โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9

http://www.rdpb.go.th/thai/important/0009/0009.html

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี


ชื่อโครงการ โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
สถานที่ดำเนินการ อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ความเป็นมา 1.1 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ
ให้ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี นำเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการต่าง ๆ
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดิน
ของส่วนราชการที่จับจองไว้ แต่ยังมิได้ทำ ประโยชน์ ในเขตอำเภอคลองหลวง และอำเภอธัญบุรี
จังหวัดปทุมธานี เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างแหล่งเก็บ น้ำเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ตามพระราชดำริ
1.2 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2532 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวง การคลังทูลเกล้าฯ
ถวายที่ดิน บริเวณดังกล่าวข้างต้นเพื่อใช้ดำเนินโครงการ ในนามมูลนิธิชัยพัฒนา
พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้สำนักงาน เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และกรมชลประทาน ร่วมกับส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำ
เอนก ประสงค์ในเขตที่ดินดังกล่าวด้วยวิธีที่ เหมาะสมโดยด่วน ซึ่งแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่แห่งนี้
เมื่อ ดำเนินการเสร็จตาม โครงการแล้วจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชน
ทั้งในเขตจังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานครบางส่วนที่สำคัญเป็นแหล่ง เก็บน้ำปริมาณมาก
สำหรับท้องที่ ดังกล่าวได้ใช้ ทำนาปรังและปลูกพืชต่าง ๆ ในช่วงแห้งแล้งน้ำมีมากอาจแบ่งไปใช้
ในการบรรเทาน้ำเน่าเสียตามคลองและชุมชนบางแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลได้
นอกจากนี้แล้วสระเก็บน้ำยังทำหน้าที่ช่วยเก็บน้ำในฤดูน้ำ หลากส่วนหนึ่ง เพื่อช่วยบรรเทาน้ำท่วม
แก่พื้นที่ทางตอนล่างได้อีกด้วย
สาระสำคัญของโครงการ 1 สภาพทั่วไป
1) โครงการฯ ตั้งอยู่ระหว่างคลองระบายน้ำรังสิต 5 และคลองระบายน้ำ รังสิต 6 ที่อำเภอคลองหลวง
และอำเภอธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี ทางเข้าโครงการฯ เริ่มจากถนนสายรังสิต - นครนายก
ด้านทิศเหนือไปตามคลองระบายน้ำรังสิต 5 ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ส่วนทางด้านทิศเหนือ
ไปตามคลองระบายน้ำ รังสิต 6 ระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร บริเวณที่ตั้งโครงการแสดง
ใน แผนที่ มาตรส่วน 1:50,000 แผ่นระวาง 5137, 5136 ตามแนบ 1
2) ที่ดินในบริเวณโครงการฯ มีสภาพเป็นทีลุ่มและใช้ทำนา ที่ดินมีสภาพ ค่อนข้างรกร้าง มีต้นไม้
และวัชพืช ขึ้นอยู่เต็มพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง และมีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอาศัยอยู่ตามแนวริมคลอง
ด้านทิศตะวันออกและทิศ ตะวันตกของพื้นที่ รวมทั้งตามแนวซึ่งติดกับสถานที่ราชการกรมราชทัณฑ์

2 ลักษณะของโครงการ โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีพื้นที่ของ
โครงการรวม 2,827 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา (ตามฉนด) มีลักษณะโครงการและส่วนประกอบ
ที่สำคัญดังนี้
1) สระเก็บน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่รวม 2,580 ไร่ ความลึกที่ระดับ -3.00 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลางแยกเป็น 2 สระ มีทางน้ำเชื่อมถึงกันได้
- สระเก็บน้ำที่ 1 พื้นที่ประมาณ 790 ไร่ ความจะประมาณ 6 ล้าน ลูกบาศก์เมตร เพื่อรับน้ำ
จากคลองระบายน้ำรังสิต 6
- สระเก็บน้ำที่ 2 พื้นที่ประมาณ 1,790 ไร่ ความจุประมาณ 11.10 ล้านลูกบาศก์เมตร
เพื่อรับน้ำจากคลองระบายน้ำรังสิต 5
2) บริเวณพื้นที่โดยรอบสระเก็บน้ำ มีขนาดความกว้างประมาณ 50 เมตร และความยาว
โดยรอบสระเก็บน้ำประมาณ 13 กิโลเมตร จัดเป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ และจัดแต่งสวน
3) ส่วนประกอบสระเก็บน้ำอื่น ๆ ได้แก่
- ทางระบายน้ำเข้า - ออก พร้อมอาคารบังคับน้ำ รวม 3 แห่ง
- ถนนโดยรอบสระเก็บน้ำ ระยะทางประมษณ 12 กิโลเมตร พร้อม สะพานข้ามคลองเชื่องสระเก็บน้ำ
1 แห่ง
- สำนักงานและอาคารจัดการและบริหารน้ำ รายละเอียดแสดงใน แบบหมายเลข 118857
ตามแนบ 2

