ลักษณะทั่งไปของผึ้ง

ลักษณะทั่วไปของผึ้ง. 2001. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาhttp://kanchanapisek.or.th
ลักษณะทั่วไปของผึ้ง
ลำตัวของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนหัว เป็นที่ตั้งของหนวด ตา และปาก หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกและสัมผัสโดยเฉพาะการดมกลิ่นแทนจมูก ตา ผึ้งมีตาประกอบใหญ่ 1 คู่ ช่วยให้มองเห็นได้ในระยะไกลและเป็นบริเวณกว้าง สามารถมองเห็นดอกไม้สีต่างๆ ได้ในระยะไกล ปาก ของผึ้งเป็นแบบกัดดูด ประกอบด้วยอวัยวะเล็กๆ หลายส่วน คือ ปากบนมีกรามแข็งแรง 1 คู่ ด้านข้างเป็นฟัน ตรงกลางเป็นงวงทำหน้าที่ดูดน้ำหวาน ปากของผึ้งตัวผู้และนางพญาหดสั้นมากเพราะไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากผึ้งงานช่วยป้อนอาหารให้ผึ้งทั้งสองวรรณะ ส่วนอก เป็นส่วนรวมของกล้ามเนื้อและเป็นที่ตั้งของเขาและปีก ขา มี 3 คู่ ขาหลังมีอวัยวะพิเศษสำหรับเก็บเกสรเรียกว่า ตะกร้าเก็บ เกสร ผึ้งตัวผู้และผึ้งนางพญาไม่มีอวัยวะนี้ เพราะไม่ต้องออกไปหาอาหาร ปีก มี 2 คู่ คู่แรกใหญ่กว่าคู่หลังเล็กน้อย ปีกคู่แรกและคู่หลังเกี่ยวกันด้วยตาขอเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถวเรียกว่า ฮามูไล (hamulai) ส่วนท้อง ของผึ้ง ประกอบกด้วย 6 ปล้อง ตัวผู้มี 7 ปล้อง ที่ปลายท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญามีเหล็กใน แต่ผึ้งตัวผู้ไม่มี เหล็กใน ด้านข้างแต่ละปล้องมีรูหายใจ ปล้องละ 1 คู่ อวัยวะวางไข่ อยู่ที่ปล้องสุดท้ายในผึ้งงานและผึ้งนางพญา บางส่วนของอวัยวะวางไข่จะดัดแปลงเป็นเหล็กในมีลักษณะเป็นเข็มแหลม รูหายใจ เป็นรูเปิดด้านข้างสวนอกและท้องมีทั้งหมด 10 คู่ 3 คู่แรกอยู่ที่ส่วนอก อีก 7 คู่อยู่ที่ส่วนท้อง รูหายใจจะปิดเปิดตลอดเวลาเพราะมันหายใจเข้าออกทางรูเหล่านี้ รูหายใจจะติดต่อกับท่อลมและถุงลม ผึ้งมีถุงลมใหญ่มากอยู่ ภายในลำตัว ช่วยพยุงตัวขณะ ที่ผึ้งบิน ทำให้ผึ้งสามารถบินเร็วและบินได้ไกลด้วย ขนตามลำตัว ของผึ้งมีจำนวนมากเป็นขนละเอียด มีเส้นประสาทรับความรู้สึกและรับสัมผัส เช่น ส่วนขนบริเวณหน้าใช้รับความ รู้สึก การเคลื่อนไหว และทิศทางลม ผึ้งมักจะบินทวนลมไปยังที่ตั้งของแหล่งอาหาร ขนที่ติดกับอกและท้องของผึ้งสามารถรับ ความรู้สึกเกี่ยว กับแรงดึงดูดของโลก ทำให้สามารถบอกความสูงต่ำได้ในขณะที่บิน นอกจากนั้นขนยังรับสัมผัสการเคลื่อนไหวของศัตรู และ รับสั มผัสอาหาร คือ เกสรและน้ำหวานจากพืชได้อีกด้วย










โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545