โทรทัศน์กับหนังสือ

ทุกวันนี้เด็กจะติดรายการของโทรทัศน์มากกว่าการอ่านหนังสือ เพราะว่าโทรทัศน์เป็นสื่อบันเทิงที่อยู่ใกล้ตัวเราที่สุด มีรสชาติต่างๆให้เลือกดู ให้แปลกใหม่และการรับรู้โทรทัศน์ไม่ได้เสียอะไร ไม่ต้องมีอุปกรณ์ ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆทั้งสิ้นสะดวกสบายกว่าการพักผ่อนหย่อนใจทางอื่น และไม่ต้องเคร่งมากเหมือนการดูหนังสือ อีกประการหนึ่งโทรทัศน์เป็นบันเทิงร่วมสมัย การพูดคุยเกี่ยวกับรายการต่างๆที่ได้รับจากโทรทัศน์มิได้จำกัดวงแต่ภายในครอบครัวเท่านั้น แพร่ไปถึงโรงเรียนด้วย
โทรทัศน์กับหนังสือเป็นเครื่องหย่อนใจให้สาระบันเทิงเหมือนกัน แต่ต่างกันเพียงใช้สื่อต่างรูปลักษณะกันไปเท่านั้นเอง โทรทัศน์มีพลังดึงดูดความสนใจได้มากกว่า เพราะสามารถให้ได้พร้อมกันทั้งรูป เสียง แสง และสีสัน ทั้งก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมด้วย ส่วนหนังสือนั้นผู้อ่านจะต้องมีพื้นฐานการศึกษาต้องทำความเข้าใจและต้องสร้างจิตนาการ จึงจะเห็นภาพตามที่อ่าน
การที่เด็กจะอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์นั้นมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ว่าจะทำอย่างไร ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะทำให้เด็กทำตามได้ เพราะเด็กมีนิสัยคล้อยตามสิ่งต่างๆได้ เด็กมิใช่มีนิสัยเกิดขึ้นเองได้โดยอัตโนมัติ จะต้องอาศัยการส่งเสริมแนะนำปลุกเร้าความสนใจจากผู้ใหญ่ในครอบครัว จะต้องหมั่นจัดหนังสือให้เด็กอ่าน ร่วมทั้งสนทนาอภิปรายกับเด็กในเนื้อหาสาระ หรือเกร็ดความรู้และความสนุกเพื่อเด็กจะได้ลดการดูโทรทัศน์ลง

เฉลิมศักดิ์ (นามแฝง). “โทรทัศน์กับหนังสือ”. ฟ้าเมืองไทย. 13,644 (กรฏาคม 2524) : 7, 52














โดย : นางสาว Laddawan Meegul, คลองหลวง ปทุมธานี 13180, วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2545