ฉลาดจำ ทักษะที่สอนกันได้

เทอดศักดิ์ เดชคง. 2545 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.viboon.com/oth/oth24.htm.

คนเราจะจำเรื่องที่เร้าความรู้สึก ความอยากรู้อยากเห็น เป็นอารมณ์ที่ผูกพันกับเนื้อหานั้นๆ การให้นักเรียนได้พักผ่อนหลังจากที่เรียนรู้จะช่วยให้การจำดีขึ้น ดีกว่าเรียนไปโดยไม่มีช่วง พัก การได้ทบทวนบ่อยช่วยการจำได้ดีขึ้น ความสุนทรีย์ของเนื้อหาก็จะช่วยเพิ่มความจำได้เช่น การร้อยเป็นกวี ความจำแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 1.ความจำแบบสั้นมาก เช่นฟังครูพูดแล้วเด็กพูด ตามได้ 2. ความจำระยะสั้นเป็นชั่วโมง 3. ความจำระยะยาวเป็นปีๆ การเปลี่ยนความจำให้ติดสมองนานๆ ต้องใช้การกระตุ้นเป็นระยะๆ การทบทวนไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด เพียงแต่ว่าในการอ่านหรือเรียนรู้ ครั้งแรก ผู้เรียนต้องบันทึกคำหลัก (Key Word) ไว้ หรืออาจใช้หลักแผนที่ความคิด (Mind Map) เพื่อแตกแขนงคำหลักดังกล่าวไปเป็นรายละเอียด การนำเสนอเนื้อหาในบทเรียนอย่างน่าสนใจและเน้นให้ เข้าใจมากกว่าท่องจำ ก็จะช่วยเสริมความจำให้เกิดพร้อมความเข้าใจด้วยการสร้างความเครียดให้ เด็กบ้าง เช่น ตั้งคำถามกระตุ้น หรือกำหนดกรอบของเวลา เพื่อเป็นตัวสร้างความเครียดเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยเร่งเร้าความจำได้



โดย : นางสาว malee pinkes, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2545