สะอึก

กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.”รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.

อาการสะอึก เกิดจาก การทำงานไม่ปรกติของกะบังลม กะบังลมเป็นแผ่นกล้ามเนื้อ เนื้อพังผืดกั้นระหว่างช่องท้องกับช่องอก ทำงานโดยยึด และหดเพื่อช่วยในกานหายใจปรกติการยึดหดนี้มีจังหวะสม่ำเสมอ สาเหตุของการสะอึกอาจเกิดจากมีอะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยวกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มูลเหตุเหล่านี้ทำให้ กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่คอหอยซึ่งปกติคอยกั้นไม่ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อกะบังลมหดอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอดผ่านคอหอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียง (เส้นเอ็น 2 เส้น) สั่นสะเทือน จึงเกิดเสียงสะอึก ๐ อย่างที่ได้ยินเวลาสะอึก อาการสะอึกเกิดขึ้นได้นาทีละหลายครั้ง และสะอึกต่อเนื่องกันไปได้หลายชั่วโมง จนคนสะอึกเหนื่อย วิธีแก้ไขให้หายสะอึก (ถ้าไม่ใช่สะอึกเพราะโรค) มีหลายวิธีเช่น หายใจลึก ๆ กลั้นหายใจ หายใจในถุงกระดาษ 3 – 5 นาที ดื่มน้ำแก้วโต หาสิ่งใดแยงจมูกให้จาม ถ้าเป็นเด็กอ่อนควรอุ้มพาดบ่าใช้มือลูบหลังเบา ๆ ให้เรอ


โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2545