ปลากัด



“ปลากัด” นับเป็นปลาที่มีผู้นิยมกันอย่างแพร่หลาย ด้วยสีสันอันสวยงามและความเป็นนักสู้ แต่นักเลี้ยงปลากันหลายคน โดยเฉพาะมือใหม่หัดเลี้ยง จึงขอแนะนำลักษณะปลากัดที่นิยมเลี้ยงกันไว้มนปัจจุบัน
1. ปลากัดป่า เป็นปลากัดที่พบตามท้องทุ่งหลบซ่อนใต้ร่มใบของพรรณไม้น้ำ เพื่อหลบหลีกจากศัตรู และแสงแดดอันเจิดจ้า บรรพบุรุษของไทย ได้ค้นพบความสามารถที่น่าอัศจรรย์ในการต่อสู้ของปลาชนิดนี้ จึงได้มีการนำมาเพาะเลี้ยงและพัฒนาเป็นสายพันธุ์ต่างๆอย่างหลากหลายจนได้ชื่อว่าเป็น “ปลาน้ำจืดที่สวยงามที่สุดในโลก”
2. ปลากัดหม้อ ปลาสายพันธุ์นี้ได้รับการคัดสรรมาเพื่อเป็นนักสู้ที่ทรหด สามารถต่อสู้ได้เป็นเวลานานนับชั่วโมง มีความทะมัดทะแมง และสามารถเปล่งสีสันที่สดใสได้ทันที เมื่อเห็นหน้าศัตรู สีดั้งเดิมของปลาชนิดนี้ มีสีหลายสีบนลำตัว เรียกว่า สีประดู่
3. ปลากัดหม้อสีเดียว เป็นปลากัดอีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่เกิดขากความสวยงามทางภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษของไทย ที่พัฒนาสายพันธุ์ปลา ที่นอกเหนือจากความสามารถในการต่อสู้ ลักษณะที่ดีของปลาสีเดียว คือ ปลากัด ต้องมีสีเดียวตลอดลำตัว ลักษณะรูปร่างสมบูรณ์ สีที่พบเห็นได้เสมอ คือ สีแดง เขียว เทานก พิราบ น้ำเงิน ส่วนสีที่หายากคือ เหลืองและสีดำ
4. ปลากัดหม้อหลากสี ปลากัดที่เพิ่งได้รับความนิยมเมื่อไม่นานนี้ เนื่องจากมีสีสันที่สวยงามและแปลกตา แต่ดั้งเดิมปลากลุ่มนี้ นักเพาะพันธุ์ปลากัดจะคัดปลาหลากสีทิ้ง เนื่องจากความเชื่อที่ว่า เป็นปลาที่ด้วยคุณภาพในด้านการดัด แต่ในปัจจุบันค่านิยมเปลี่ยนไปเป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม
5. ปลากัดครีบยาว หรือ ปลากัดจีน เป็นสายพันธุ์ที่เกิดจากการคัดพันธุ์ของนักเพาะพันธุ์ชาวไทย แต่มักเข้าใจผิดว่าเป็นปลาที่เกิดจากประเทศจีน มีเอกสารทางวิชาการยืนยันว่า มีการส่งออกปลากัดครีบยาวจากประเทศไทยไปยังยุโรปนานมาแล้ว สาเหตุที่เรียกว่า ปลากัดจีน น่าจะเนื่องมาจากครีบที่ยาวรุ่ยร่าย มองดูคล้ายการแต่งกายของอุปรากรจีน
6. ปลากัดครีบยาวลายผีเสื้อ เป็นลักษณะที่มีอยู่ในปลากัด พบได้เสมอในปลากัดที่เพาะเลี้ยงในประเทศไทย แต่เนื่องจากเราไม่ได้คัดพันธุ์ปลาชนิดนี้อย่างชัดเจน ลักษณะปลากลุ่มนี้ คือ ลายบนครีบทุกครีบเป็นแถบสีที่ตัดกับลำตัว แถบที่ดีต้องเป็นแนวเดียวกันทั้งครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น

คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ลักษณะ. “ปลากัดแต่ละชนิด”. 14 มกราคม 2545 .เดลินิวส์. : 24




โดย : นางสาว Laddawan Meegul, คลองหลวง ปทุมธานี 13180, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545