สิ่งทดแทน CFC

กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.”รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.


สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือ ซีเอฟซี (CFC) เป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญ นอกจากนั้นเป็นตัวมทำลาย
โอโซนที่คอยป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตไม่ให้ลงมาบนผิวโลกแล้ว ยังมีอิทธิพลยิ่งกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในการกักเก็บความร้อนที่ผิวโลกไม่ให้ออกไปสู่อวกาศ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ความร้อนห่อหุ้มโลกไว้โลกเราร้อนทวีขึ้นทุกวัน จะมีการเลิกใช้สาร ซีเอฟซี ตามสัญญามอนทรีลเมื่อ พ.ศ. 2530 ทั่งโลกจะเลิกใช้ ซีเอฟซี โดยเด็ดขาดภายใน พ.ศ. 2543 สิ่งที่ใช้ ทดแทน ซีเอฟซี มีอยู่ สองอย่างคือ ไฮโดรคลอไรฟลูออโรคาร์บอน หรือ เอชซีเอฟซี (HCFC) และโฮโดรฟลอออโรคาร์บอน หรือ เอชเอฟซี (HFC) อย่างแรกยังคงมีอะตอมคลอรีนเป็นส่วนประกอบอยู่ในโมเลกุล แต่อย่างหลังไม่มีคลอรีนเลย สารทั้งสองประเภทนี้ยังคงเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เอชซีเอฟซี นั้นทำลายทั้งโอโซนและเป็นแก๊สเรือนกระจก เพียงแต่ว่าการที่มีอะตอมโฮโดรเจนอยู่ในโมเลกุลทำให้มีอายุขัยสั้นกว่า ซีเอฟซี คืออยู่ได้ถึง 20 ปี เท่านั้น แทนที่จะอยู่ได้ถึง 100 ปี อย่างซีเอฟซี ส่วนเอชเอฟซีไม่ทำลายชั้นโอโซน แต่ยังคงมีส่วนร่วมในปรากฏการณ์เรือนกระจก นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์เองยังไม่แน่ใจว่าสารทั้งสองประเภทนี้เป็นพิษต่อคนหรือไม่ ภายหน้าอาจก่อให้เกิดปัญหา ที่คาดไม่ถึง ถึงแม้ยังไม่พอใจกับเอชซีเอฟซี เมื่อปี พ.ศ 2533 มีการทบทวนสัญญา มอนทรีล ว่าตกลงกันว่าจะเลิกใช้ซีเอฟซีในระหว่าง พ.ศ. 2563 และ พ. ศ. 2583 แต่ไม่ได้พูดกันว่าจะหยุดใช้ เอชเอฟซีด้วย ทางกระทรวงการค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเชื่อว่าวันที่กำหนดไว้จะเลิกใช้อชเอฟซีคงจะเลื่อนเร็วขึ้นมาเมื่อจะมีการทวนสัญญามอนทรีลกันอีกในธันวาคม 2535 ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นตกลงใจไปเองว่าจะต้องให้เอชเอฟซีหมดไปภายใน พ.ศ. 2573


โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2545