วัยรุ่นกับยาเสพย์ติด

จันโททัย กลับเมฆ. “ วัยรุ่นกับยาเสพย์ติด. ” วิทยาจารย์. 84,7 ( กรกฎาคม 2529 ) : 8-9.

การที่เด็กติดยานั้น ก็เหมือนกับปัญหาความประพฤติอื่นๆ ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งจากตัวเด็กเอง จากปัญหาในครอบครัวและชุมชน ปัญหาจากตัวเด็กบางครั้งอาจเกิดจากการแนะนำอย่างผิด ๆ ของเพื่อนเพื่อทดลองหรือเป็นทางออกของอารมณ์ หงอยเหงาตามธรรมชาติของวัยหรือความคับข้องใจจากปัญหาในบ้าน พ่อแม่ไม่รัก ไม่เข้าใจ ขาดแคลนบางสิ่งบางอย่าง ทำให้ไม่มีความสุขกับเพื่อน ครู เลยหาทางระงับด้วยยา อาการทั่วไปของการติดยา 1. การเอาใจใส่รับผิดชอบการเรียนและระเบียบวินัยหย่อนยานลงไป 2. อารมณ์ฉุนเฉียวผิดปกติ 3. สุขภาพร่างกายทรุดโทรม 4. มีท่าทีลับลมคมนัย เกี่ยวกับการซ่อนยาและติดต่อกับกลุ่มติดยา 5. สวมแว่นกันแดดเพื่อซ่อนแววตาที่วาว 6. ใช้เสื้อแขนยาวตลอดเพื่อปกปิดรอยเข็มฉีดยา 7. มีความยุ่งยากทางการเงิน ใช้จ่ายเปลือง 8. มักชอบอยู่ในที่ลับตาคน การแก้ปัญหาเด็กก่อนติดยามักมีพฤติกรรมที่มีปัญหาก่อน ทั้งครูและผู้ปกครองไม่ควรด่วนสรุปว่าใจแตก เสียคน หรือเกียจคร้าน ควรทำให้เด็กรู้สึกเป็นกันเองที่จะพูดคุยถึงปัญหาของตนโดยไม่มีการซ่อนเร้น แม้จะเป็นการเพิ่มภาระก็ตาม ทำให้เด็กแน่ใจว่าผู้ใหญ่พยายามที่จะเข้าใจพร้อมที่จะช่วยเหลือให้เด็กเติบโตขึ้นไปในทิศทางที่เขาต้องการ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะห้ามไม่ให้ใช้ยาด้วยวิธีขู่ ควรรับฟังการพูดถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ มากกว่า เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการเรียกร้องสิทธิปละความเป็นตัวของตัวเองสูงที่สุด ควรให้เด็กรู้โทษตามกฎหมายที่จะได้รับจากการใช้ยาเสพย์ติดและจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างพลังใจ อารมณ์ ความนึกคิดไปในทางที่มีความหมาย



โดย : นางสาว แก้วตา ศิริโพแพง, สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545