ทัชมาฮัล


สถานที่ตั้ง ประเทศอินเดีย
ทัชมาฮัล เป็นที่ฝังศพอยู่ในเมืองอัคระบนฝั่งแม่น้ำยมนาประเทศอินเดีย ซาห์เจฮันผู้ยิ่งใหญ่แห่งโมกุลให้สร้างเป็นศรีสง่าแก่บริเวณพระราชวัง เพื่อเก็บศพมุมทัชมาฮัล มเหสี สร้างระหว่างปี พ.ศ. 2173-2191 (ค.ศ. 1630-1648) ด้วยหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์ ประดับลวดลาย พลอยสี ทับทิม และนิล ซึ่งได้รับคำรับรองจากสถาปนิกทั่วโลกว่าสร้างขึ้นโดยถูกสัดส่วน และ วิจิตรงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 39 เมตร ตรงกลางมีโดมสูง 60 เมตร มีผู้ร่วมสร้างเป็น ผู้ออกแบบ ช่างเขียนลวดลาย ช่างอิฐ ช่างปูน ช่างประดับลวดลายด้วยกระเบื้อง ช่างแกะสลัก ช่างตกแต่งภายใน รวม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี วัตถุในการก่อสร้าง คือ หินอ่อนสีขาวจากเมืองมะครานา หินอ่อนสีแดงจากเมืองฟาตีบุระ หินอ่อนสีเหลือง จากฝั่งแม่น้ำนรภัทฑ์ เพชรตาแมวจากกรุงแบกแดด ปะการัง และ หอยมุกจากมหาสมุทรอินเดีย หินเจียรไนสีฟ้าจากเกาะลังขะ เพชรจากเมืองบนทลขัณฑ์ ภายหลังที่สร้างทัชมาฮัล ซาร์เจฮันใฝ่ฝันที่จะสร้าง ที่ฝังศพตัวเองที่ฝั่งแม่น้ำตรงกันข้ามจะเป็นหินอ่อนสีดำล้วนๆ แต่ลูกชายเกรงเงินจะหมดจะไม่มีใช้ เมื่อขึ้นครองราชสมบัติจึงจับพ่อขังอยู่ได้ 7 ปี ก็สิ้นพระชนม์ (ประมาณปี พ.ศ.2209(ค.ศ.1666)) แล้วเอาศพไปฝังข้างศพแม่ ส่วนนายช่างผู้ออกแบบถูกสั่งให้ประหาร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีโอกาสออกแบบสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่สวยกว่าได้
--------------------------------------
ที่มา : www.sanook.com



โดย : นางสาว angkhana pakwan, สถาบันราชภัฏเพรชบุรี, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2545