ความฉลาดของมนุษย์

ความฉลาดของมนุษย์นั้น เกี่ยวข้องกับขนาดของสมองหรือไม่

เราอาจเคยได้ยินเพื่อน ๆ พูดเล่นกันว่า เจ้าคนนี้โง่เพราะสมองเล็ก ส่วนเจ้าคนนี้ฉลาด สงสัยสมองคงจะใหญ่ ความเชื่อดังว่านี้ไม่จริงเลย สมองมนุษย์ซึ่งถือเป็นสสารที่จัดวางตัวซับซ้อนที่สุดในจักรวาล ทำหน้าที่สั่งการและ ประสานการเคลื่อนไหว โต้ตอบ รับและแปลความรู้สึก สมองเป็นอวัยวะสำคัญสูงสุดซึ่งอำนวยให้มนุษย์ไม่เพียง ได้มาซึ่งความรู้ แต่รวมทั้งความสามารถในการใช้และประยุกต์ความรู้นั้น ๆ ด้วย ถ้าปราศจากสมอง เราคงช่วย ตัวเองไม่ได้เลย แย่กว่าเด็กทารกเสียอีก

เนื่องจากสถานภาพอันสำคัญยิ่งของสมองในระบบร่างกายมนุษย์ สมองซึ่งหนักเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก ตัวต้องใช้ออกซิเจนถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่เราหายใจเข้า ใช้พลังงาน 20 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณแคลอรีที่เรารับประทานเข้าไปในรูปของอาหาร และใช้ 15 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณโลหิตที่ร่างกาย ผลิตออกมา ขนาดของสมองจะหยุดโตขึ้นเมื่อเราอายุได้ 15 ปี ซึ่ง ณ เวลานั้นสมองมีน้ำหนักราว 1.4 กิโลกรัม คือหนักเป็น 3 เท่าของน้ำหนักสมองเมื่อแรกเกิด จากการศึกษาพบว่า ขนาดของสมองและระดับสติปัญญาของ บุคคลไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันแต่ประการใด เราสามารถเพิ่มพูนพลังสมองได้เรื่อย ๆ แม้แต่ในช่วงปลาย ของชีวิต ความสามารถในการรับความรู้ของสมองแทบไม่มีขีดจำกัด สมองจุความรู้ได้มากมายมหาศาล ขนาดที่ ว่าระบบประสาทของมันมีกิ่งก้านสาขาเชื่อมต่อมากมายกว่าเครือข่ายโทรศัพท์สำหรับคนทุกคนบนโลกใบนี้

อย่างไรก็ตาม ระบบที่พิเศษสุดยอดนี้ก็มีวันเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา เมื่อคนเราแก่ตัวลงในช่วงอายุ 70-80 ปี ประมาณหนึ่งในสี่ของเซลล์ประสาทหรือ "นิวรอน" (neurons) ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นสมองจะตายลง นี่อธิบาย ว่าทำไมคนสูงอายุบางคนจึงหลง ๆ ลืม ๆ หรือหูตึง เวลาที่เราคิด คนเราใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยกว่าตอน ที่ไม่ได้ใช้ความคิด ดังนั้นการคิดจึงไม่ได้เป็นเรื่องหนักหนาอะไรนัก สมองแตกต่างจากเครื่องจักรที่มนุษย์สร้าง ขึ้นตรงที่สมองใช้พลังงานส่วนใหญ่ไปกับการรักษาวงจรของมันให้ตื่นตัวและไวต่อสิ่งที่มากระทบ มันต้องการ พลังงานอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อให้วงจรทำงาน

ตำแหน่งของร่างกายมีอิทธิพลต่อกระบวนการการคิดของคนเรา ถ้าคุณอยู่ในท่านอน จิตใจของคุณค่อนข้างจะ โลดแล่นไปไกล คิดถึงเรื่องโน้นเรื่องนี้ ถ้าคุณยืน พละกำลังของคุณจะมุ่งไปสู่การกระทำ ความคิดจะแคบเข้า การตัดสินใจทำได้เร็วขึ้นและแข็งขัน ส่วนท่านั่งเป็นหารประนีประนอมระหว่างท่านอนกับท่ายืน อวัยวะทุกส่วนของ ร่างกายมีเซลล์รับความรู้สึก ซึ่งรับรู้ความเจ็บปวดและส่งต่อความรู้สึกนั้นไปยังสมอง แต่ตัวสมองเองไม่รู้จัก เจ็บเพราะมันไม่มีเซลล์พิเศษดังกล่าว






โดย : นางสาว malee pinkes, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545