โรคเอดส์

http://www.mcot.net/news.asp?id=1647&key=เอดส์
ระยอง ๑๒ พ.ค.- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมทดลองนำครีมขมิ้นชันรักษาโรคผิวหนังผู้ป่วยเอดส์ คาดหวังลดการนำเข้ายารักษาโรคผิวหนังแผนปัจจุบันจาก
ต่างประเทศ พร้อมทดลองขมิ้นชันแคปซูลรักษาโรคกระเพาะอาหาร โดยใช้เวลาทดลอง ๑ ปี
ถ้าประสบผลเตรียมจดสิทธิยบัตรเผยแพร่ผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป
ผศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เปิดเผยว่า ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาและวิจัยพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบและแผลในลำไส้ และครีมรักษา
โรคผิวหนังที่ติดเชื้อแบคทีเรียและผื่นแพ้ ขณะนี้ทำสำเร็จแล้ว กำลังทดลองทางคลินิก โดยครีมขมิ้นชันจะทดลองกับผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการทางผิวหนังจำนวน ๒๐๐ คน ที่โรงพยาบาลบำราษฎร์นราดูร เพื่อใช้ทดแทนยาเมต้าเมทาโซนในกลุ่มคนไข้ที่ผิวหนังมีอาการแพ้เฉย ๆ ไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย และทดแทนเตรดตร้าไมซินในกลุ่มคนไข้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียด้วย ทั้งนี้ ที่ทดลองกับ
คนไข้เอดส์ เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ถ้าสำเร็จก็ใช้รักษาโรคผิวหนัง
ในคนปกติได้เลย และใช้ทดแทนยารักษาโรคผิวหนังในผู้ป่วยเอดส์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
“ทำไมถึงทดลองกับคนไข้เอดส์ ความจริงแล้วคนไข้ทั่วไปก็ได้ แต่ปัญหาบ้านเรา
คนไข้เอดส์มีภูมิต้านทานต่ำ โอกาสแพ้หรือติดเชื้อง่าย ดังนั้นถ้าใช้กับคนไข้เอดส์ที่เป็นโรค
ผิวหนังได้ยิ่งเป็นนิมิตรที่ดี คนที่ภูมิต้านทานดีไม่ต้องพูดถึงจะรักษาง่าย เราต้องการแก้ปัญหา
สาธารณสุขของบ้านเรา ซึ่งผู้ป่วยเอดส์มีปัญหาโรคผิวหนังต้องใช้ยาสั่งจากนอกตลาด จะเอาขมิ้นชันมาทดแทนได้ไหม” ผศ.ดร.นพมาศ กล่าว
ผศ.ดร.นพมาศ กล่าวว่า ส่วนขมิ้นชันแคปซูล รักษาโรคกระเพาะอาหาร กำลังจะทดลองกับคนไข้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารระดับปานกลาง ๕๐๐ คน ที่โรงพยาบาลศิริราช และ
โรงพยาบาลราชวิถี เปรียบเทียบกับยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ซีเมทธิดีน (Cimetidine) ที่มีฤทธิ์ลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งในการรักษาโรคกระเพาะอาหารจะต้องใช้ยาหลายตัว
คือ ยาขับลม ยาลดกรด และยาฆ่าเชื้อ เพราะโรคกระเพาะอาหารเกิดจากเชื้อ H.Pylori ในกระเพาะอาหาร ขณะที่ขมิ้นชัน ประกอบด้วย สารกลุ่มสีส้มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และ
น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ดังนั้นสามารถรักษาโรคกระเพาะอาหาร
โดยใช้ขมิ้นชันตัวเดียว ไม่ต้องใช้ยาหลายชนิดเหมือนยาแผนปัจจุบัน
สำหรับยาขมิ้นชันทั้ง ๒ ชนิด พัฒนาขึ้นจากสารสกัดสารสีส้ม ซึ่งเป็นสารประกอบ CURUMINOIDS ในระดับความเข้มข้นไม่น้อยกว่า ๕% และน้ำมันหอยระเหย
ไม่น้อยกว่า ๖% การทดลองทางคลินิกจะใช้เวลา ๑ ปี หากรักษาได้ประสิทธิผล จะจดสิทธิบัตร
ในนามของคณะวิจัย และ วช.ต่อไป และเผยแพร่สู่ภาคเอกชนนำไปผลิตทดแทนยานำเข้า และสามารถเปิดตลาดต่างประเทศได้ส่ว นวิธีการขยายพันธุ์วิธีการปลูก เก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ จะบันทึกเป็นวีดีทัศน์ขยายผลสู่เกษตรกรต่อไป.- ๓๑๕ พ.๖

Update: Saturday, May 12, 2001



โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545