สารอาหารที่จำเป็นสำหรับต้นไม้

http://www.lokesatleang.com/sueklang.html







"มนุษย์ต้องการอาหารฉันใด ต้นไม้น้ำก็ต้องการสารอาหารฉันนั้น" การปลูกเลี้ยงต้นไม้น้ำนั้น นอกจากการดูแลเอาใจใส่ในด้านต่างๆ อย่างดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้อง คำนึงและละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด นั่นก็คือ การให้ต้นไม้น้ำได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างครบถ้วนและในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อการแตกกิ่งก้านสาขาอย่างสวยงามและสมบูรณ์นั่นเอง

ต้นไม้น้ำต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโต และการสืบพันธ์ เราสามารถแบ่งสารอาหารออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ สารอาหารหลัก (macronutrients) และสารอาหารรอง (micronutrients) ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเกี่ยวกับสารอาหารหลักให้ทราบกันก่อน

สารอาหารหลักเป็นกลุ่มของแร่ธาตุที่ต้นไม้น้ำมีความต้องการในปริมาณค่อนข้างมาก และสารอาหารรองเป็นกลุ่ม ของแร่ธาตุที่ต้นไม้น้ำมีความต้องการในปริมาณที่น้อยกว่า
หลักเกณฑ์ในการควบคุมปริมาณมีอยู่ 2 ข้อใหญ่คือ

1. ให้มีสารอาหารในน้ำพอดีต่อการใช้ของต้นไม้ (ไม่เหลือใช้) ผู้ปลูกเลี้ยงควรเติมปุ๋ยแร่ธาตุในปริมาณครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ ครั้ง เพื่อควบคุมให้สารอาหารในน้ำมีปริมาณที่พอ ดีอยู่ตลอดเวลา เช่น หากต้องเติมปุ๋ยชนิดหนึ่ง 70 มิลลิลิตรทุกอาทิตย์ ควรแบ่งเติมเป็นวันละ 10 มิลลิลิตรทุกวัน ปริมาณสารอาหารในน้ำจึงพอดีต่อความต้องการของต้นไม้ทุกวันไม่เหลือใช้ในต้นๆ และไม่พอใช้ในปลายอาทิตย์

2. ให้ปริมาณสารอาหารชนิดที่ต้นไม้ต้องการอย่างเพียง พอแต่จำกัดปริมาณสารอาหารชนิดที่เป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของตะไคร่

ปุ๋ยสำหรับต้นไม้น้ำที่มีคุณภาพดีจะมีสัดส่วนของแร่ธาตุแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม ความไม่สมดุลย์ในปริมาณแร่ธาตุแต่ละชนิดของปุ๋ย จะทำให้ต้นไม้น้ำไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ปุ๋ยที่ มีส่วนผสมของแร่ธาตุบางชนิดอยู่มากเกินไป (ฟอสเฟตอิออน หรือไนเตรตอิออน) อาจทำให้เกิดปัญหาตะไคร่ได้

ต้นไม้น้ำมีความสามารถในการลำเลียงสารอาหาร จากส่วนของก้านหรือใบแก่ที่กำลังจะหลุดร่วงไปยังส่วนที่กำลังเจริญเติบโตใหม่ นอกจากนั้นแล้วในสภาพที่ไม่มีการเติมสารอาหารเพิ่ม ต้นไม้น้ำยังสามารถดึงไนโตรเจน และฟอสฟอรัสที่เก็บสะสมไว้ในตัว นำไปสร้างความเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 3 เท่า โดยน้ำหนักแร่ธาตุที่กล่าวถึงนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็น "พลังงานสะสม" ของต้นไม้น้ำ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งว่าทำไมต้นไม้น้ำสามารถดำรงชีพและเจริญเติบโตได้ชั่วเวลาหนึ่งโดยไม่ตายฝนทันทีในตู้ที่ไม่มี การเติมปุ๋ยหรือสารอาหารเพิ่ม (อาจนานถึง 3 อาทิตย์) โดยขีดความสามารถดังกล่าวขึ้นอยู่กับต้นไม้แต่ละชนิดและความเข้มแสงในตู้ปลูกเลี้ยง

