ประวัติหลี่ผิง

http://kids.mweb.co.th/know_world/leader_09.htm



หลี่เผิง


หลี่เผิง
หลี่เผิงเกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ.1928 ในเซี่ยงไฮ้ บิดาของหลี่เผิงถูกทหารกั๋วหมินตั่งยิงตาย ในระหว่างเดินทางจากกล่างตงไปเกาะไห่หนาน(ไหหลำ) ช่วงหนึ่งในระหว่างหลี่เผิงยังเด็ก ก็ได้ไปอยู่ในฮ่องกงระยะหนึ่ง เนื่องจากมารดาไปปฏิบัติงานใต้ดิน ของพรรคคอมมิวนิสต์ และในปี ค.ศ.1939 เมื่อหลี่เผิงอายุได้ 11 ขวบก็ได้ไปอยู่กับญาติในเฉิงต ูเมืองหลวงของมณฑลซื่อชวน ที่นี่เอง โจวเอินไหลกับเติ้งอิ่งเชาภรรยา ซึ่งไม่มีลูกด้วยกันรับหลี่เผิงเป็นบุตรบุญธรรม ในปี ค.ศ. 1941 หลี่เผิงถูกพาตัวไปอยู่ในเอี๋ยนอานฐาน ที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์ในสมัยสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ระหว่างอยู่ในเอี๋ยนอานนี้ หลี่เผิงได้เข้าศึกษาที่ สถาบันวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ภายหลังจึงทำงานในฐานะช่างไฟฟ้า แล้วต่อมาได้ไปศึกษาที่สถาบันพลังไฟฟ้า ณ กรุงมอสโก โดยทางพรรคคอมมิวนิสต์จีนส่งไปเมื่อปีค.ศ. 1948 หลี่เผิงมีชื่อเสียงในสถาบันแห่งนี้ว่า เป็นนักศึกษาที่เรียนดีเป็นพิเศษ สอบได้เกรดเอทุกวิชา จนจบการศึกษาในปีค.ศ. 1955 เมื่อกลับมาจีนในยุคของการสร้างสรรค์ระบอบสังคมนิยม หลี่เผิงก็ได้เข้าทำงานในฐานะหัวหน้าวิศวกร ต่อมาก็ได้เป็นผู้อำนวยการโรงงานไฟฟ้า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคอีสานของจีน (ตงเป่ย) และก็มีตำแหน่งงานก้าวหน้าขึ้นมาตามลำดับ การปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนระหว่างค.ศ.1966-1976 ก็ไม่ได้กระทบกระเทือนถึงหลี่เผิง ไม่ว่าจะตำแหน่งหน้าที่การงานหรือ ชีวิตส่วนตัว จนถึงปี ค.ศ.1979 หลังจากเติ้งเสี่ยวผิงกลับมาดำรงตำแหน่ง ผู้นำทั้งพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาล มีนโยบายสนับสนุนผู้นำรุ่นใหม่ ขึ้นมาแทนที่รุ่นเก่าจากนโยบายสี่สมัย พัฒนาเศรษฐกิจสังคมนิยมการตลาด และ เปิดประตูจีนออกสู่โลกภายนอก ยังผลให้ผู้นำรุ่นใหม่จะต้องมีคุณสมบัติต่างไปจากผู้นำรุ่นเก่า ที่เป็นนักปฏิวัติอาชีพ ก็คือ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย และรู้ภาษาต่างประเทศ ปีค.ศ. 1979 หลี่เผิงได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วย วางการกระทรวงอุตสาหกรรมพลังงาน ปีต่อมาก็ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการ ในปีค.ศ. 1982 ได้เป็นหัวหน้าคณะกรรมการว่าด้วยการศึกษาของรัฐ และในปีเดียวกันนี้ หลี่เผิงก็ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการกลาง ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งที่ทรงอำนาจสูงสุดของ พรรคคอมมิวนิสต์ ปีค.ศ.1987 ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนจ้าวจื่อหยาง ที่ต้องไปเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์แทน หูเย่าปัง ชื่อของหลี่เผิงคงจะติดตรึงอยู่ในหัวใจของชาวจีน โดยเฉพาะเหล่านักเรียนนักศึกษาไปอีกนาน อันเนื่องมาจากเหตุการณ์นองเลือดที่เทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 3 -4 มิถุนายน





โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545