปรตุเกสหรือสเปนนำมาเผยแพร่ในชวาและมลายูก่อน และการแสดงซัมเบ็งที่มีลีลาการ
เต้นคล้ายรองเง็ง ซึ่งสันนิษฐานว่ารับมาจากพ่อค้าสเปน แล้วผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมือง การแสดงทั้งสองชุดนี้ เน้นลีลาการ
เต้นเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชุด เช่น ทักษิณนารี จินตปาตี (ศิลปะการเชิดหนังตลุง) ระบำ-
สานจูด (ทอเสื่อ) ระบำร่อนแร่ ระบำเต๊ะ ตารีปายง (ระบำร่ม) ระบำชนไก่ ระบำร่อนทอง ระบำสะทิงกุมภนารีหรือระบำปั้นหม้อ
และตารีกีปัส เป็นต้น



โดย : นาย กิตติ ใจดี, ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544