กินยาผิดกินสารเคมี

อมรชัย หาญผดุงธรรมะ.”กินยาผิดกินสารเคมี”.ใกล้หมอ.26,2 (กุมภาพันธ์ 2545) : 128-129.
กินยาผิดพบได้หลายกรณี เช่น ผิดชนิด หมายถึงไม่ใช่ยาที่ต้องการ อยากได้ยาแก้ไขไปได้ยาลดกรด อยากได้ยาแก้หวัดไปหยิบยาแก้ท้องร่วง อยากได้ยาระบายกลับไปหยิบยาแก้ไอ ผิดขนาด คือ ได้ยาตรงกดับอาการแล้วแต่กินผิดขนาดหรือเกินขนาด ยาบางชนิดร่ายแรงหรือออกฤทธิ์เร็วถ้ากินผิดขนาดจะเกิดอาการผิดปกติอย่างชัดเจน แต่บางชนิดไม่แรงนัก ผิดขนาดไปก็ไม่มีผลเสีย อาการผิดปกติอันเนื่องมาจากการกินยาผิด มีหลากหลายอาการที่จะเกิดขึ้น ตั้งแต่น้อยที่สุด คือ ไม่มีอาการอะไรเลย ไปจนถึงมากที่สุด คือหมดสติ การหายใจล้มเหลว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทั้งชนิดและขนาดของยาที่กินรวมถึงภาวะหรือโรคประจำตัวของผู้ที่กินยาผิดด้วย ยาเบาหวานอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ มีอาการเหงื่อแตก ใจสั่น เป็นลม ยาลดความดันโลหิตสูง อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเกินไป หน้ามืด เวียนศีรษะหรือช็อก ยาหัวใจอาจทำให้หัวใจเต้นช้าเกินไป เต้นผิดจังหวะ หลอดเลือดขยายตัว ปวดศีรษะ เหนื่อย วิงเวียน ฯลฯ แนวทางแก้ไข คือ พยายามตรวจสอบว่ากินยาอะไรเข้าไป มากน้อยแค่ไหน เอาเท่าที่พอทำได้ ขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้รู้โดยเร็วที่สุด อาจโทรศัพท์ถามโรงพยาบาล หรือแพทย์ที่ติดต่อได้เพื่อรับคำแนะนำ ว่าควรปฏิบัติในเบื้องต้นอย่างไร รีบพาส่งโรงพยาบาล พร้อมกับนำยา ซองยา ว่าสงสัยว่ากินผิดไปมอบให้แพทย์ด้วย ถ้าผู้ป่วยอาเจียนให้เอาสิ่งที่อาเจียนออกมาใส่ถุงพลาสติกไปด้วย เพราะอาจใช้ประโยชน์ในการตรวจพิสูจน์ได้ถ้าจำเป็น โดยเฉพาะกรณีที่หาหลักฐานหลงเหลือที่บ้านไม่ว่ากินอะไรเข้าไป ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยอาเจียนถ้าแพทย์ไม่ได้แนะนำให้ทำ ไม่ควรดื่มกาแฟ พยายามทำให้ผู้ป่วยอยู่นิ่ง ๆ ลดการเคลื่อนไหวลงให้มากที่สุด ถ้าผู้ป่วยไม่รู้ตัว หรือไม่ค่อยรู้ตัว ให้จับนอนตะแคงด้วย เพื่อป้องกันการสำลักเอาสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลมและป้องกันลิ้นจุกคอด้วย





โดย : นางสาว นางสาวพนิดา ยิ้มแฉ่ง, ripw Klonglung Pathumthani 13180, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545