สารอาหารที่ต้นไม้น้ำต้องการมีอยู่ทั้งสิ้น 16 ชนิด แต่ละชนิดมีบทบาทที่ต่างกันไป ปริมาณโดยประมาณที่มีอยู่ ในเนื้อเยื่อของพืชชั้นสูงมีสัดส่วนดังต่อไปนี้
1. คาร์บอน มีปริมาณ 45%
2. ออกซิเจน มีปริมาณ 45%
3. ไฮโดรเจน มีปริมาณ 6%
4. ไนโตรเจน มีปริมาณ 1.5%
5. โปแตสเซียม มีปริมาณ 1.0%
6. แคลเซียม มีปริมาณ 0.5%
7. แมกนีเซียม มีปริมาณ 0.2%
8. ฟอสฟอรัส มีปริมาณ 0.2%
9. กำมะถัน มีปริมาณ 0.1%
10. เหล็ก มีปริมาณ 0.01%
11. คลอรีน มีปริมาณ 0.01%
12. แมงกานีส มีปริมาณ 0.005%
13. โบรอน มีปริมาณ 0.002%
14. สังกะสี มีปริมาณ 0.002%
15. ทองแดง มีปริมาณ 0.0006%
16. โมลิบดิเนียม มีปริมาณ 0.00001%

สารอาหารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จำเป็นทั้งสิ้น จะขาดตัว ใดตัวหนึ่งหรือใช้แทนกันไม่ได้ หากต้นไม้ได้รับสารอาหาร ชนิดใดชนิดหนึ่งไม่เพียงพอ จะเกิดอาการขาดสารอาหาร (Deficiency symptom)
สารอาหารหลัก

สารอาหารหลักที่มีความจำเป็นต่อการเติบโตของ ต้นไม้น้ำได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน, ไฮโดรเจน, ออกซิเจน, โปแตสเซียม, แคลเซียม, ฟอสฟอรัสและกำมะถัน เป็นสารอาหารในลำดับที่ 1 ถึงลำดับที่ 9

สำหรับสารอาหารหลักที่สำคัญ 3 ชนิดได้แก ไนโตรเจน โปแตสเซียมและฟอสฟอรัสนั้น ในตู้ที่มีการเลี้ยงปลาสวยงามอยู่ด้วย ไนโตรเจน (ในรูปของไนเตรตอิออน ถึงแม้ว่าต้นไม้น้ำจะชอบแอมโมเนียมากกว่าไนเตรต เพราะใช้พลังงานน้อยกว่าในการดูดซึมเข้าลำต้น แต่พิษของแอมโมเนียที่จะเกิดจากการแตกตัวของแอมโมเนีย ทำให้นิยมให้ไนโตรเจนในรูปของไนเตรตมากกว่า) และฟอสฟอรัส (ในรูปของฟอสเฟตอิออน) มักจะถูกเติมมากับอาหารปลาอยู่แล้ว และมักจะมากเกินพอหากไม่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำบางส่วนเป็นประจำ ยกเว้นในตู้ปลาที่ ติดตั้งระบบแสงความเข้มสูงมาก ต้นไม้น้ำอาจมีโอกาสขาดไนโตรเจนได้ ส่วนโปแตสเซียมจะถูกผสมมาพร้อมกับปุ๋ยสำเร็จรูป ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ปุ๋ยที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าไม่มีไนเตรต หรือฟอสเฟตปนอยู่ด้วย (Does not contain nitrate or phosphate)

ในส่วนของธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ต้นไม้จะได้รับจากน้ำและการหายใจในเวลากลางคืน ธาตุคาร์บอนต้นไม้น้ำจะได้รับจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนที่เหลืออีก 3 ตัวคือ แคลเซียม แมกนีเซียมและกำมะถันจะได้จากน้ำประปาที่มีค่า GH มากกว่า 3 dGH (GH คือค่าความกระด้างของน้ำ สามารถจะวัดได้จากเคมีภัณฑ์ )

สารอาหารหลักนับเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อต้นไม้น้ำมากที่สุด ซึ่งการจะให้สารอาหารเหล่านี้จะต้องมีการพิจารณาถึงองค์ประกอบในหลายๆ ด้าน เพราะการให้สารอาหารที่มากเกินไปจนต้นไม้น้ำไม่สามารถที่จะนำไปใช้ได้หมด สุดท้ายก็จะส่งผลกระทบต่อต้นไม้น้ำที่เลี้ยงอยู่ในตู้ อย่างเช่นปัญหาการเกิดตะไคร่น้ำตามมานั่นเอง

สารอาหารที่นำเสนอกันในวันนี้คงเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้นิยมต้นไม้น้ำ ที่จะนำไปประยุกต์และทดลองใช้กับตู้ต้นไม้น้ำ แต่เรื่องราวของสารอาหารที่จำเป็นต่อต้นไม้น้ำยังไม่ได้หมดเพียงแค่นี้ ฉบับหน้าผู้เขียนยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับสารอาหารรองนำฝากอีกเช่นเคย





โดย : เด็กชาย รุ่งโรจน์ ดาพรม, ราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545