โครงการพัฒนาดอยตุง

http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj304.htm

โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเชียงราย

พระราชดำริ
àมื่อวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้าง พระตำหนัก ได้มีพระราชกระแสรับสั่ง "ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง" และ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จแปร พระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก พร้อมกับทรงมีรับสั่งกับผู้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทว่า "อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุง แต่คงจะต้อง ใช้ระยะเวลายาวนานมาก อาจจะเป็นเวลานานถึง 10 ปี"


พื้นที่ดำเนินการ
อำเภอแม่สาย และอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย


สภาพโดยทั่วไป
โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตบางส่วนของอำเภอแม่สาย และอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 93,515 ไร่ หรือ 149.652 ตารางกิโลเมตร มีสภาพหนาวเย็นตลอดปี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารต่างๆ ในภาคเหนือ สภาพป่าบางส่วนเป็นป่าเสื่อมโทรมประกอบด้วย กลุ่มบ้านรวมทั้งสิ้น 27 หมู่บ้าน/กลุ่มบ้าน 1,602 ครัวเรือน มีครัวเรือนขนาดใหญ่เล็กต่างๆ กัน โดยเฉลี่ยประมาณ 59.30 ครัวเรือนต่อกลุ่มบ้าน โดยกลุ่มบ้านที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่นมีจำนวน 402 ครัวเรือน และครัวเรือนที่เล็กที่สุด ได้แก่ บ้านเล่าล่อโจ๋ มีจำนวน 6 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดประกอบด้วยชาว ไทยภูเขา ได้แก่ อีก้อ มูเซอ ลีซอ เย้า ลั้วะ และชนกลุ่มน้อย (ไทยใหญ่ จีนฮ่อ) ตลอดจนชาวไทย พื้นราบ โดยประชากรในพื้นที่มีรายได้ส่วนใหญ่จากการ ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาได้แก่ การเกษตรกรรม (ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2535)


แนวทางการดำเนินงาน
àนื่องจากพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ ประชากรในพื้นที่ประสบปัญหา ในหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาในการประกอบอาชีพ ปัญหาด้านความเป็นอยู่และสุขภาพอนามัย ฯลฯ เนื่องจาก ความไม่พร้อมของราษฎรจึงทำให้เกิดแนวทางการดำเนินงานขึ้น สามารถสรุปพอสังเขปได้ดังนี้


1. แผนงานพัฒนาการเกษตรและอาชีพ
- เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย พัฒนาการเกษตร และอาชีพการเกษตร โดยทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ ค้นหาวิธีการขยายพันธุ์ และรวบรวมพันธุ์พืช ที่เหมาะสมกับพื้นที่ พร้อมทั้งศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางแก้ไขจนสามารถที่จะส่งเสริมให้ราษฎร ในพื้นที่นำไปปลูกเป็นอาชีพได้ ทั้งยังจัดทำตำราและคำนำสำหรับให้การฝึกอบรมอาชีพแก่ราษฎร
- ให้การสนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชนในการการเพิ่มผลผลิตและจำหน่ายผลิตผลด้านการเกษตร โดยการรวมกันจัดตั้งกลุ่มตามชนิด ของพืชที่ปลูก รวมกลุ่มในการซื้อปัจจัยการผลิตและการรวมกันขายผลผลิตด้านการเกษตร
- สนับสนุนภาคเอกชนให้มาลงทุนดำเนินธุรกิจการเกษตรแผนใหม่ในการผลิตสินค้าเกษตรใหม่ๆ ที่มีลู่ทางการตลาดดี หรือการพัฒนา อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร
2. แผนคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
- เพื่อส่งเสริมการปลูกและฟื้นฟู ตลอดจนดูแลรักษาสภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่า ชุมชนโดยการเน้นการมีส่วนร่วมของราษฎร เพิ่มประชากรในการป้องกันและควบคุมไฟป่า ทั้งในด้านการบริหารและการดำเนินการ รวมทั้งการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
- ดำเนินการสำรวจรังวัดและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการ พร้อมทั้งจัดหามาตรการป้องกันผลกระทบของการ พัฒนาต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพดิน น้ำ และภูมิทัศน์ในพื้นที่โครงการ
3. แผนพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และความมั่นคง
- เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรและชุมชนในพื้นที่โครงการให้สามารถดำรงชีวิตและเข้ามามีส่วนร่วมใน การพัฒนา ทั้งทางด้านการศึกษา สาธารณสุข และ สุขภาพอนามัย สวัสดิการสังคม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- จัดระเบียบการปกครองและรักษาความมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่โครงการ โดยการจัดตั้งถิ่นฐานถาวรที่ถูกต้องตามกฎหมายให้แก่ชุมชน ในพื้นที่ รวมทั้งการป้องกันและสกัดกั้นการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่น


