รองเท้านารีมาจากไหน

กล้วยไม้รองเท้านารี ( Subfamily CYPRIPEDIOIDEAE ) เป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะต่าง ๆ ของดอกต่างจากวงศ์ย่อยอื่น ๆ ที่สำคัญคือ มีส่วนเกสรเพศผู้เป็น 2 อัน กลีบเลี้ยงสองอันล่างเชื่อมติดกันเป็นหนึ่งเดียว จึงมีกลีบดอกให้เห็น 4 กลีบดอกคือ กลีบดอกนอก 2 คือ บนกับล่าง และกลีบใน 2 คือ อยู่ ซ้าย-ขวา สวนกลีบปากมีลักษณะคล้ายถุง ( saccate ) หรือคล้ายส่วนหัวของรองเท้าสุภาพสตรี แหล่งกำเนิด มีทั้งในเขตร้อน และเขตหนาวของโลก เท่าที่พบแล้วทั่วโลก มี 5 สกุล ( Genus ) คือGenus Coryanthes มี 12 ชนิด ( Species ) Genus Cypripedium มี 35 Species Genus Paphiopedilum มี 66 Species Genus Phragmipedium มี 20 Species Genus Selennipedium มี 4 Species สำหรับประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตุร้อน พบกล้วยไม้รองเท้านารีเพียง Genus เดียว คือ Genus Paphiopedilum กล้วยไม้รองเท้านารี ภาษาอังกฤษเขียนรวม ๆ ว่า “Lady’s Slipper” เนื่องจากปากหรือกระเป๋าคล้ายหัวรองเท้าแตะ มีถิ่นกำเนิดทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว เท่าที่พบมี 5 สกุล จำนวน 137 ชนิด ซึ่งนับว่าเป็นพันธุ์แท้ เรื่องที่จะบอกเล่าต่อไปนี้จะกล่าวเฉพาะสกุล Paphiopedilum ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และนิยมเลี้ยงในปัจจุบัน พ.ศ. 2359 กล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum ถูกค้นพบโดย ดร. นาธานิล วอลลีช ชาวอังกฤษ ที่เมืองซิลเล็ต ในบังคลาเทศ ตั้งช่อว่า Paphiopedilum Venustum นำไปทดลองปลูกเลี้ยงในประเทศอังกฤษ ออกดอกครั้งแรกในเดือน พ.ย. 2362 ( 3 ปีหลังจากบ้านเกิด ) ต่อมาได้บุกไปค้นที่เก่าพบอีก 1 ชนิด ตั้งชื่อว่า Paphiopedilum insigne พรรคพวกของวอลลีช จึงยกโขยงไปลุยเขาต่าง ๆ แถบเอเซีย ในระยะเวลา 44 ปี ( พ ศ. 2403 ) ค้นพบรองเท้านารีสกุลนี้ จำนวน 17 ชนิด ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 นาย จอห์น โดมินีย์ ผสมพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีข้ามชนิด สำเร็จเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับคำแนะนำจากนายแพทย์ แฮร์รีส โดยการนำกล้วยไม้รองเท้านารี Paphiopedilum villosum ( ชนิดเดียวกับพันธุ์แท้ของไทยชื่อ รองเท้านารีอินทนนท์ ) ที่พบในพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2396 มาผสมกับรองเท้านารี Paphiopedilum barbatum คล้ายกับพันธุ์แท้ของไทย ชื่อรองเท้านารีคางกบหรือรองเท้านารีไทยแลนด์หรือรองเท้านารีม่วงสงขลา ) ที่พบในมาเลเซียเมื่อปี

ที่มา : http:www.snook.com /



โดย : นางสาว กมลวรรณ สิทธิกูล, โรงเรียนเสนา "เสนาประสิทธิ์", วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545