สร้าง3สมดุลเผชิญปัญหาได้สบาย

วิทวัส วัณนาวิบูล.”สร้าง 3 สมดุลเผชิญทุกปัญหาอย่างมีสุขี”.หมอชาวบ้าน. 22,259
(พฤศจิกายน 2543) : 18-20.
ทัศนะแพทย์จีนจึงให้ความสำคัญกับ การสร้างสมดุลพื้นฐานของร่างกายซึ่งมีอยู่ 3 สมดุลใหญ่ ๆ ได้แก่ สมดุลแรก คือ สมดุลโครงสร้างหรือกล้ามเนื้อและกระดูก ภาพโครงสร้างใหญ่ หากเสียสมดุลจะส่งผลต่อความสมดุลภายในของร่างกาย เพราะเส้นลมปราณเชื่อมสัมพันธ์กันตลอดศีรษะ แขน ขา ลำตัว และอวัยวะภายใน ระบบโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อที่มีการบิดเบี้ยวหรือหดเกร็ง เอียงงอหรือบิดไปข้างใดข้างหนึ่งจะส่งผลให้พลังลมปราณต่าง ๆ ของร่างกายไหลเวียนติดขัด ทำให้ปวดเมื่อยเรื้อรัง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อส่วนค่าง ๆ ของร่างกายและอวัยวะภายใน ในระยะยาว สมดุลที่สอง คือ สมดุลของอวัยวะภายใน เนื่องจากอวัยวะภายในสามารถแบ่งได้เป็น 5 ธาตุ ธรรมชาติรอบตัวรวมทั้งอาหารการกิน ฤดูกาล แสง สี เสียง ฯลฯ ก็มีลักษณะ 5 ธาตุ การเข้าใจพื้นฐานร่างกายของตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มีคนจำนวนมากที่ไปซื้อสมุนไพรหรืออาหารเสริมมาบำรุงร่างกาย เพราะได้รับการแนะนำแต่ข้อดีของสูตรตำหรับสมุนไพรนั้น ๆ หรือเพราะรู้แต่ว่ามีสารอาหาร วิตามิน โปรตีน เกลือแร่ ซึ่งล้วนดีต่อร่างกาย บางคนเมื่อกินอาหารไปแล้วอาจทำให้ร่างกายกลับแย่ลง คือเปลืองทั้งเงิน เปลืองทั้งสุขภาพ สมดุลที่สาม คือ สมดุลของจิตอารมณ์ แพทย์จีนให้ความสำคัญของอารมณ์ทั้งเจ็ด ได้แก่ อารมณ์โกรธ ดีใจ วิตกกังวล เศร้าโศก เสียใจ กลัว ตกใจ ต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป



โดย : นางสาว นางสาวพนิดา ยิ้มแฉ่ง, ripw Klonglung Pathumthani 13180, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545