โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนกวง

http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj303.htm

โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเชียงใหม่


พระราชดำริ
¾ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2536 สรุปความว่า ให้พิจารณาดำเนินการปรับปรุงพัฒนาและอนุรักษ์สภาพป่าบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่กวงให้มีสภาพ ที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร โดยใช้แนวทางการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จแล้วจากศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริมาปฏิบัติ

ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นที่ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานไว้ดังนี้
1) พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมจัดให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการอยู่ก่อนแล้ว ทำกินด้านการเกษตร เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกป่า เพิ่มเติม
2) เร่งรัดให้มีการปลูกป่าในพื้นที่ที่ถูกทำลาย ฟื้นฟูสภาพแหล่งต้นน้ำลำธาร
3) พิจารณาดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์ และมีมาตรการป้องกันรักษาป่าที่เหมาะสม
4) พิจารณาสร้างฝายต้นน้ำลำธารกระจายทั่วพื้นที่โครงการ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่ป่า และจัดหาน้ำสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการตามความเหมาะÊÁ


สถานที่ดำเนินการ
Íำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่


ผลการดำเนินงานปี 2542

1. งานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ
- บำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ ระบบส่งน้ำและถนนเข้าอ่างเก็บน้ำที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 12 แห่ง
- ก่อสร้างโรงสูบน้ำบ่อบาดาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8" พร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 2 แห่ง ในพื้นที่บ้านป่าสักงาม เพื่อส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร จำนวน 160 ไร่ เลี้ยงปลาแบบประมงหมู่บ้าน จำนวน 11 ราย และเป็นแหล่งน้ำเสริมในการอุปโภค - บริโภค ในช่วงฤดูแล้งของราษฎร จำนวน 90 ครัวเรือน
- ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยตาดพร้อมระบบส่งน้ำ ความยาว 1.397 กิโลเมตร เพื่อสนับสนุนการผลิตพันธุ์พืชสวนของศูนย์ส่งเสริมและ ผลิตภัณฑ์พืชสวนเชียงใหม่และพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร พื้นที่ประมาณ 300 ไร่ และเป็นการอนุรักษ์และรักษาสภาพต้นน้ำลำธารให้เกิดความ ชุ่มชื้นแก่พื้นดินและป่าไม้
- ก่อสร้างระบบส่งน้ำฝายบ้านปางอัน ความยาว 640 เมตร จำนวน 1 แห่ง เพื่อจัดหาน้ำสนับสนุนในด้านการเกษตรและอุปโภค - บริโภค ให้แก่ราษฎร จำนวน 60 ครอบครัว มีพื้นที่รับประโยชน์ 130 ไร่
- ก่อสร้างฝายทดน้ำห้วยคังพร้อมระบบส่งน้ำ ความยาว 2.400 กิโลเมตร จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกบ้านป่าสักงาม จำนวน 140 ไร่
- ก่อสร้างระบบส่งน้ำสนับสนุนแปลงสาธิตการเกษตรและอาชีพสหกรณ์การเกษตร ความยาว 200 เมตร จำนวน 1 แห่ง เพื่อจัดหาน้ำให้กับพื้นที่แปลงสาธิตการเกษตร จำนวน 85 ไรè


2. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
2.1 งานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
- งานบำรุงสวนป่าเดิม เตรียมกล้าไม้ 60,000 กล้า ปลูกซ่อมกล้าไม้ 31,000 กล้า ดูแลสวนป่า 310,000 ต้น/31,000 ไร่ ป้องกันไฟป่า ในแปลงปลูกป่าพื้นที่ 3,200 ไร่ ทำแนวกันไฟและทางตรวจการณ์ 3 เส้นทาง
- งานปลูกเสริมป่าด้วยพันธุ์หวาย เตรียมกล้าหวาย 60,000 กล้า ปลูกแซมในบริเวณป่าชุ่มชื้นฟื้นตัวแล้วบริเวณห้วยคัง และห้วยลึก บ้านป่าสักงาม จำนวน 300 ไร่ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้สมบูรณ์มากขึ้น
- งานปลูกป่าเพื่อชีวิต ดำเนินการปลูกป่าแบบผสมผสานโดยใช้พันธุ์ไม้ที่สามารถนำไปบริโภคทั้งลำต้น ใบ และดอก เช่น หว้า มะขาม ผักชะอม พริกไทย ขิง ข่า เป็นต้น โดยปลูกในพื้นที่ป่าไม้ดั้งเดิมจำนวน 260 ไร่ ใช้กล้าไม้จำนวน 30,000 ต้น รวมทั้งการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นแก่ป่าและเพิ่มปริมาณน้ำซับ จำนวน 40 ฝาÂ
2.2 งานปกป้องทรัพยากรป่าไม้
ดำเนินการตรวจตราลาดตระเวนดูแลป้องกันรักษาป่าในพื้นที่รับผิดชอบ โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจแม่กวง บ้านป่าสักงาม บ้านแม่ลาย และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ได้ออกให้คำแนะนำทำความเข้าใจกับราษฎรและผู้นำหมู่บ้านในการ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และการป้องกันไฟป่าครอบคลุมพื้นที่ 343,500 ไร่ ในปี 2542 สามารถจับกุมการกระทำผิดได้ 20 คดี ผู้ต้องหา 5 คน ยึดไม้ของกลางได้ไม้สักท่อน 3 ท่อน ไม้กระยาเลยท่อน 16 ท่อน ไม้กระยาเลยแปรรูป 1,357 แผ่น พื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก 58 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา ได้อุปกรณ์การกระทำผิดได้แก่ ขวาน 1 เล่ม รถยนต์ปิคอัพ 2 คัน นอกจากนั้นได้ประชาสัมพันธ์แนะนำทำความเข้าใจกับราษฎร จำนวน 67 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 4,482 คน
2.3 งานป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 ได้จัดกำลังปฏิบัติการสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกเข้าทำกินและตัดไม้ทำลายป่าของ ราษฎรในเขตพื้นที่ป่าขุนแม่กวงครอบคลุมพื้นที่ 343,000 ไร่ นอกจากนี้กองบังคับการหน่วยเฉพาะกิจแม่กวง และชุดปฏิบัติการพัฒนาโดยการ จัดกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และตำรวจประจำจุดตรวจตลอด 24 ชั่วโมง ลาดตระเวนและหาข่าวเฉลี่ย 20 ครั้ง/เดือน ปฏิบัติการจิตวิทยา ประชาสัมพันธ์ 3 ครั้ง/เดือน ออกช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดลักลอบตัดไม้โดยเจ้าหน้าที่กล่าวตักเตือน 13 ราย ส่งตัว
ดำเนินคดี 2 ราย


3. งานพัฒนาอาชีพ
- ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ไก่ผสมสามสายเลือดให้แก่เกษตรกรบ้านป่าสักงาม จำนวน 10 ราย และ 14 รายตามลำดับ ขณะนี้อยู่ในช่วงขยายพันธุ์ การเลี้ยงดู และรอการจำหน่าย
- ส่งเสริมพัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงกบ ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2539 แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 บ้านศาลาปางสัก จำนวน 5 ครอบครัว ขณะนี้เกษตรกรได้รายได้จากการขายกºเกือบทุกครอบครัวแล้ว
ระยะที่ 2 บ้านป่าสักงาม จำนวน 9 ราย โรงเรียน 1 แห่ง และได้ทำการจำหน่ายกºไปหมดแล้ว
ระยะที่ 3 มี 2 หมู่บ้าน คือ บ้านกำแพงหิน และบ้านป่าป่าน สนับสนุนลูกอ๊อดกบนา 9 ราย ผลผลิตรุ่นที่แล้วได้ทำการจำหน่ายไปหมดแล้ว

