โครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหา

http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj104.htm

โครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑลตามพระราชดำริ

1.สรุปพระราชดำริ
- ให้ทุก ๆ ฝ่ายต้องร่วมมือกันเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเร็วให้นำน้ำทิ้งออกไปทางคลองชายทะเล - ขุดบ่อล่อน้ำขนาดยักษ์ (SUMP) บริเวณโรงสูบน้ำชายทะเล (คลองด่าน) โดยให้กรมชลประทานดำเนินการทำ SUMP ขนาดใหญ่บริเวณโรงสูบน้ำชายทะเลเพื่อให้รับน้ำได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้สูบน้ำออกได้จำนวนมากยิ่งขึ้น
- เสริมเครื่องสูบน้ำ ให้สูบน้ำออกชายทะเลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้รีบระดมมาจากที่ต่าง ๆ มาทุก ๆ วิถีทางอย่างเร็ว มาเร่งระดมสูบน้ำบริเวณนี้ออกให้มากที่สุด
- ทำให้น้ำไหลจากด้านตะวันออกไปสู่คลองชายทะเลโดยสะดวก
- เปิดทางน้ำบริเวณที่ไหลไม่สะดวกให้เดินได้สะดวก เช่น บริเวณคอสะพานก็ควรจะทำให้กว้างขึ้นตรงทางน้ำไหล แต่ ถ้ามีถนนมากั้นก็ให้
พิจารณาและให้น้ำผ่านได้สะดวก ตอนใดมีเศษวัชพืชและเศษขยะก็ดำเนินการกำจัดออกโดยเร่งด่วน

2.แผนการดำเนินงานสนองพระราชดำริ
การดำเนินงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วม สามารถดำเนินการได้ใน 3 แนวทาง คือ
2.1 การทำประตูระบายน้ำชั่วคราว/ถาวร
2.2 กำจัดวัชพืชและผักตบชวา
2.3 ขุดลอกคู/คลอง

3.ผลการดำเนินงานสนองพระราชดำริ
ส่วนราชการต่าง ๆ ได้ร่วมมือกันดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมาเป็นลำดับ โดยสรุปได้ตามตารางดังต่อไปนี้

ตารางแสดงผลการดำเนินงานสนองพระราชดำริในช่วงที่ผ่านมา


ปีที่ดำเนินการ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
2538 - 2540 - ก่อสร้างประตูระบายน้ำชั่วคราวจำนวน 10 แห่ง ดำเนินการโดย กรมชลประทาน 6 แห่ง กรุงเทพมหานคร 4 แห่ง
- งานกำจัดวัชพืช ดำเนินการโดย รพช. 63 แห่ง เนื้อที่รวม 1037 ไร่ บก.สูงสุด 7 แห่ง เนื้อที่รวม 100 ไร่ กรมชลประทาน 30 แห่ง เนื้อที่รวม 4271 ไร่ จังหวัดปทุมธานี 13 แห่ง
- งานขุดลอกคลอง ดำเนินการโดย รพช. 2 สาย รวมความยาว 22.8 กม. บก.สูงสุด 14 สาย รวมความยาว 61.4 กม. กทม. 25 สาย รวมความยาว 115.7 กม. กรมชลประทาน 49 สายรวม ความยาว 264 กม.
- กรมทางหลวงขุดรางระบายน้ำ บริเวณด้านข้างถนนพุทธมณฑลสาย 5
- จังหวัดปทุมธานีก่อสร้างกำแพงดิน ป้องกันน้ำท่วมบริเวณ
โรงพยาบาลปทุมธานี - การปรับปรุงติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ได้ปรับปรุงและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ บริเวณริม คลองชายทะเลเพิ่มจาก 60 เครื่อง อัตราสูบ รวม 198 ลบ.ม./วินาที เพิ่มเป็น 86 เครื่อง อัตราสูบรวม 258 ลบ.ม./วินาที
- งานขุดลอกกำจัดวัชพืช ดำเนินการโดย กรมชลประทาน 43 แห่ง เนื้อที่รวม 7475 ไร่ บก.สูงสุด 3 แห่ง เนื้อที่รวม 102 ไร่ 3 เหล่าทัพ 10 แห่ง เนื้อที่รวม 832 ไร่
- งานขุดลอกคลอง ดำเนินการโดย กรมชลประทาน 58 สาย รวมความยาว 532.9 กม. กทม. 4 สาย รวมความยาว 19.2 กม. บก.สูงสุด 11 สาย รวมความยาว 4 กม. กองทัพบก 7 สาย รวมความยาว 47.9 กม.
2541 - รฟท. ขยายช่องระบายน้ำบริเวณสะพานรถไฟ ข้ามคลองดังนี้
1. คลองสามบาท
2. คลองสี่วาพาสวัสดิ์
3. คลองบางน้ำจืด - กรมทางหลวง ปรับปรุงรางระบายน้ำบริเวณ คลองดอกไม้ และนำน้ำลอดไปทิ้งลงคลอง ปลัดเปรียง และปรับปรุงคลองบริเวณ ใต้สะพาน ขนานบางนา - ตราด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวม 8 แห่ง
- บก. สูงสุด ขุดลอกคลอง และกำจัดวัชพืช 2. สาย (ตำหรุ , ยายจิ๋ว , ท้ายสลัด , คลอง ขุดใหม่) รวมความยาว 22.2 กม. พื้นที่ 168.375 ไร่
- จังหวัดสมุทรปราการขุดลอกคลองในเขต จังหวัด รวม 19 คลอง รวมความยาว 92. กม.


