การเผยแพร่ขยายผลทฤษฎีใหม่

http://www.rdpb.go.th/thai/important/0010/0010.html

การเผยแพร่ขยายผลทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริที่วัดแหลมแค อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

ความเป็นมา
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2538 พระราชภาวนาวิกรม (พระมหาธงชัย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ
ได้มีลิขิตถึงกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาขอให้พิจารณานำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการเผยแพร่ขยายผลทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริที่วัดแหลมแคอำเภอ พานทอง จังหวัดชลบุรี
โดยมีรายละเอียดความเป็นมาสรุปว่า แต่เดิมอำเภอพานทองมีความอุดมสมบูรณ์มาก เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่
แบบพออยู่พอกิน แต่ในระยะตั้งแต่สิบกว่าปีมานี้ มีความเปลี่ยนแปลงไปมากเกษตรกร โดยเฉพาะเยาวชน
จะละทิ้งถิ่นที่อยู่และครอบครัวไปประกอบอาชีพใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรกรจำนวนมาก
เปลี่ยนแปลงจากการเพาะปลูกไปทำนากุ้ง โดยใช้รถบรรทุกน้ำทะเลไปเติมลงในบ่อเพื่อทำการเพาะเลี้ยงในระยะ หลังๆ นี้
สภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงมาก ทำให้การเพาะเลี้ยงมีต้นทุนสูงแต่ได้ผลผลิตต่ำ การปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
จึงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป การขายที่ดินให้ผู้ลงทุนนอกภาคการเกษตรมีมากขึ้นตามลำดับครอบครัวเกษตรกร ยากจนลง บางรายไร้ที่อยู่และที่ทำกิน

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว พระคุณเจ้าพร้อมด้วยพระเทพสิทธิญาณรังสี (หลวงตาจันทน์)และคณะ ศิษยานุศิษย์ที่วัดแหลมแค
จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดซื้อที่ดินบริเวณหลังวัดแหลมแค อำเภอพานทอง จำนวน 22 ไร่ และจัดทำแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่
ตามพระราชดำริในที่ดินแปลงดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติมหามงคลครองสิริราชครบ 50 ปี รวมทั้งเพื่อเป็นแบบอย่างให้ เกษตรกรในบริเวณใกล้เคียง
ได้เห็นและนำรูปแบบการพัฒนาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่อไป

เกี่ยวกับการนี้ มติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
องค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนาทรงรับโครงการและมอบหมายให้ฝ่ายเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาทำหน้าที่
เป็นที่ปรึกษาโครงการรวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมดำเนินงานโครงการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
ซึ่งสำนักงานเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานขอความร่วมมือให้กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ
ดำเนินงานโครงการ

แผนการดำเนินงานโครงการ
1. ศึกษาทดสอบระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีไม้ผลเป็นพืชหลัก พื้นที่ 5 ไร่
2. ศึกษาทดสอบระบบการปลูกพืช โดยมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลัก พื้นที่ 5 ไร่
3. ศึกษาทดสอบระบบวนเกษตรและพืชสมุนไพร พื้นที่ 2 ไร่
4.ศึกษาทดสอบการเพาะเลี้ยงเห็ด
5. ศึกษาทดสอบการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ฯ ศึกษาทดสอบการปลูกผักอนามัยปลอดภัยจากสารพิษ
6. งานบริหารวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
7.งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)

ผลการดำเนินงานโครงการปี พ.ศ. 2539 - 2540
การดำเนินงานในพื้นที่โครงการเผยแพร่ขยายผลทฤษฎีใหม่ที่วัดแหลมแค จังหวัดชลบุรี ได้จัดผังของพื้นที่
แบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้
1. บริเวณที่จัดเป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พื้นที่ประมาณ 5 ไร่
ขณะนี้รอการถมดินเพื่อยกระดับของพื้นที่ให้สูงขึ้นและออกแบบอาคาร เพื่อการก่อสร้างในปี พ.ศ.2541

2. บริเวณที่จะจัดเป็นวนเกษตร เพื่อรวบรวมพืชสมุนไพร และที่อยู่อาศัยของเกษตรกรพื้นที่ ประมาณ 2 ไร่
ขณะนี้รอการถมดินเพื่อยกระดับของพื้นที่ให้สูงขึ้น

3.บริเวณที่จัดเป็นสระน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในไร่นา พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เก็บสำรองน้ำไว้ ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในฤดูแล้ง
ขณะนี้ได้ดำเนินการปลูกพืชบริเวณขอบสระน้ำแล้ว เช่น มะพร้าวน้ำหอม กระถิน หญ้าแฝก ตะไคร้พร้อมทั้งปล่อยปลาไปแล้ว
เช่น ปลานิลและปลาสวาย นอกจากนี้ยังมีปลาจากธรรมชาติบางส่วนเช่น ปลาช่อน ปลาหมอและปลาตะเพียน

