ซีสท์

ปรียาภรณ์ ชารี."ซีสต์ (Cysts)".ใกล้หมอ. 26,2 (กุมภาพันธ์ 2545) 64 -65.
ซีสต์ หมายถึง เนื้องอกที่เป็นถุงนำ หรือก้อนตุ่มไตที่ผิดปกติ ซึ่งงอกขึ้นมาใหม่จากเนื่อเยื่อปกติของร่างกาย อาจเกิดขึ้นภายในร่างกาย หรือบนผิวแห้งได้ สาเหตุของการเป็นซีสต์ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หรือมีอายุประมาณ 30 ปี ขึ้นไป เช่น เนื้องอกปากมดลูก เนื้องอกเต้านม สาเหตุที่เกิดซีสต์นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย แต่มีปัจจัยภายนอกที่สามารถทำให้เกิดซีสต์ได้เช่นกัน ได้แก่ การที่ร่างกายได้รับสารเคมีหรือกัมมันตภาพรังสีร้ายแรงจนเกิดการสะสมมานาน การได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง การรับประทานอาหารที่เป็นตัวเร่งทำให้เกิดซีสต์ รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ทำลายระบบการทำงานของเซลล์ในร่างกาย การได้รับแสงแดดที่มากเกินไป และควันพิษ เป็นต้น เนื้องอกบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดธรรมดา และเนื้องอกชนิดร้ายแรง โดยปกติ ซีสต์ ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง รักษาได้ง่ายทั้งด้วยการกินยาเพื่อละลาย และการผ่าตัด นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันด้วยหลักโภชนศาสตร์ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อต้านการเป็นซีสต์ รวมทั้งยับยั้งมะเร็งในเบื้องต้นด้วยการออกกำลังกายก็เป็นสิ่งสำคํยอย่างหนึ่ง ข้อสำคัญควรตรวจร่างกายอย่างสมำเสมออย่าบน้อยปีละครั้งก็เป็นเรื่องที่ดี อาหารต้านเนื้องอก ได้แก่ พืชผักใบเขียว พืชที่มีสีส้ม สีแดฃง สีเหลือง นอกจากนี้ ญพืชจำวกถั่ว และผลไม้ที่ให้วิตามินซี ก็เป็นอาหารที่มีคุณค่า ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเถทไขมันสูง ของหมักดองที่มีรสเค็ม เพราะเป็นตัวเร่งในรายที่มีอัตราการเกิซีสต์ได้ง่าย


โดย : นางสาว นางสาวพนิดา ยิ้มแฉ่ง, ripw Klonglung Pathumthani 13180, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545