บทบาทของครูและบรรณารักษ์

ประไพ พักตรเกษม “บทบาทของครูและบรรณารักษ์ในการส่งเสริมการอ่านระดับประถมศึกษา "
สารพัฒนาหลักสูตร . 6,25 (ตุลาคม 2531)
หนังสือเป็นสื่อสำคัญอย่างหนึ่งในบรรดาสื่อหลาย ๆ อย่างที่มีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาความรู้แลละพัฒนาคุณภาพชีวิตของด็กและเยาวชนถึงแม้ว่าหนังสือจะไม่ใช่สื่อที่จำเป็นที่สุด แต่นับว่าเป็นสื่อที่ถูกกว่าสื่ออื่น ๆ เป็นต้นว่า วิทยุ โทรทัศน์ การอ่านหนังสือเป็นความจำเป็นอย่างหนึ่งในการส่งเสริมประสบการณ์ใหม่นอกเหนือไปจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพราะหนังสือเป็นขุนทรัพย์ที่จะช่วยพัฒนาความรู้ให้กว้างขวาง ช่วยพัฒนาความคิดรู้จักเลือกเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งหลายมาใช้พัฒนาสติปัญญา และสะสมไว้เป็นสมบัติในสมองเพื่อใช้งานและปรับปรุงตนเอง
หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 เป็นการศึกษาทที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานให้คงสภาพอ่านออกเขียนได้และคิดคำนวณได้ เพื่อจะได้ประกอบอาชีพตามควรแก่วัยและความสามารถ และดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มวลประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนรู้มี 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม 1 กลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ประกอบด้วยภาษาไทยและคณิตศาสตร์
กลุ่ม 2 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ว่าด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของชีวิตและสังคม กล่าวถึงปัญหาและความสามารถของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เพื่อความดำรงอยู่และการดำเนินชีวิตที่ดี
กลุ่ม 3 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ว่าด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาและสร้างนิสัย
กลุ่ม 4 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ว่าด้วยประสบการณ์ทั่วไปในการทำงานและความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ
กลุ่ม 5 กลุ่มประสบการณ์พิเศษว่าด้วยภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับชีวิตภาษาไทย ระดับ ป.5-6
ประจำวันและวิชาอาชีพที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต เพื่อให้โรงเรียนเลือกสอนอย่างใดอย่างหนึ่งในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6
หลักสูตรฉบับนี้ได้ให้ความสำคัญของห้องสมุดที่มีต่อการศึกษาในกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ภาษาไทย





โดย : นาง บุศรา รัชตะนาวิน, ripw klonglung prathumthanee 13180, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545