ผลของนิโคลตินและการสูบบุหรี่

ผลของนิโคติน และ การสูบบุหรี่ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด. 2545 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก :http://www.thaiheartweb.com/articles.htm
ในควันบุหรี่มีสารต่างๆมากกว่า 4000 ชนิด และที่มีมากที่สุด รู้จักกันดีที่สุด คือ สารนิโคติน (Nicotine) ในการสูดแต่ละครั้งร่างกายได้รับนิโคตินประมาณ 50 ไมโครกรัม ซึ่งสารนี้มีพิษร้ายแรง ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ในขณะสูบบุหรี่ ระดับนิโคตินในเลือดจะเพิ่มสูงถึง 25-50 นาโนกรัมต่อ มิลลิลิตร และมีผลหลายๆประการ นิโคตินมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งสาร หลายชนิด (neurotransmitters) ซึ่งสารเหล่านี้มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดหลายประการ โอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มมากขึ้น โดยจะสัมพันธ์กับจำนวนบุหรี่ต่อวัน, จำนวนปี ที่สูบ รวมทั้งการสูดดมด้วย โอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.4-2.8 เท่าในผู้ชาย และ 2.2-3.3 เท่าใน ผู้หญิง ผู้ที่มีโรคหัวใจขาดเลือดอยู่แล้วที่สูบบุหรี่ จะมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจใน 5 ปี มากกว่า ผู้ป่วยโรคเดียวกันที่ไม่สูบบุหรี่ เกือบ 2 เท่า ผู้ที่รอดชีวิตจากหัวใจหยุดแล้วสูบบุหรี่ จะเสี่ยงต่อการเกิด หัวใจหยุดเต้นซ้ำมากกว่าผู้ที่ไม่หยุดบุหรี่ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย ที่ยังสูบบุหรี่ มีโอกาสเกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายอีกครั้ง หรือ เสียชีวิต มากกว่าผู้ป่วยโรคเดียวกันที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เอง แต่ได้รับควันบุหรี่ (passive smoker) ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่นกัน โอกาสเสี่ยงต่างๆในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่สูบบุหรี่ จะลดน้อยลงเรื่อยๆเมื่อหยุดบุหรี่ ไม่ว่า ผู้นั้นจะอายุมาก หรือ น้อย หลังจากเลิกสูบบุหรี่ 2-3 ปี โอกาสเสี่ยงต่างๆจะเทียบเท่ากับผู้ที่ ไม่สูบบุหรี่ทีเดียว บุหรี่และสารนิโคตินในบุหรี่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยผ่านกลไกต่างๆหลายประการ เช่น การสูบบุหรี่มวนแรกๆจะกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วขึ้น ประมาณ 10-15 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตสูงขึ้น 5-10 มม.ปรอท ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น แต่ผลนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อสูบต่อเนื่อง ความดันโลหิตอาจ ลดลง อาจเป็นผลจากน้ำหนักตัวลดลงด้วย
นอกจากนั้นแล้วนิโคตินยังทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดการหดเกร็งมากขึ้น บางรายรุนแรงจนอาจกระตุ้น ให้เกิด Heart attack ได้ หรือทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้น สารคาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide) ในควันบุหรี่ยังมีผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง แรงบีบตัว ลดลง และ ยังกระตุ้นให้หัวใจเกิดการเต้นผิดจังหวะในผู้ที่ติดบุหรี่พบว่าเลือดจะข้นขึ้นและมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิด ลิ่มเลือดขึ้นในหลอดเลือดหัวใจ ก็จะชักนำให้เกิด Heart attack ในที่สุด นอกจากนั้นยังมีผลต่อ ระดับไขมันในเลือดด้วย โดยไขมันไตรกลีเซอไรด์ ไขมันแอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมัน"ตัวร้าย"เพิ่มขึ้น ในขณะที่ทำให้ไขมันเอช-ดี-แอล (HDL- Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมัน"ตัวดี"ลดลง โอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจจึงเพิ่มขึ้น ผลต่อไขมันในเลือดนี้ จะกลับมาเป็นปกติหลังจากหยุดบุหรี่ 1-2 เดือน
จะเห็นได้ว่าบุหรี่มีผลร้ายแรงต่อหัวใจ อาจจะมากกว่าที่คุณคิด แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่สายเกินไปที่คุณจะเลิกบุหรี่ ไม่ว่าคุณจะสูบมานานแค่ไหน มีโรคหัวใจเกิดขึ้น หรือไม่ การ"หยุดบุหรี่"เป็นสิ่งที่ได้ประโยชน์เสมอ ประโยชน์ต่อตัวคุณเอง ครอบครัว และ สังคม



โดย : นางสาว kumrai rungsiyo, student 4/3 klongluang patumtani 13180, วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2545