ผลการดำเนินงาน

1. แผนงานพัฒนาการเกษตรและอาชีพ
- งานทดสอบปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ ดูแลไม้ดอกที่เป็นแม่พันธุ์ คัดพันธุ์ทดสอบพืชเศรษฐกิจ เพื่อค้นหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับ สภาพดินฟ้าอากาศของ คพต.พ. งานทดลองปลูกและขยายพันธุ์ RHODODENDRON , AZALEA และงานปรับปรุงพันธุ์หน้าวัว
2. แผนงานคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
- ดำเนินการปลูก AZALEA จำนวน 89 สายพันธุ์ RHODODENDRON จำนวน 60 สายพันธุ์ และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกบริเวณสวน ทั้งหมดพร้อมต้นไม้ใหญ่ โดยกำจัดวัชพืชแปลงต่าง ๆ
3. แผนงานพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
3.1 งานมวลชนสัมพันธ์
- โดยการจัดส่งเจ้าหน้าที่ 10 คน เข้าไปประจำอยู่ใน 26 หมู่บ้าน เพื่อประสานงานกับส่วนราชการและประสานการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สำรวจข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ - สังคม การประกอบอาชีพรายได้ - รายจ่ายของราษฎร เพื่อทำเป็นข้อมูลในการ วางแผนการพัฒนาต่อไป
3.2 งานอบรมสัมมนาเพื่อบุคลากรและราษฎรในเขตโครงการฯ
- จัดประชุมประจำเดือนเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและหน่วยงานต่าง ๆ
- จัดแข่งขันกีฬาพื้นบ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ และราษฎร
- จัดประชุมอาสาปลอดยาเสพติดเพื่อมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่อาสาทุกคนที่เลิกยาเสพติดได้เด็ดขาด
- จัดประชุมสัมมนากลุ่มผู้นำประเพณีพื้นบ้าน ผู้นำหมู่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมผู้ประสานงาน คพต. ประจำหมู่บ้าน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มพัฒนาสตรีประจำหมู่บ้าน
3.3 งานพัฒนาเด็กเล็ก
- จัดจ้างผู้ดูแลเด็ก เพื่อปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและจัดซื้อวัสดุ - อุปกรณ์ สำหรับการจัดทำสื่อการเรียนการสอน
3.4 งานพัฒนาเด็กอ่อน
- จัดจ้างพี่เลี้ยงเด็กเพื่อดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กอ่อน และเชิญเจ้าหน้าที่พยาบาลจากโรงพยาบาลและสถานีอนามัยมาให้คำแนะนำ ตรวจสุขภาพให้กับเด็ก จัดซื้อวัสดุใช้สอยให้แก่ศูนย์เด็กอ่อน
3.5 โครงการรณรงค์และป้องกันโรคเอดส์
- ให้คำปรึกษาและเจาะโลหิตตรวจหาเชื้อเอชไอวี ให้แก่ หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มวัยเจริญพันธุ์ในรายที่สมัครใจ จัดนิทรรศการเผยแพร่ใËé ความรู้ให้แก่ราษฎร
3.6 งานศูนย์ฝึกอบรมผาหมี
- งานไม้หัว ได้มีการปลูกไม้หัวชนิดต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายและขยายพันธุ์ เช่น แกลดิโอลัส บอนชมพู บอนขาว เป็นต้น และได้ส่งผลผลิตจาก ไม้หัวให้บริษัท นวุตะ จำกัด คือ บัวดินขาว ว่านแสงอาทิตย์ ฯลฯ
- งานสตอเบอรี่ ได้ดำเนินงานขยายพันธุ์นำมาปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อจำหน่าย
- งานผักปลอดสารพิษ เช่น ผักสลัดชนิดต่าง ๆ คะน้า ถั่วลันเตา ฯลฯ หมุนเวียนตลอดปี เพื่อจำหน่ายและบริโภค
- งานพื้นที่ 30 ไร่ ได้ทำการปลูกไม้ยืนต้น และพืชผักเสริมชนิดต่าง ๆ
- งานไม้ดอกไม้ประดับ ผลผลิตที่ได้จะจัดแบ่งไว้เพื่อตกแต่งภายในบริเวณศูนย์ บางส่วนเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้และสนับสนุน หน่วยงานราชการต่าง ๆ
- งานการผลิตเห็ด เช่น เห็ดนางฟ้า นางรม ฮังการี ผลผลิตที่ได้ส่งจำหน่ายห้องอาหารของโครงการและลูกค้าทั่วไป
- งานเกษตรอื่น ๆ มีผลผลิตส่งจำหน่ายได้ เช่น สิบสองปันนาต้นใหญ่ ยูคาลิปตัส บัว เฟิร์น ASPARAGUS เป็นต้¹


บทสรุป

โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการพัฒนาที่สนองแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนี ในอันที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เคยเสื่อมโทรมให้กลับมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม การแก้ไขปัญหาความยากจนและสุขภาพอนามัย ของราษฎรในพื้นที่ ตลอดจนเป็นการลดความรุนแรงของปัญหาพืชเสพติดในพื้นที่ ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ พัฒนาได้หันมาให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการดำเนินงาน เพื่อสนองพระราชดำริจนประสบผลสำเร็จ และปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกิดการต่อเนื่องมีความสมบูรณ์ ตลอดจนเกิดการ พัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนราษฎรในพื้นที่สำหรับการดำเนินงาน ให้ปรากฎผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริต่อไป








โดย : นาง บุศรา รัชตะนาวิน, ripw klonglung prathumthanee 13180, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545