ท่านสอนให้คิด

ผุสดี สถาพรจิตรกุล "ท่านสอนให้คิด" .ข่าวสารห้องสมุดประชาชนกรุงเทพมหานคร.17,22
(มิถุนายน 2544) : 24 - 25.
ผู้ใหญ่ในสมัยก่อนท่านสอนว่า คนที่จะเป็นนักปราชญ์หรือผู้รู้ได้นั้น ต้องมีลักษณะอยู่สี่ประการซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของนักปราชญ์ คือ หมั่นคิด หมั่นถาม หมั่นฟัง และหมั่นเขียน ซึ่งย่อไว้เป็นสูตรให้จำง่าย ๆ คือ สุ.จิ.ปุ.ลิ. คำว่า สดับฟัง คือ การเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจและฟังด้วยการเอาใจใส่ เมื่อถามแล้วยังไม่เข้าใจท่านให้ถาม ถ้าคำถามแรกยังไม่เข้าใจท่านสอนให้ถามไปยัง คำถามที่สองสามสี่ โบราณจึงเรียกวิธีเช่นนี้ว่าไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงไปจนได้คำตอบ คำตอบที่ต้องการอาจไม่ได้อยู่ในตัวบุคคลแต่อาจอยู่ในหนังสือหรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ผู้ที่จะเป็นนักปราชญ์ต้องแสวงหาคำตอบนั้น ๆ ได้ได้เอง บางครั้งคำถามหนึ่งอาจจะโยงไปสู่อีกคำถามหนึ่ง ทำให้เกิดความอยากรู้จนต้องแสวงหาตามเส้นทางที่โยงไว้นั้นจนพบคำตอบ ความอยากรู้หรือความใฝ่เรียนจึงเป็นคุณลักษณ์ทที่มักจะเกิดขึ้นในกหระบวนการเรียนรู้ตามหัวใจนักปราชญ์ แต่ความรู้ความเข้าใจนั้นอาจอยู่กับเราไม่ได้นาน โบราณจึงสอนให้ ทั้งจำ ทั้งจด เล่า หมายถึงการท่องบ่น เล่าเรียน หมายถึงท่องจำและฝึกหัดจนแม่นยำ ลิขิต คือ การจดบันทึกลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และสังเกต คือ การกำหนดไว้ หมายว่า เรื่องใดเป็นอย่างไร


โดย : นางสาว นางสาวพนิดา ยิ้มแฉ่ง, ripw Klonglung Pathumthani 13180, วันที่ 29 มกราคม 2545