ประเพณีรับบัว


ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบเนื่องต่อกันมาแต่โบราณของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ความเป็นมาของเพณีมีอยู่ว่า แต่ก่อนนานมาแล้วในแถบอำเภอบางพลีมีคนอาศัยอยู่ ๓ พวก คือ พวกคนไทย คนรามัญ และคนลาว แต่ละพวกก็มีหัวหน้าควบคุมพวกรามัญเมื่อเลิกจากการขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพแล้ว ก็พยายามที่จะหักล้างถางพงเพื่อหาเนื้อหาที่ทำไร่ทำสวนต่อไปแต่บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยแขมรกเต็มไปหมด ฝั่งทางใต้ของลำคลองก็อุดมไปด้วยป่แสม น้ำก็เป็นน้ำเค็มเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ฝั่งเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ภายในบึงก็เต็มไปด้วยบัวหลวงพวกคนไทย รามัญ และคนบาง ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงแยก ๓ ทาง คือทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทางทิศเหนือและทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คือคลองสลุด คลองชวกลากข้าวส่วนพวกรามัญแยกไปลาดกระบังพวกรามัญทำมาหากิน ๒-๓ ปีก็ไม่ได้ผล เพราะนกและหนูชุมมากในบริเวณนั้น ปัจจุบันยังมีชื่อเป็นอนุสรณ์ถึงถึงความชุกชุมของพวกหนูที่คอยทำลายพืชไร่ว่า คลองชวดลากข้าหมายถึง หนูลากข้าวนั่นเอง


โดย : นาย อนุชา ชัยคง, โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง, วันที่ 23 มกราคม 2545