วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก

http://www.rdpb.go.th/thai/important/0012/0012.html

วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร


ชื่อโครงการ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
สถานที่ดำเนินการ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
พระราชดำริ สืบเนื่องจาก ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและราชวงศ์จักรี ที่ทรงพระคุณอันประเสริฐแด่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่ารวมทั้งด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในบวรพระพุทธศาสนา นางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบริเวณเขตห้วยขวาง จำนวน 13 ไร่เศษ ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจกรรมของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่เกี่ยวกับศาสนาและการศึกษาซึ่งต่อมาได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯพระราชทานที่ดินดังกล่าวจำนวน 5 ไร่ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการ ศึกษาให้เยาวชน ในบริเวณนั้น สำหรับที่ดินส่วนที่เหลืออีกประมาณ 8 ไร่เศษ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มูลนิธิชัยพัฒนาพิจารณาดำเนินการก่อสร้างวัดเล็ก ๆ ตามแนวพระราชดำริ วัดพระราม 9 กาญจนภิเษก ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ 2538ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นแบบอย่างในการก่อสร้างวัดเล็กๆ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของชุมชนที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง และเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา ตลอดจน กิจกรรมต่าง ๆ ในการเผยแพร่ศีลธรรมและจริยธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน ณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่จำเป็น ใกล้แล้วเสร็จตามรูปแบบ โดยคณะอนุกรรมการดำเนินงานก่อสร้างวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ซึ่งมีนายจริย์ ตุลยานนท์ กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯรับผิดชอบออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง
การดำเนินงาน
สนองพระราชดำริ
1. วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิเจ้าอาวาส กุฎิพระจำนวน 5 หลัง และอาคารประกอบเช่น โรงครัว อาคารสำนักงานและห้องน้ำ ซึ่งสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วประมาณ 90% ของงานทั้งหมดยกเว้น อาคารสำนักงาน รั้ว กำแพงแก้วและถนนภายในวัดอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในส่วนของพระประธานนั้นพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยให้จัดสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยเพื่อประดิษฐานไว้ใน อุโบสถ
2. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ได้ประทานอนุญาตให้พระราชสุมนต์มุนี (อภิพล) (อภิพโล) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนภิเษก โดยพระราชสุมนต์มุนีพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรรวม 7 รูป เดินทางไปจำพรรษา ณ วัดพระราม 9 เมื่อวันอาสาฬหบูชาที่ 19 กรกฎาคม 2540ทั้งนี้พระคุณเจ้าได้แสดง พระธรรมเทศนาให้คณะศิษยานุศิษย์และบรรดา พุทธศาสนิกชนที่ไปร่วมงาน จากนั้นได้มีการเวียนเทียนรอบอุโบสถ และในวันที่ 20 กรกฎาคม 2540พุทธศาสนิก ชนและนักเรียนได้ร่วมกันตักบาตรดอกไม้ บริเวณรอบอุโบสถด้วย
3. กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมการศาสนาได้อนุญาตให้ตั้งวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษกเป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งสำนักงานเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาจะได้ประสานดำเนินการแต่งตั้ง เจ้าอาวาสวัดตามระเบียบอย่างเป็นทาง การ รวมทั้งประสานขอให้กรมการศาสนากำหนดเขตวิสุงคามสีมารอบอุโบสถต่อไป
4. กิจกรรมเพื่อการสั่งสอนเผยแผ่พุทธศาสนาและอบรมศีลธรรมเพื่อการพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ
l. เพื่อเป็นแบบอย่างของการก่อสร้างวัดขนาดเล็ก
2.เพื่อเป็นที่สั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนา
