ยาแก้ท้องผูก

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ.“ยาแก้ท้องผูก”.หมอชาวบ้าน. 23,268 (สิงหาคม 2544) : 24 -25.
สาเหตุของอาการท้องผูก และการป้องกัน ผู้ที่มีอาการท้องผูก ควรทบทวนดูว่า เกิดจากสาเหตุข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้หรือไม่ ถ้ามีควรปรับปรุงแก้ไขสาเหตุนั้น ๆ ก่อนที่จะหันไปใช้ยาแก้ท้องผูก คือ กินผักและผลไม้น้อยเกินไป บางคนก็เข้าใจผิดว่า กินผักและผลไม้เพียงนิดหน่อยก็เพียงพอ หรือไม่ก็อาจเกิดจากการนิยมกินแต่ผลไม้ที่มีแต่กากน้อย (เช่น แตงโม) หรือกินแต่น้ำคั้นผลไม้โดยไม่กินกาก วัน ๆ หนึ่ง ๆ คนเราต้องกินทั้งผักและผลไม้รวม ๆ กันแล้วประมาณครึ่งถึง 1 กิโลกรัม ถ้ามีอาการท้องผูกจากสาเหตุนั้น ขอให้หันมากินผักให้มากขึ้น กินผลไม้ เช่น ฝรั่ง สับประรด ส้ม กล้วย มะละกอ องุ่น พุทรา ฯลฯ ควรกินทั้งเปลือก (ถ้ากินได้) กินเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง/ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ (เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง โดยกินทั้งเมล็ดและเปลือก) ลูกเดือย เมล็ดแมงลัก เป็นต้น ออกกำลังกายน้อยเกินไป ควรหันมาออกกำลังกาย ดื่มน้ำน้อยไป ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว (แก้วขนาด 250 ลิตร) ชีวิตมีความเร่งรีบเกินไป และไม่สนใจในการขับถ่ายบางคนวุ่นวายตั้งแต่เช้าจนเข้านอน แม้รู้สึกปวดถ่ายก็อั้นไว้ ควรหันมาฝึกถ่ายเป็นเวลาทุกวัน กินยา เช่น ยาแก้ท้องเดิน ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้หวัด ยานอนหลับ ยาทางจิตประสาท ยาลดกรด(รักษาโรคกระเพาะ) ยาลดความดัน ยาเม็ดแคลเซียม ยาธาตุเหล็ก ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น ยาเหล่านี้อาจทำให้ท้องผูกได้ ควรปรึกษาหมอที่สั่งยารักษาเพื่อเปลี่ยนยาหรือปรับขนาดของยา ดื่มชา กาแฟหรือแอลกฮอล์มากเกินไป จะทำให้ร่างกายขับปัสสาวะออกมาก จนเกิดภาวะขาดน้ำ ทำให้ท้องผูกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการดื่มน้ำน้อยอยู่แต่เดิม ผู้ที่มีอาการปวดท้อง อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาหมอ ถ้ามีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ มีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักลด ท้องผูกนานเกิน 1 สัปดาห์ ดูแลตนเองนาน 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้น



โดย : นางสาว นางสาวพนิดา ยิ้มแฉ่ง, ripw Klonglung Pathumthani 13180, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2545