เตรียมการรับไข้หวัดใหญ่

จันทพงษ์ วะสี. “การเตรียมรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่”.หมอชาวบ้าน.21,250 ( กุมภาพันธ์ 2543) : 20-21.
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคระบาดที่พบแต่ครั้งโบราณ อาการสำคัญของไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ จาม เจ็บหรือแสบคอ อาจมีอาการน้ำมูกไหล หนาวสั่น คลื่นไส้ ปวดท้อง อาการไข้หวัดใหญ่รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา เชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไปภายหลังการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันตอบสนองแอนติบอดี มีบทบาทในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ตาม คนเราเป็นไข้หวัดใหญ่ได้หลายครั้ง เพราะเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโปรตีนตลอดเวลา แอนติบอดีจากการติดเชื้อเดิม ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อต่างจากชนิดเดิมได้ เชื้อไข้หวัดใหญ่ นอกจากพบในคนแล้ว พบการติดเชื้อเป็นประจำในสัตว์ประเภทนกน้ำ เช่น นกนางนวล เป็ด ห่าน หงส์ โดยนกน้ำจะไม่แสดงอาการป่วยนอกจากนี้ยังพบได้ในสัตว์อื่น ๆ ที่อาจแสดงอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ เช่น หมู ม้า ไก่ง่วง ไก่และแมวน้ำ เป็นต้น เชื้อไข้หวัดใหญ่อาจติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้




โดย : นางสาว นางสาวพนิดา ยิ้มแฉ่ง, ripw Klonglung Pathumthani 13180, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545