บหรี่กับช่องปาก

สุรพงค์ อำพันวงษ์.29 มกราคม 2545. บุหรี่กับช่องปาก. บ้านเมือง : 21.
บุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด ถุงลมโปงพอง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ เส้นหลอดในสมองตีบแตกนอกจากนั้นยังก่อให้เกิดโรคอื่นอีกมากมายที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่เสียชีวิตก่อนวัย นอกจากสารนิโคติน บุหรียังมีสารพิษที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวสารก่อมะเร็งมากมาย สารเหล่านี้เกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิ ภาวะความเป็นกรดเป็นด่าง การเปลี่ยนแปลงในช่องปาก เช่น มะเร็งในช่องปาก จากการศึกษาพบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นมะเร็งในช่องปากนั้นสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 7 เท่าตัว โดยเฉพาะถ้าดื่มสุราด้วย เพราะสุรามีส่วนทำให้เนื้อเยื่อในช่องปากไวต่อการเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง อาการที่พบบ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่จัดมากกว่า 2 ซองต่อวัน คือเนื้อเยื่อบริเวณปากที่สัมผัสกับความร้อนของควันบุหรี่ตลอดเวลา จะมีอาการอักเสบ มีลักษณะแข็งและขาว ความสามารถในการรับรสและกลิ่นจะลดลงมากขึ้น ที่น่าสนใจคือผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะมีความรู้สึกอยากทานของหวานมากขึ้น จึงใช้เป็นข้ออธิบายท่ดีสำหรับผู้ที่เลิกสูบบุหรี่แล้วน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น



โดย : นางสาว kumrai rungsiyo, student 4/3 klongluang patumtani 13180, วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545