แสงแดดกับผิว


กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.”รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.


รังสีอัลตราไวโอเลต มองไม่เห็น แต่มันทำไห้เกิดอันตรายเราได้ รังสีอัลตราไวโอเลตมากับแสงแดด ตามปกติธรรมชาติได้หาวิธีช่วยเหลือชาวโลกอยู่แล้ว โดยจัดให้มีชั้นโอโซนอยู่ในบรรยากาศ เพื่อคอยดูดซึมรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ก่อนลงมาถึงบนพื้นโลก ถ้าไม่มีโอโซน เราคงออกมนอกบ้านไปโดนแดดไม่ได้ นอกจากห่อหุ้มร่างกายอย่างมิดชิดเสียก่อน ไม่ใช่เพราะว่าถ้าไม่มีโอโซนแล้วแสงแดดจะจัดจ้าขึ้น แต่ทว่าจะมีรังสีอัลตราไวโอเลตมากระทบตัวเรามากขึ้นอย่างน้อย 250 เท่า ถ้าถูกแดดตอนเช้า และตอนบ่ายเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่เอียง ๆ จะได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า เวลาดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะ เพราะรังสีเดินผ่านบรรยากาศยาวกว่า จึงถูกดูดกลืนออกไปมากกว่า ถึงแม้โอโซนในบรรยากาศจะช่วยกรองรังสีนี้ให้เบาบางลงมากแล้วก็ยังไม่เพียงพอ เราคงจะต้องมีการป้องกันตัวด้วย ผิวหนังนั้นเองที่ช่วยไว้ แล้วผิวหนังก็โดนรังสีเล่นงาน ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้ผิวหนังมีสารสีที่เรียกว่า เมลานิน ซึ่งเป็นตัวดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต ไว้ไม่ให้ผ่านเข้าไปทำอันตรายร่างกายภายในได้เป็นอย่างดี เมลานินทำให้ผิวคล้ำ คนผิวขาวมีเมลานินที่ผิวจำนวนน้อย ผิวขาวจึงไวต่อแสงแดดมากกว่าผิวดำ บางคนถูกแดดมาก ๆ ผิวไหม้แดง และปวดแสบปวดร้อน ต่อไปผิวจะแตกลอกเป็นขุย รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง นักวิทยาศาสตร์พบว่ามลพิษทางอากาศทำลายโอโซนเริ่มลดน้อยลง ชาวโลกจึงเริ่มวิตกว่าจะพากันได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตมากขึ้น และมะเร็งผิงหนังจะกลายเป็นโลกที่คุกคามสุขภาพ สิ่งแวดล้อมโลกเป็นเรื่องของชาวโลกทั้งหมดต้องช่วยกัน และสามัคคีกันอย่างเต็มที่ในอันที่จะรักษาสุขภาพ


โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2545