4. บริเวณที่จัดเป็นกิจกรรมระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นพืชหลัก (ข้าว+ปลา+พืชหลังนา) พื้นที่ประมาณ 4 ไร่เศษ
4.1 การปลูกข้าว ปักดำและหว่านน้ำตม โดยใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าว หอมปราจีนบุรี เบอร์ 1 และเบอร์ 2
ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 60 พันธุ์เหลืองประทิวและพันธุ์ข้าวเหนียว กข.6 สามารถเก็บ เกี่ยวได้เพียง 15 ถัง
เนื่องจากผลผลิตเสียหายจากหนูนาและนกกระจาบ
4.2 การเลี้ยงปลาในนาข้าว ปล่อยปลาในนาข้าว จำนวน 5,000 ตัว ได้แก่ ปลานิล และปลาตะเพียน จับปลาได้ทั้งหมด
ประมาณ 125 กิโลกรัม ได้นำไปปล่อยในสระน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ
4.3 การปลูกพืชหลังนา หว่านถั่วเขียวลงในพื้นที่นา เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน และทำการปลูกพืชผสมผสานกับถั่วเขียว
โดยปลูกข้าวโพด น้ำเต้าและฟักทอง มีการให้น้ำแบบใช้สายยางผลปรากฎว่า พืชที่ปลูกไม่งอกงามสาเหตุอาจเกิด
มาจากน้ำที่ใช้มีปริมาณเกลือค่อนข้างสูง

5.บริเวณที่จัดเป็นกิจกรรมระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในสภาพร่องสวนโดยมีไม้ผล เป็นพืชหลัก พื้นที่ประมาณ 5 ไร่เศษ
5.1 พืชหลัก ปลูกไม้ผลชนิดต่าง ๆ ได้แก่ มะม่วง ชมพู่ ขนุนและกระท้อน ไม้ผล บางส่วนเสียหาย จึงได้ทำการปลูกซ่อม
จากการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงขณะนี้พอสรุปได้ว่าละมุดสามารถเจริญ เติบโตได้เพียงชนิดเดียวแต่ไม่ดีเท่าที่ควร
เนื่องจากน้ำที่ใช้มีความเค็มเกินมาตรฐานของแต่ละพืช(ในฤดูแล้งน้ำที่เก็บ กักไว้ในสระจะมีความเค็มสูงขึ้น
เนื่องจากน้ำระเหยและน้ำใต้ดินซึ่งมีความเค็มสูงจะไหลซึมเข้าสระ)
5.2 พืชรอง ปลูกไม้ผลและพืชผักกินใบ ได้แก่ กล้วย หมาก เสม็ด ชะอม มะนาวและมะเขือพวง พอสรุปได้ว่า หมากเสม็ด
และมะเขือพวง สามารถเจริญเติบโตได้ดี
5.3 พืชแซม ปลูกผักอายุสั้น ได้แก่ มะเขือเทศ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหัวและ กุยช่าย ดำเนินการในรูปการผลิตผักอนามัย
ปลอดภัยจากสารพิษผักคะน้า กวางตุ้ง กุยช่ายและผักกาดหัวสามารถปลูก ได้การปลูกผักนอกจากจะเป็นรายได้
ยังนำไปเป็นอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดแหลมแคและเป็นการปรับ ปรุงโครงสร้างของดินไปด้วย
เนื่องจากการเตรียมดินจะมีการใช้ปุ๋ยคอก แกลบและฟางข้าวใส่ทุกครั้ง

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ
1. ลักษณะดินเป็นดินเหนียวจัด การระบายน้ำไม่ดี ทำให้ต้นพืชที่ปลูกมีอาการเหี่ยวเฉาและตายไปบางส่วน ซึ่งได้ทำการ
ปลูกซ่อมและเร่งพัฒนาปรับปรุงดินไปด้วย
2. การระบาดของศัตรูพืชมีมาก โดยเฉพาะข้าวโพดถูกทำลายเสียหายอย่างมากจากหนูนาการปลูก ผักและไม้ผลถูกรบกวน
และทำลายจากด้วงแมลงปีกแข็งกัดกินใบเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกพืชอย่างต่อเนื่องเพียง แห่งเดียวในบริเวณนี้
3.คุณสมบัติของน้ำที่ใช้ในการเกษตร มีความเค็มค่อนข้างสูงและไม่สามารถนำน้ำจากแหล่งอื่นเข้า มาหมุนเวียน
ชะล้างความเค็ม ทำให้ความเค็มของน้ำสูงขึ้นตลอดในช่วงหมดฤดูฝน
4. เครื่องมือทุ่นแรงในโครงการยังไม่เพียงพอ ต้องอาศัยแรงงานคน

แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ
1. ต้องมีการถ่ายเทน้ำโดยการสูบน้ำออกจากสระน้ำ และเก็บกักน้ำฝนลงในสระเพิ่มเติมเพื่อลด ปัญหาความเค็มของน้ำ
กล่าวคือต้องมีการถ่ายเทน้ำในสระและแปลงเกษตรให้มากขึ้น
2. ใช้แนวทางการพัฒนาปรับปรุงดินเปรี้ยวที่มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการที่อำเภอบ้านนา จังหวัด นครนายก ประยุกต์ใช้กับ
การแก้ไขปัญหาดินเค็ม คือใช้ฝนล้างดินเค็มแล้วสูบน้ำถ่ายเทออกจากสระและแปลงการ เกษตรปีละ 3 ครั้ง
คาดว่าภายใน 2-3 ปี ปริมาณความเค็มของดินน่าจะลดลง
3. ชนิดของพืชที่ปลูกโดยเฉพาะไม้ผลที่เป็นพืชหลัก จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยทดลองปลูกพืชที่มี ความทนทานต่อความเค็ม
ได้แก่ พุทรา มะขามเทศ มะขามและละมุด
4. จัดหาเครื่องมือ เครื่องจักรทุ่นแรงให้เพียงพอ เพื่อลดปัญหาเรื่องแรงงาน
5. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลการพัฒนาปรับปรุงดินและการปลูกพืชในดินเค็ม




โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545