โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก

http://www.rdpb.go.th/thai/important/0007/0007.html

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี



พระราชดำริ
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทาน
ศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างโครงการเขื่อนเก็บ กักน้ำแม่น้ำป่าสัก เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
ในพื้นที่เพาะปลูกเขตลุ่มน้ำป่าสัก และบรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำป่าสัก เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ซึ่งก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสให้กรมอุตุนิยมวิทยา ทำการติดตั้งอุปกรณ์
การติดตามปริมาณน้ำฝนและรายงานโดยละเอียดอยู่ตลอดมา

การสนองพระราชดำริ
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ศึกษาความเหมาะสมของ โครงการฯ โดยให้สำนักงาน กปร.
เป็นแกนกลางและสนับสนุนงบประมาณ และเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2534 นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน กปร.
ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ พิจารณาศึกษาโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก โดยมีเลขาธิการ กปร.
เป็นประธานกรรมการ ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมชลประทาน
และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนิน การตามโครงการดังกล่าวได้ โดยเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อ วันที่ 2 ธันวาคม 2537
และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ" ลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญ
ประกอบด้วยการก่อสร้างเขื่อนดินความยาว 4,860 เมตร ความสูง 31.5 เมตร ความจุ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร
(ที่ระดับเก็บกักสูงสุด + 43 ม.รทก) พร้อมอาคารประกอบ 3 แห่ง การก่อสร้างระบบชลประทานในพื้นที่ 135,500 ไร่
และการก่อสร้าง คันกั้นน้ำ 2 แห่ง ความยาวรวม 6.055 กิโลเมตร

พื้นที่ดำเนินการและผลกระทบ
1.พื้นที่ดำเนินการ
ที่ตั้งหัวงาน อยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 105,300 ไร่
ครอบคลุม 2 จังหวัด 4 อำเภอ 15 ตำบล 65 หมู่บ้านแบ่งเป็น
- จังหวัดลพบุรี จำนวน 96,658 ไร่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอ ท่าหลวง และอำเภอชัยบาดาล
รวม 13 ตำบล 60 หมู่บ้าน
- จังหวัดสระบุรี จำนวน 8,642 ไร่ 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังม่วง รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน

2.ผลกระทบ
- 15 มิถุนายน 2541 เก็บกักน้ำที่ระดับ +29 ม.รทก. (3 ล้าน ลบ.ม.) ยังมี ราษฎรเหลืออยู่49 ครอบครัว/249 คน
ในเขตตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี (ไม่ถูกน้ำท่วม)
- 28 สิงหาคม 2541 เก็บกักน้ำที่ระดับปกติ +33 ม.รทก. (25 ล้าน ลบ.ม.) จะอพยพราษฎรที่เหลือออกทั้งหมด




โดย : เด็กชาย รุ่งโรจน์ ดาพรม, ราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545