ประเพณีตักบาตรร้อยพระ


ในสมัยก่อน สันนิษฐานว่าวัดหนามแดงมีพระบวชในช่วงเข้าพรรษามากเป็นร้อย วันออกพรรษามีการทำบุญตักบาตรเทโว พระเดินรับบาตรแถวยาวมาก ชาวบ้านเลยเรียกกันว่า "ตักบาตรร้อยพระ" หรือเป็นการบอกกล่าวให้ประชาชนทราบจำนวนพระ เพื่อว่าจะได้เตรียมของใส่บาตรได้พอเพียงกับจำนวนของพระ บางท่านเรียกว่าตักบาตรพระลอย เป็นวัดที่พระพุทธเจ้าเสด็จตลอยลงมาจากชั้นดาวดึงส์
วัดหนามแดงจัดพิธีตักบาตรเทโว ในช่วงออกพรรษาเหมือนวัดอื่น ๆ สิ่งที่ต่างจากวัดอื่นถือว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการหาเงินเข้าวัด สมควรรักษาเผยแพร่ให้เยาวชนรุ่นหลังและคนทั่วไปได้รู้จัก ผู้คิดริเริ่มคือคุณลุงประมุข ทองย้อย ปัจจุบันอายุ 75 ปี ท่านเป็นคนจังหวัดปทุมธานี มาอยู่บางพลีและแต่งงานกับคนบางพลี
นำหน้าด้วยขบวนกลองยาว ขบวนธงชาติ ตามด้วยเจ้าเงาะ รจนา พระดินทร์ ชูชก กัณหาชาลี นางฟ้า เทวดา เปรต ยมทูต ราชรถพระพุทธรูป และตามด้วยแถวพระสงฆ์
ได้ถามสาเหตุที่ท่านจัดรูปขบวนแบบนี้ ท่านเล่าให้ฟังว่า จินตนาการรูปแบบขบวนจากพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาโปรดพุทธมารดาและเปอดโลกในวันแรม1 ค่ำ เดือน11วันนี้เป็นวันที่มนุษย์ เทวดา พระดินทร์ ผีเปรต มองเห็นกัน เทวดา พระอินทร์มาส่งพระพุทธเจ้าเดินลงมาบันไดแก้วพระอินทร์และเทวดาเดินลงบันไดเงิน ประชาชนแสดงความยินดีต้อนรับ โดยใส่บาตรขนมที่นิยมทำคือ ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด


โดย : นางสาว nuchjalin shaweenak, บางพลีราษฎร์บำรุง, วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545