โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟู

http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj112.htm

โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดราชบุÃÕ

1. พระราชดำริ
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีการปรับปรุงดิ¹·Õè เสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก ทดสอบ วางแผน และจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยดำเนินการในลักษณะ ที่เป็นศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ

2.แผนการดำเนินงานสนองพระราชดำÃÔ
ศึกษาทดลองหาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการฯ ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งใช้เป็นแนว ทางในการปรับปรุงดินให้แก่ที่ดินของเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียง

3.ผลการดำเนินงาน
1) ศึกษาระบบนิเวศวิทยาด้านลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ไม้ในป่าเต็งรังรุ่นที่สองบริเวณเขาเขียวในพื้นที่โครงการฯ ปรากฏว่า พันธุ์ไม้ที่มีความหนาแน่นและมีความสำคัญทางนิเวศวิทยาในพื้นที่มากที่สุด ได้แก่ เต็ง และรัง
2) ค้นคว้า ทดลองหาวิธีการพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรม ศึกษาผลของระบบนิเวศเกษตรธรรมชาติต่อการปรับปรุงดินลูกรัง โดยปลูกไม้ยืนต้น 3 ชนิด ได้แก่ กระถินณรงค์, กระถินยักษ์ และไผ่รวก ควบคู่ไปกับพืชคลุมดินในรูปแบบต่าง ๆ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินสกลนคร ด้วยระบบปลูก
พืชตระกูลถั่วร่วมกับข้าวไร่ ใช้ประโยชน์หญ้าแฝก 6 สายพันธุ์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของดินชุดท่ายางและสกลนคร ปรับปรุงดินลูกรังด้วยระบบปลูกพืชไร่แซมในช่องว่างที่แตกต่างกันระหว่างแถวคู่แคฝรั่ง จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้หญ้าแฝกในรูปแบบต่าง ๆ 3) ศึกษาทดลองหาชนิดพืชที่สามารถปลูกได้ในดินชุดสกลนครและท่ายาง - ศึกษาทดลองหาความเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของมะขาม โดยวิธี อนุรักษ์ - ศึกษาทดลองระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน - ศึกษาทดลองฟื้นฟูที่ดินเพื่อการเกษตร - วนเกษตร - ศึกษาวิธีการทำปุ๋ยหมัก เพื่อฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม
4) จัดทำแปลงสาธิตทดสอบไม้ผลควบคู่ไปกับการปลูกพืชบำรุงดินและหญ้าแฝก รวมทั้งจัดทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
5) ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ และฝึกอบรมเกษตรกรผู้นำและเกษตรกรทั่วไป ให้มีพื้นฐานทางวิชาการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ จำนวน 80 ราย

4. แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป
จัดทำแผนแม่บทโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ เพื่อเป็นกรอบหลักให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นำผลการศึกษาทดลองต่าง ๆ ที่ประสบผลสำเร็จถ่ายทอดออกสู่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้ต่อไป




โดย : นาย โสภน หงษ์วิจิตร, ripw, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545