3. เพื่อเป็นที่อบรมศีลธรรมจริยธรรมเพื่อการพัฒนา
ดังนั้น การจัดกิจกรรมของวัดจึงให้ดำเนินไปเพื่อการสนองพระราชดำริทั้ง 3 ประการ ดังนี้
1. กิจกรรมในส่วนของภิกษุสามเณร เนื่องจากวัดพระราม 9 เป็นวัดขนาดเล็ก ในพรรษาแรกนี้ มีภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาเพียง 7 รูป เป็นกิจวัตรที่ภิกษุสามเณรทุกรูปจะต้องปฏิบัติคือ
1.l ช่วยกันดูแลรักษาวัดให้สะอาดเรียบร้อยและเงียบสงบ เพื่อให้เป็นที่สัปปายะคือสะดวกสบาย แก่การปฏิบัติสมณธรรม ตลอดถึงเป็นที่สัปปายะแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมของสาธุชน
l.2 ภิกษุสามเณรทุกรูปพึงเอาใจใส่ในวิปัสสนาธุระ คือการฝึกปฏิบัติจิตตภาวนาเพื่อเป็นแบบอย่าง แก่สาธุชนผู้สนใจในธรรมปฏิบัติและเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ตนเองในอันที่จะแนะนำสั่งสอนประชาชน ในธรรมปฏิบัติ ต่อไป
l.3 เทศนาสั่งสอนประชาชนในวันธรรมสวนะ (วันพระ) 8 ค่ำ 15 ค่ำ
l.4 นำพุทธศาสนิกชนประกอบพิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ มาฆบูชา วิสาขบูชา อัฏฐมีบูชา และอาสาฬหบูชา
2. กิจกรรมเผยแผ่และอบรม แม้ความพร้อมต่าง ๆ ภายในวัดยังไม่เรียบร้อยเท่าที่ควรท่านเจ้าอาวาส ก็ได้เริ่มงานสนองพระราชดำริทันที กล่าวคือ นอกจากเป็นที่อยู่จำพรรษาและปฏิบัติสมณธรรมของภิกษุสามเณรแล้ว จะต้องทำประโยชย์แก่พระศาสนาและแก่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีคุณค่าต่อการพัฒนาตลอดไปด้วย ฉะนั้นจึงได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
2.l จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่เยาวชนโดยการจัดภิกษุสามเณรผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาแก่นักเรียนโรงเรียนพระราม 9ในชั่วโมงเรียนวิชาพระพุทธศาสนา และจัดบรรยายพิเศษนอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในพระพุทธศาสนาอย่างถูกด้อง
2.2 จัดฝึกอบรมศีลธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน เน้นการฝึกอบรมจิตด้วยสมาธิวิธี เพื่อพัฒนาจิตใจของเยาวชนให้เป็นคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสมาธิในการเล่าเรียนมีสำนึกในทางศีลธรรมมีมารยาทที่ดีงามรู้จักทำประโยชน์แก่ส่วนรวมตามควรแก่สถานภาพ การฝึกอบรมดังกล่าวนี้จัดเป็น 2 ส่วนคือ
2.2.1 จัดฝึกอบรมจิตภาวนา แก่นักเรียนโรงเรียนพระราม 9 กาญจนาภิเษก ตามโอกาสที่เหมาะสม
2.2.2 จัดฝึกอบรมจิตภาวนา แก่เยาวชนในชุมชนซึ่งส่วนมากเป็นบุตรหลานของประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้วัด โดยจัดฝึกอบรมในเวลาเย็น มีการนำเด็กไหว้พระสวดมนต์ รับศีลแนะนำความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพื่อให้เด็กรู้เรื่องของพระพุทธศาสนาในขั้นพื้นฐานแล้วฝึกนั่งสมาธิ กิจกรรมส่วนนี้จัดเป็นประจำทุกวัน กิจกรรมเสริมความรู้ทางพระพุทธศาสนาและศีลธรรมจริยธรรม เป็นกิจกรรมเพื่อนำเยาวชนเข้าสู่วัด เข้าสู่ศาสนา เข้าสู่ศีลธรรม ด้วยสื่อที่ให้ทั้งความรู้และความสนุกเพลิดเพลิน ดังนี้
- จัดห้องอ่าน สำหรับเป็นที่อ่านหนังสือ โดยเน้นหนังสือที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และศีลธรรมจริยธรรม
-จัดห้องโสตทัศนศึกษา สำหรับเป็นที่ฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระราชกรณียกิจขนบประเพณีและสารคดีธรรม เพื่อให้เด็กได้รับความรู้ความเข้าใจและเกิด ความคุ้นเคยกับเรื่องของวัด ศาสนา ศีลธรรมและพระราชกรณียกิจในขณะนี้อยู่ ระหว่างเตรียมการจัดหาอุปกรณ์ และห้องโสตทัศนศึกษา
5. หลักการในการจัดกิจกรรม พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษาและฝึกอบรม การจัดกิจกรรมต่าง ๆทางพระพุทธ ศาสนาที่จะให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ จึงต้องดำเนินไปตามหลักการที่สำคัญของพระพุทธศาสนา 3 ประการ คือ
