โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำ

http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj302.htm

โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน
พระราชดำริ
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างระบบชลประทานตามลำน้ำสาขาต่าง ๆ ของแม่น้ำปิง ในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพื่อจัดหาน้ำสำหรับการอุปโภค - บริโภค และการเกษตรให้แก่ ราษฎร พร้อมทั้งอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ให้มีสภาพสมบูรณ์ ตลอดจนจัดสรรพื้นที่ป่าละเมาะให้ราษฎรทำการเกษตร


สถานที่ดำเนินการ
อำ เภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน


สภาพทั่วไปของโครงการ
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 279,501 ไร่ แบ่งเป็นเขตพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 107,791 ไร่ เป็นเขตไร่นา ชุมชน ประมาณ 171,710 ไร่ มีลักษณะเป็นเนินเขาและภูเขาสูงชันด้านตะวันออก โดยมีพื้นที่ราบและค่อนข้างราบบริเวณใกล้เคียงลำห้วยและริมฝั่งแม่น้ำปิง สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่ที่ทำการเกษตรเป็นป่าเสื่อมโทรม สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเสื่อมโทรม กึ่งป่าค่อนข้างสมบูรณ์ จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นป่าอุดมสมบูร³์เพื่อการอนุรักษ์ไว้เป็น พื้นที่ต้นน้ำลำธารต่อไป


ผลการดำเนินงาน

1. การอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้
- ดำเนินการดูแลรักษาสวนป่าโครงการ แผ้วถางวัชพืช ปลูกแซมต้นไม้ที่ตาย เพาะชำกล้าไม้ 200,000 กล้า ทำแนวกันไฟระยะทาง 45 กิโลเมตร
- ออกตรวจป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในพื้นที่โครงการ ร่วมกับชุดปฏิบัติการฝ่ายทหาร มีการกระทำผิด 1 ราย ไม่ได้ตัวผู้ต้องหา ยึดไม้สักได้ 15 ท่อน
- ได้ประชาสัมพันธ์กับราษฎรรวมทั้งเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านป่าไม้ รวม 5 ครั้ง มีราษฎรร่วมรับฟัง 110 คน

2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลพื้นที่ที่จะทำการวางหมุดหลักฐานในบริเวณพื้นที่โครงการฯ และจัดรูปแปลงไร่นาตามระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ 1,250 ไร่/ปี บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในพื้นที่โครงการ
- การจัดที่ทำกินให้ราษฎร 300 แปลง เนื้อที่ 1,500 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดขอบเขตพื้นที่ดำเนินการ
- ดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุงถนนสายเดิม 25 กิโลเมตร และได้ขุดสระน้ำช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ

3. การพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ
- ดำเนินการซ่อมแซมระบบท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำในเขตโครงการรวม 3 แห่ง พร้อมซ่อมแซมอาคารประกอบด้านท้ายฝาย บ้านห้วยปุ๊ จำนวน 1 แห่ง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร บริเวณลำห้วยแสง และห้วยคอควาย จำนวน 40 แห่ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ 400 ไร่
- ก่อสร้างโรงสูบน้ำ บ่อบาดาล และระบบส่งน้ำบ้านโรงวัว บ้านห้วยหนองสูนรวม 2 แห่ง เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก 400 ไร่
- ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำบ้านห้วยพัฒนา จำนวน 1 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 300 ไร่
- ขุดสระน้ำพร้อมอาคารประกอบบ้านห้วยส้ม จำนวน 2 แห่ง ความจุ 0.075 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 240 ไร่
- ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยขะหมาหลวงพร้อมระบบส่งน้ำ ความยาว 1,250 เมตร ความจุ 0.440 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำ บริเวณแปลงจัดสรรที่ดินทำกินของราษฎร บ้านใหม่สารภี บ้านห้วยฝาง บ้านโรงวัว พื้นที่รับประโยชน์ 450 ไร่ ราษฎรจำนวน 90 ครอบครัว
- ก่อสร้างระบบส่งน้ำฝั่งขวาอ่างเก็บน้ำห้วยสะแพทตอนบน จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก 400 ไร่

4. การพัฒนาอาชีพ
- ส่งเสริมการเลี้ยงปลาให้กับราษฎรโดยแนะนำการเลี้ยงปลาพร้อมทั้งแจกจ่ายพันธุ์ปลาให้กับราษฎรจำนวน 250,000 ตัว และนำพันธุ์ปลาปล่อยตามอ่างเก็บน้ำในพื้นที่โครงการจำนวน 250,000 ตัว
- ส่งเสริมการปลูกไม้ดอก โดยส่งเสริมการปลูกแกลดิโอลัสในแปลงรวมสาธิตของราษฎรจำนวน 10 ราย ได้ส่งเสริมการปลูกไม้ผลพันธุ์ดี อาทิ เช่น มะขามหวาน มะม่วงแก้ว ฝรั่ง ลำไย รวมทั้งการจัดทำไร่นาสวนผสม ฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง ข้าวโพดพันธุ์ต่าง ๆ

5. การพัฒนาคุณภาพชีวิต
- จัดหาอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่โครงการ
- ให้บริการตรวจรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้นและส่งเสริมสุขภาพเด็ก เพื่อให้ราษฎรมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เด็กได้รับวัคซีนอย่าง ต่อเนื่อง


บทสรุป
âครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงฯ ได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบันเพื่อที่จะพัฒนาแหล่งน้ำจัดหาน้ำสำหรับการอุปโภค - บริโภค และการเกษตรให้แก่ราษฎร ตลอดจนการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเหนืออ่าง เก็บน้ำต่าง ๆ ให้มีสภาพที่สมบูรณ์ ในการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรในพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียงเป็นอย่างมาก ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังได้สร้างจิตสำนึกให้แก่ราษฎรทำให้เกิดความรักความหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้ พร้อมทั้งร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนช่วยกันป้องกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามาบุกรุกทำลายป่าไม้ต้องตามพระราชดำริ ที่ได้พระราชทานไว้










โดย : เด็กชาย รุ่งโรจน์ ดาพรม, ราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545