4.แนวทางการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป

ตารางแสดงแผนรับสถานการณ์น้ำท่วมในปี 42


ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
- การกำจัดวัชพืชตามคลองสายต่าง ๆ เพื่อการเตรียมรับมือกับน้ำท่วม
- ศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างประตูระบายน้ำถาวรบริเวณแม่น้ำ
ท่าจีน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่าง ศึกษา
- การดำเนินการก่อสร้างโครงการแก้มลิงบริเวณคลองมหาชัย
- สนามชัย กรมชลประทานได้พิจารณาก่อสร้างประตูระบายน้ำในโครงการ แก้มลิงมหาชัย - สนามชัย ดังนี้
1. ปตร. พร้อมสถานีสูบน้ำ ขนาด 3 ลบม./วินาที 12 เครื่อง และประตู เรือสัญจร ขนาดกว้าง 12.5 เมตร จำนวน 1 แห่ง (คลองมหาชัย - สนามชัย)
2. ปตร. 6x4.5 ม. และประตูเรือสัญจร 12.50 เมตร (คลองพระราม)
3. สำรวจเพื่อปรับปรุง ขุดลอก และทำกำแพงแนว ตลิ่งริมคลอง บางน้ำจืด (ปี 2543) และงานก่อสร้าง กำแพงกั้นน้ำท่วมบริเวณริมคลอง มหาชัย บริเวณ กม. ที่ 1 + 300 - 3 + 600
- การเตรียมการในปี 2542 นี้ กองบัญชาการ ทหารสูงสุด เป็นแกนกลางร่วมกับ หน่วยราชการต่าง ๆ แนวทางการดำเนินการคือ พยายามป้องกันมิให้น้ำจากด้าน ตะวันออก ไหลเข้าเขตกรุงเทพมหานครได้ รวมทั้งพยายามทำให้น้ำที่ไหลมา จากทุ่งรังสิต ระบายลงทางใต้ให้เร็วขึ้นและ ผ่านลงสู่คลองชายทะเลโดยเร็ว ซึ่งจากแนวพระราชดำริ ดังกล่าว ได้มีการสำรวจและวางแผนการดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
1. แผนระยะแรก (ปี 2542)
2. แผนระยะกลาง
3. แผนระยะยาว
- ในแผนระยะแรก ได้สำรวจคลองแนวตรงที่รับน้ำจากรังสิตใต้ มุ่งลงไปสู่คลองชายทะเลโดยเร็ว เพื่อให้ ส่วนที่รับผิดชอบขุดลอกและกำจัดวัชพืช ผักตบชวา รวมทั้งขยายท้อง คลองช่วงที่มีสะพานรถยนต์ และ สะพานรถไฟตัดข้าม เพื่อให้การไหลของน้ำ สะดวกขึ้น รวมทั้งสำรวจว่าช่วงใดสมควรติดตั้งเครื่อง ผลักดันน้ำ เพื่อผลักดัน น้ำไปสู่คลองชายทะเลโดยเร็ว - สำหรับแผนระยะกลาง และระยะยาวจะเป็นการ ดำเนินงานในด้านการขุดขยายคลอง ขุดคลองให้มีแนวตรง รวมทั้งจัดทำประตเปิด-ปิด และติดตั้งเครื่องสูบน้ำในประตูระบายน้ำ ซึ่งจะได้ร่วมกับส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนิน การต่อไป







โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545