เทศกาลและงานประเพณี


เทศกาลและประเพณีของไทย. [ออนไลน์]. ค้นหาจาก : www.kmitl.ac.th/~s2010176. เข้าถึงเมื่อ 4
กุมภาพันธ์ 2545.


เทศกาลและงานประเพณี
ประเทศไทยมีการสั่งสมเอาลัทธิความเชื่อทางด้านศาสนา จนนำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาลที่ยึดเอาตามปฏิทินทางจันทรคติ รวมทั้งการประยุกต์เอาประเพณีมาปฏิบัติอย่างมี ระเบียบแบบแผนและกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีไทย

เทศกาลสงกรานต์
ในเดือนเมษายนถือเป็นตรุษไทยหรือปีใหม่ของไทย ที่ให้มีการเล่นน้ำทำบุญ ขนทรายเข้าวัด ซึ่งเป็นพิธีที่อิงเอา ตำราของพราหมณ์และพระพุทธศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน รวมทั้งการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่โดยยึดถือประเพณีรดน้ำดำ หัวเพื่อเป็นการคารวะและแสดงความเคารพของผู้น้อยที่มีต่อผู้ใหญ่

ประเพณีลอยกระทง
ตามปฏิทินทางจันทรคติ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี จะมีประเพณีที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ งานลอย กระทง ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย วิถีการดำรงชีวิตแบบไทยในอดีต ถือเอาแม่น้ำลำคลอง เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ดังนั้นจึงต้องมีการบวงสรวงบูชา เจ้าแห่งแม่น้ำคือ พระแม่คงคา

เทศกาลเข้าพรรษา
ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 รวม 3 เดือนเต็ม พระสงฆ์ต้องหยุดจาริกแสวงบุญ เพื่อจะได้ไม่เหยียบต้นกล้าในนาข้าวให้เสียหาย จึงมีพุทธบัญญัติให้สงฆ์ทำพิธีปวารณาเข้าพรรษาอยู่จำพรรษา ณ อาวาสแห่งใดแห่งหนึ่ง พุทธศาสนิกชนก็จัดหาดอกไม้ธูปเทียน ตลอดจนเครื่องปัจจัยไทยทานนำไปถวายแด่พระ ภิกษุสงฆ์ในตอนเช้า ตอนที่จะมีการตักบาตรดอกไม้ เช่นงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี งาน ประเพณีตักบาตรดอกไม้พระพุทธบาตร จังหวัดสระบุรี เป็นต้น

เทศกาลออกพรรษา
ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ที่พระสงฆ์ออกจากจำพรรษาและพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลัง จากเทศน์โปรดพระพุทธมารดาแล้ว เป็นความเชื่อของพุธศาสนิกชนจะจัดการต้อนรับพระพุทธเจ้า ทางภาคเหนือ จัดงานจองพารา ภาคกลางจัดงานตักบาตรเทโว ภาคใต้จัดงานลากพระหรือชักพระ ภาคอีสานจัดงานไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม บั้งไฟพญานาคจังหวัดหนองคาย ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและแข่งเรือ จังหวัดสกลนครเป็นต้น





โดย : นางสาว วัชจรินทร์ พลดงนอก, ripw.klongluang patumtani 13180, วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545