- ส่งเสริมการเลี้ยงสุกร เกษตรกรตำบลป่าเมี่ยงเข้าร่วมโครงการ 20 ราย และเกษตรกรตำบลเทพเสด็จ 10 ราย
- ส่งเสริมการเลี้ยงปลา เกษตรกรบ้านป่าสักงามเข้าร่วมโครงการเลี้ยงปลานิล 11 ราย เกษตรกรตำบลป่าเมี่ยงเข้าร่วมโครงการเลี้ยงปลาดุก จำนวน 35 ราย
- ส่งเสริมการเพาะเห็ด เกษตรกรบ้านป่าสักงามเข้าร่วมโครงการ 3 ราย ได้ทำการเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดหอมขาว รวม 1,600 ก้อน
- ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เกษตรกรบ้านป่าสักงาม 78 ราย ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชผัก ปุ๋ย จัดหาตลาดจำหน่ายผัก ให้แก่เกษตรกร
- ส่งเสริมการปลูกไม้ดอก เกษตรกรบ้านป่าสักงามเข้ารวมโครงการ 6 ราย ได้ทำการปลูกและขยายพันธุ์ไม้ดอกคือ ดอกลิลลี่ ดอกปทุมมา ดอกหน้าวัว มังกรคาบแก้ว กล้วยไม้ออซีเดียม กล้วยไม้แวนด้า แกลดิโอลัส
- งานเกษตรผสมผสาน เกษตรกรบ้านป่าสักงามเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่บนบ่อปลา 4 ราย โครงการเลี้ยงปลานิลในบ่อ 4 ราย ปลูกพืช ผัก ผลไม้ 4 ราย
- การเลี้ยงสัตว์ป่า เกษตรกรบ้านป่าสักงามเข้าร่วมโครงการ 5 ราย ขณะนี้อยู่ในช่วงการเลี้ยงดูและขยายพันธุ์
- ส่งเสริมการปลูกไม้ผล เกษตรกรบ้านป่าสักงามเข้าร่วม 78 ราย ไม้ผลที่ปลูก ได้แก่ มะม่วง ส้มโอ มะนาว ขนุน ฝรั่ง มะละกอ กล้วย และกระท้อน นอกจากนั้นได้สนับสนุนกล้าพันธุ์ไม้ผลให้แก่เกษตรกรตำบลป่าเมี่ยง และตำบลเทพเสด็จ รวม 144 ราย
- อาชีพนอกภาคเกษตรได้ทำการอบรมการตัดเย็บเสื้อผ้า อบรมการตีเหล็ก อบรมการเชื่อมโลหะไฟฟ้า และการทำปุ๋ยหมัก


4. งานพัฒนาสังคม
¨Ñดทำโครงการสำรวจข้อมูลชุมชนทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์ต่อการ กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงาน ตลอดจนการประสานการ ปฏิบัติงานโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ได้จัดการอบรมโครงการบริหารงานร้านค้าสหกรณ์ไฟฟ้ามีผู้เข้าร่วม 30 คน นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงถนน ลูกรังเข้าแปลงพื้นที่ทำกินของราษฎรบ้านป่าสักงาม ระยะทาง 2 กิโลเมต


บทสรุป

นับตั้งแต่โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในห้วงแผนแม่บท ระยะที่ 3 (2539 - 2544) ได้ขยายพื้นที่ครอบคลุมอำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 245,000 ไร่ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งระยะที่ 1 (2536 - 2537) ระยะที่ 2 (2537 - 2538) และระยะที่ 3 (2539 - 2544) จะเห็นได้ว่าทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น สามารถป้องกันรักษาป่าไม้ได้ร้อยละ 100 ทั้งนี้ ราษฎรใน พื้นที่ส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งช่วยกันดูแลควบคุมไฟป่าร่วมกันปลูกเสริมป่า แม้ว่าการปฏิบัติงานใน บางพื้นที่ยังมีปัญหาด้านมวลชน ปัญหาเรื่องการบุกรุกที่ทำกิน ซึ่งเป็นผลมาจากราษฎรยังมีความเข้าใจผิด เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานก็มิได้ย่อท้อต่อการที่ จะทำความเข้าใจกับราษฎร พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ในปี 2542 ซึ่งเป็นปีมหามงคลเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วย ฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้จัดโครงการเทิดพระเกียรติโดยใช้ชื่อว่า "กิจกรรมการพัฒนาบ้านป่าสักงาม หมู่ที่ 1 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่" ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงฯ เพื่อให้ชุมชนบ้านป่าสักงามมีความเข้มแข็งสามารถ ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพที่ดีขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนที่เกื้อกูลต่อกันอย่างเป็นระบบและ มีประสิทธิภาพ











โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545