เวลามีค่าสำหรับชีวิต

เวลามีค่าสำหรับชีวิต. 2545. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.ku.ac.th/e-magazine/december44/know/time.html

สิ่งที่ไม่ต้องซื้อหาและมีค่าสำหรับชีวิตมนุษย์ก็คือ เวลา คนบางคนปล่อยเวลาอันมีค่าให้ล่วงเลยไปอย่างน่าเสียดาย ในชีวิตประจำวันของเรานับตั้งแต่ เกิดจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เราเคยใช้เวลาที่มีอยู่ในวันหนึ่ง ๆ ให้เป็นประโยชน์ คุ้มค่า และแบ่งเวลาอย่างมีแผนงานหรือไม่ เช่น เวลากิน เวลานอน เวลา ทำงาน พักผ่อน ฯลฯ ถ้าเราแบ่งเวลาในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สุขภาพ ร่างกาย จะสดชื่นและกระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ พร้อมที่จะปฏิบัติ ภาระกิจได้ตลอดไป
เวลาทำงานนับว่ามีความสำคัญและมีบทบาทมาก เพราะชีวิตการทำงานจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการใช้เวลาที่มีอยู่น้อยที่สุดให้ เป็นประโยชน์มากที่สุด ชีวิตของคนเราต้องผูกพันอยู่กับการทำงานอย่างน้อยที่สุดวันละ 8-10 ชั่วโมง ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภค สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขอแนะนำวิธีที่จะใช้เวลาในการทำงานให้ได้ประโยชน์คุ้มค่า ซึ่งมีผลดีทั้งต่อสุภาพร่างกายและจิตใจ ดังนั้
การวางแผนงานไว้ล่วงหน้า (Plan) เราควรกำหนดแผนงานการทำงานไว้ล่วงหน้าในแต่ละวัน โดยทำตารางการทำงานอย่างคร่าว ๆ ทุกวัน เพื่อให้การทำงานมีระเบียบไม่สับสน ควรจัดลำดับความสำคัญของงาน งานใดเร่งด่วนสำคัญให้ทำก่อน และตั้งเป้าหมายในแต่ละวันว่าจะทำงานกี่ชิ้น อะไรบ้าง การวางแผนงาน ล่วงหน้าจะเป็นแรงกระตุ้นให้เราทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเราใช้เวลามากในการวางแผนงานชิ้นใด ก็จะใช้เวลาน้อยในการทำงานชิ้นนั้น ให้สำเร็จ
มีสมาธิดี (Cencentrate) การมีสมาธิในการทำงาน นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ที่ทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันจะไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะการตัดสินใจในการทำงานแต่ละ อย่างไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีสมาธิควรทำงานแต่ละชิ้นด้วยความตั้งใจโดยทำงานที่สำคัญก่อน จะเป็นการประหยัดเวลามากกว่า
หยุดพักบ้าง (Take Break) ชีวิตคนเรามิใช่เครื่องจักร การทำงานควรมีเวลาหยุดพักบ้าง เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดความหมกมุ่น และความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าการทำงาน นาน ๆ ตลอดเวลาโดยไม่หยุดพักร่างกายจะอ่อนเพลีย เมื่อยล้า อารมณ์ตึงเครียด ดังนั้น การเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงาน เช่น หยุดคิด นั่งเฉย ๆ สักครู่ หรือลุกขึ้นยืน เดินบ้างก็จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ การหยุดพักบ้างจะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าอยากทำงานต่อไปอีก แต่ก็ไม่ ควรหยุดพักบ่อย ๆ จนทำให้เสียงาน
หัดเป็นคนมีระเบียบ ขจัดความไม่เป็นระเบียบออกไป (Avoid Clutter) โต๊ะทำงานนับว่ามีอิทธิพลมาก ถ้าเห็นโต๊ะทำงานรกเกะกะไม่เป็นระเบียบจะทำให้รู้สึกไม่ปลอดโปร่ง ไม่น่าดู เบื่อหน่ายงานได้ เราจึงควรแบ่งงานออก เป็นพวก ๆ จัดอย่างมีระเบียบ เช่น งานที่สำคัญ งานที่ทำรองลงไป งานที่ทำภายหลังก็ได้ หรือเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ จัดงานที่สำคัญเร่งด่วนไว้ใกล้มือ ที่สุดเพื่อจะได้ทำก่อน เมื่อเลิกงานแล้วอย่าทิ้งงานไว้บนโต๊ะ จัดให้เป็นระเบียบรุ่งขึ้นจะได้เริ่มต้นวันทำงานที่ดี
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง (Don't Procrastinate) นิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง จะทำให้เกียจคร้านเป็นการสะสมงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนดินพอกหางหมู ทำเท่าไรก็ไม่เสร็จ นับว่าเป็นการปล่อยเวลาให้ สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
แบ่งงานและกระจายงาน (Delegate) การรู้จักแบ่งงานและกระจายงาน ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำ จะช่วยแบ่งเบางานและทำให้งานสำเร็จผลได้รวดเร็วขึ้น การกระจายงานควรมอบหมายให้ กับผู้ที่มีความสามารถในงานนั้นโดยเฉพาะและให้อำนาจในการตัดสินใจด้วย จะทำให้ได้งานดี มีประสิทธิภาพและได้ผลรวดเร็ว
อย่าหมกมุ่นกับงานจนเกินไป (Don't be Workabolic) ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตการทำงานต้องรู้จักแบ่งเวลาทำงานอย่างเหมาะสมไม่หมกมุ่นหรือยุ่งกับงานจนเกินไป จนไม่มีเวลาพักผ่อนแม้กระทั่ง วันหยุด อาจต้องพบกับจิตแพทย์ในไม่ช้า
อย่าเป็นพวกสมบูรณ์นิยม (Don't be a Perfectionist) งานทุกอย่างย่อมมีผิดพลาดได้ เราควรพยายามทำงานอย่างตั้งใจ เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีแต่ไม่ควรหวังว่าจะต้องได้งานสมบูรณ์จนไม่มีที่ติ ควรระลึกว่า "สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง"
กล้าปฏิเสธ (Don't be Afraid to Say No) ต้องรู้จักประหยัดเวลาของตัวเอง วิธีที่ดีที่สุดต้องรู้จักปฏิเสธงานบางอย่างไม่ควรทำงานโดยเกรงใจคนอื่น หัดปฏิเสธบ้าง ควรทำงานที่เห็นว่าสำคัญและ มีประโยชน์
ผู้บริโภคที่ฉลาดควรรู้ว่า เวลาที่มีค่าก็คือเวลาที่มีอยู่วันนี้เท่านั้น วันที่ผ่านมาเป็นเวลาที่สูญไปแล้ว ส่วนวันพรุ่งนี้ยังเป็นฝันอยู่ ดังนั้นเราไม่ควรปล่อยเวลา ที่มีอยู่ในวันนี้ให้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์มิใช่หรือ



โดย : นางสาว malee pinkes, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545