3 ประโยชน์ของโครงการ
1) สามารถส่งน้ำช่วยเหลือการทำการเกษตร เช่น ทำนาปรัง และการ ปลูกพืชต่าง ๆ
ในท้องที่ดังกล่าวในช่วงฤดูแล้งได้
2) สามารถเก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลากได้บางส่วนเป็นการช่วยบรรเทาปัญหา น้ำท่วมพื้นที่
ตอนล่างโครงการฯ ได้บ้าง
3) ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียตามคลองและชุมชนบางแห่ง โดยการปล่อยน้ำ
จากสระเก็บกักน้ำดังกล่าวไปชะล้างและเจือจากการเน่าเสียของน้ำ
4) เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนโดยทั่วไป
ผลการดำเนินโครงการ การดำเนินโครงการ มีขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ดังนี้
1 การแต่งตั้งองค์กรบริหารโครงการ
1) องค์ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ขุดสระเก็บน้ำเอนกประสงค์
โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2534 โดยมี
นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่คัดเลือก
ผู้รับเหมาดำเนินการ ขุดและขนย้ายดิน ตลอดจนบริหาร กำกับ ดูแลให้การ ปฏิบัติงาน
เป็นไปตามโครงการ รายละเอียดตามแนบ 3
2) คณะกรรมการดำเนินการฯ ได้คัดเลือกผู้รับเหมาขุดและขนย้ายดิน พร้อมกันได้แต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการ ควบคุมการขุดสระเก็บน้ำเอนกประสงค์ โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9ฯ ขึ้น
โดยมี นายปราโมทย์ ไม้กลัด เป็นประธานอนุกรรมการฯ รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะทำงานควบคุม
การขุดสระ เก็บน้ำเอนกประสงค์โครงการสระเก็บ น้ำพระราม 9ฯ ขึ้นด้วย รายละเอียด ตามแนบ 4

2. การดำเนินงานในส่วนประกอบของสระเก็บน้ำ สำหรับผลการดำเนินงานในส่วนประกอบของสระเก็บน้ำ ซึ่งประกอบด้วยทาง ระบายน้ำเข้า - ออก
3 แห่ง ถนนรอบสระเก็บน้ำ สำนักงานและอาคารจัดการ บริหารน้ำสรุปได้ดังนี้
1) การดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ 2534 – 2536 เป็นการควบคุมการขุดขนย้ายดิน
ของบริษัท/ห้าง หุ้นส่วนจำกัด ได้ขุดขนดินออกจากบริเวณ บ่อดินให้ได้ตามแบบแปลนที่กำหนด
ไว้ในสัญญา
2) การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2537 ได้ก่อสร้างท่อรับน้ำและ ระบายน้ำของคลองระบายน้ำ
ที่ 5 กม. 2+900 ขนาด 2050+1.75 ม. ยาว 138.00 ม. ก่อสร้างท่อรับน้ำและระบายน้ำ
ของคลองระบายน้ำที่ 6 กม. 3+100 ขนาด 2.50+1.75 ม. ยาว 146.00 ม. ก่อสร้างท่อรับน้ำ
กม.16+200 ของคลองส่งน้ำ 5 ซ้าย และก่อสร้าง สะพาน คสล. ระหว่างสระที่ 1 และสระที่ 2
ขนาด 6.00+30.00 ม.
3) การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2538 ได้ก่อสร้างรั้วรอบบริเวณ ความยาวรวม 4,000 เมตร
พร้อม ประตูทางเข้า - ออก จำนวน 6 แห่ง ก่อสร้างป้าย ชื่อโครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 1 แห่ง
และก่อสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ 1 แห่ง
4) สำหรับในปีงบประมาณ 2539 คณะกรรมการฯ กปร. ได้อนุมัติงบประมาณ เพื่อใช้ดำเนินการ
ก่อสร้างรั้วรอบบริเวณ ความยาวรวมทั้งสิ้น 3,700 เมตร ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณ
หน้าที่ทำการ มูลนิธิชัยพัฒนา ความยาว 450 เมตร และงานติดตั้งระบบไฟฟ้าในบริเวณที่ทำการ
มูลนิธิชัยพัฒนา
5) สำหรับในปีงบประมาณ 2540 คณะกรรมการฯ กปร. ได้อนุมัติงบ ประมาณ เพื่อใช้ดำเนินการ
ก่อสร้างรั้วเหล็ก ยาว 2,770 เมตร ก่อสร้างถนน ผิวจราจรลูกรัง ขนาดกว้าง 9,000 หนา 0.40 เมตร
ความยาว 10,900 ม.
6) สำหรับในปีงบประมาณ 2541 คณะกรรมการฯ กปร. ได้อนุมัติงบประมาณ เพื่อใช้ดำเนินการ
ก่อสร้างถนนผิวจราจรลูกรัง ขนาดกว้าง 9.00 ม. หนา 0.40 ม. ความยาว 1,750 ม.
7) การดำเนินงานในระยะต่อไป โดยที่มูลนิธิชัยพัฒนายังมีพื้นที่รอบสระเก็บน้ำที่มีขนาดกว้าง
โดยเฉลี่ยประมาณ 50 เมตร และความยาวตามแนว รอบสระเก็บน้ำ ประมาณ 13 กิโลเมตร
ซึ่งกำหนดเป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้และจัดสวน แต่ยังมิได้ดำเนินการ ทั้งนี้อยู่ระหว่างการจัดทำผัง
รายละเอียดและจะได้นำ เสนอคณะกรรมการ ดำเนินการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป



โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545