5.1 หลักการศึกษาและฝึกอบรม พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักการศึกษาและฝึกอบรมไว้ 3 ประการที่เรียกกันย่อ ๆ โดยทั่วไปว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล คือ หลักศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางกาย กล่าวคือศึกษาอบรมเพื่อ พัฒนาพฤติกรรมทางกายที่หยาบกระด้างให้ละมุนละไมขึ้นที่เกะกะเกเรให้เป็น ระเบียบเรียบร้อยขึ้น เพื่อให้เป็นผู้มีวินัยทางกายเป็นอย่างดี กระทั่งสามารถควบคุมการกระทำทั้งปวงของจารีตประเพณี และมีศีลธรรมอย่างครบถ้วนเป็นที่สุด สมาธิคือหลักศึกษาอบรมเอพัฒนาจิต กล่าวคือศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาจิตที่แข็ง กระด้างหยาบคายให้เป็นจิตที่สุภาพอ่อนโยนขึ้นฝึกอบรมจิตที่ขาดสติไร้ระเบียบวินัย ให้เป็นจิตมีสติมีระเบียบวินัยยิ่งขึ้นฝึกอบรมจิตที่ไร้สำนึกไร้คุณธรรมให้เป็นจิตที่มี สำนึกมีคุณธรรม กระทั่งสามารถควบคุมจิตใจของตนให้สงบเย็นและมั่นคงอยู่ในสิ่งที่ดี งาม และมั่นในศีลธรรมคุณธรรมได้ตลอดไป ปัญญา คือ หลักศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาปัญญาอันเป็นศักยภาพของชีวิตให้แหลมคม ฉับไวและถูกต้อง รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิดอะไรถูกอะไรควรอะไรไม่ควร เพื่อที่จะ ได้เป็นเครื่องชี้นำการคิด การพูดและการกระทำให้ดำเนินไปในที่ทางที่ถูกที่ควร อัน จะยังผลเป็นความสุขความสมบูรณ์แก่ชีวิตและสังคม
5.2 หลักการสอน การสอนนับเป็นวิธีการที่สำคัญในการศึกษาอบรมการศึกษาอบรมจะได้ผลดีเพียงไร ขึ้นอยู่กับวิธีการสอน จึงได้น้อมนำหลักการสอนของพระพุทธเจ้า 3 ประการ ไว้ใช้ประโยชน์กล่าวคือ
5.2.l สอนให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ คือ สอนเรื่องใด ควรทำให้ผู้รับการสอนเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างกระจ่างแจ้ง พระพุทธศาสนามุ่งสอนให้เกิดความรู้มิใช่มุ่งสอนให้เชื่อตามหรือคล้อยตามเพราะความรู้ อย่างกระจ่างแจ้งในเรื่องนั้น ๆ มีคุณค่าต่อชีวิต มากกว่าการเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งงมงายความทุกข์และปัญหาต่าง ๆ ของชีวิตนั้น แก้ไขได้ด้วยปัญญาหรือความรู้เท่านั้น ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยความเชื่ออย่างงมงาย
5.2.2 สอนให้รู้อย่างมีเหตุผล คือ นอกจากจะสอนให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้แล้วต้องรู้จักใช้เหตุผลในเรื่องนั้นๆ ด้วย เพราะการรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลจะช่วยให้เข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ได้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้นทั้งจะช่วยให้ผู้ฟังสามารถเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยตนเองต่อไปด้วยความเป็นผู้มีเหตุผลจะช่วยให้บุคคลสามารถ พิจารณาเลือกสรรค์สิ่งต่าง ๆ ต่อไป ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย
5.2.3 สอนให้รู้ในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ผลจริง คือ สอนในเรื่องที่ผู้เรียนสามารถทำได้หรือ เหมาะแก่ความประสงค์ของผู้เรียน รวมทั้งเหมาะแก่ความถนัดและความสนใจด้วย เพราะถ้าสอนในสิ่งที่เขาทำไม่ได้ การสอนก็ไร้ประโยชน์เสียเวลาเปล่าหรือถ้าสอนในเรื่องที่เขาไม่ถนัดไม่สนใจ ก็ไม่เกิดการเรียนรู้ ไม่มีการนำไปปฏิบัติ ซึ่งก็ทำให้การสอนเสียเวลาเปล่าเช่นกัน
5.3 เป้าหมายของการศึกษาอบรมการศึกษาอบรมทั้งปวงในพระพุทธศาสนามีเป้าหมายเพื่อให้ผู้รับการศึกษาอบรมละเว้นจากการทำชั่ว ทำแต่ความดี และพยายามทำจิตใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
เป้าหมาย 3ประการนี้ ถือว่าเป็นหลักการใหญ่ในพระพุทธศาสนา เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ ข้อแรก ละเว้นจากความชั่ว หมายถึงศึกษาอบรมเพื่อให้ผู้รับการศึกษาอบรมรู้จักเว้นชั่ว เริ่มแต่เว้นจากความชั่วเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงสามารถเว้นจากความชั่วได้โดยสิ้นเชิง ข้อสอง ทำแต่ความดี หมายถึงศึกษาอบรมเพื่อให้ผู้รับการศึกษาอบรมรู้จักทำดี เริ่มแต่ หัดทำดีแบบง่าย ๆ ไปจนถึงสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ข้อสุดท้าย พยายามทำจิตใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ หมายถึงศึกษาอบรมเพื่อให้ผู้รับการ ศึกษาอบรมกำจัดสิ่งสกปรกออกไปจากจิตใจของตน เริ่มแต่หัดระงับหรือกำจัดความคิดที่หยาบๆ เลวๆออกไปจากจิต ใจของตน จนสามารถกำจัดกิเลสทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง





โดย : เด็กชาย รุ่งโรจน์ ดาพรม, ราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545