ครอบครัวใหม่

ครอบครัวใหม่ (new family) : อีกทางเลือกหนึ่งของสังคมไทย
น.พ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเวชกรรม กรมสุขภาพจิต คัดจากหนังสือ สุขภาพจิต 16 สุขภาพจิต
ครอบครัว จากหนังสือปฏิรูปความรูปความคิดฝ่าวกฤตบ้านเมือง (ใช้ในการประชุมอสม.ภาคกลาง) หน้า 66-67
ครอบครัว ตามคำจำกัดความหมายถึงบุคคล 2 คน หรือมากกว่านั้นที่มาอยู่ร่วมกันและมีความเกี่ยวพันกันทาง
สายเลือด (blood) การแต่งงาน (marriage) หรือการอุปถัมภ์ (adoption) ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมหน่วยแรกที่ทุกคน
ต้องเป็นสมาชิกตั้งแต่แรกเกิดไปจนตาย สถาบันนี้นอกจากทำหน้าที่ในการสร้างสังคมแล้ว ยังทำหน้าที่ในการสืบต่อมรดก
ทางประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อถือ ตลอดจนพัฒนาการของร่างกายและจิตวิญญาณจากชนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง
ครอบครัวมีวงจรชีวิต (life cycle) ของตัวมันเองโดยเริ่มจาก การแต่งงานมีลูก ลูกเรียนหนังสือ ลูกทำงานแล้วแต่งงานแยก
ครอบครัวออกไป พ่อแม่เกษียณอายุหรือถึงแก่กรรม ครอบครัวอาจเริ่มจากครอบครัวเดี่ยวไปเป็นครอบครัวขยาย แล้วกลับ
ไปเป็นครอบครัวเดี่ยวย่อย ๆ ต่อไปอีก
ลักษณะของครอบครัวไม่ใช่ผลรวมของบุคลิกภาพของแต่ละคนที่มาอยู่รวมกัน แต่จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่าง
กันไป ครอบครัวจะเป็นกลุ่มบุคคลที่เรารักและผูกพันหรือเกลียดชังกันอย่างมากที่สุด เป็นที่ตอบสนองความต้องการและ
เป็นความภาคภูมิใจหรือเป็นที่ที่ทำให้เราเสียใจ ผิดหวังและทุกข์ทรมานได้ในเวลาเดียวกัน
แม้ว่าสถาบันครอบครัว ทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยายจะยังคงมีอยู่แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยี ระบบอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมากได้ดึงดูดคนในวัยหนุ่มสาวให้ออกจากครอบครัวในชนบทมาอยู่ใน
เมืองและในโรงงานอุตสาหกรรม เด็กและคนชราจะเป็นผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบครอบครัว
ในระยะยาว เช่น ใครจะเป็นผู้ดูแล ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้ชราซึ่งเดิมเคยมีความมั่นใจว่าลูกหลานจะคอยเลี้ยงดู รวมทั้งการถ่ายทอด
ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมทางสังคมที่ผ่านระบบครอบครัวจากผู้อาวุโสจะขาดหายไป อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อมีเด็ก
กำพร้านับพัน ๆ คน ที่พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์และถูกตัดออกจากระบบครอบครัวอย่างสิ้นเชิง ความขัดแย้งทางการ
เมืองและสงครามทำให้เกิดการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติและครอบครัวอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในยุคปัจจุบัน ตัวอย่าง
เช่นสงครามในเขมร บอสเนีย และในอัฟริกา เป็นต้น ผู้ที่มีชีวิตรอดจากเหตุการณ์เหล่านี้จำนวนมากจะกลายเป็นผู้อพยพ
และส่วนหนึ่งจะเป็นผู้เหลือรอดเพียงคนเดียว (lone survivor) ของครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่เป็นหม้ายเนื่องจาก
สามีเสียชีวิตในสงคราม คนชราที่ลูกหลานสูญหายไปหรือเด็กกำพร้า
ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว เช่น คนชรา เด็กกำพร้า คนโสด ผู้ที่เป็นหม้ายเนื่องจากการหย่า
ร้างที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุก ๆ ปี หรือคู่สมรสเสียชีวิตไป ผู้อพยพผู้ลี้ภัยทางการเมืองหรือสงคราม ผู้ที่ไปทำงาน ไปศึกษา
ต่างประเทศเพียงคนเดียว การทิ้งถิ่นฐานเพื่อไปประกอบอาชีพเนื่องจากความอดอยาก ทุพภิกขภัยเหล่านี้ทำให้ผู้ไร้ครอบ
ครัวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมไทยขณะนี้ที่มีผู้กล่าวว่ากำลังอยู่ในภาวะ “ครอบครัวล่มสลาย” แม้ว่าความรู้สึก
แปลกแยกไม่คุ้นเคยจะเพิ่มมากขึ้นแต่เราทุกคนยังต้องการความรักความห่วงใย การช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้อื่น โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจากครอบครัวอยู่
นักสังคมวิทยามีความเชื่อว่า ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งแล้ว จะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหา โดย
ตัวของมันเองเหมือนกับธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดของเผ่า
พันธุ์ ดังนั้นในสภาพปัญหาที่ระบบครอบครัวเดิมเปลี่ยนแปลงไป จำนวนผู้ที่อยู่คนเดียว ผู้ที่ไร้ครอบครัวเพิ่มมากขึ้นเช่น ใน
ปัจจุบันพวกเขาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น สร้างครอบครัวใหม่ (new family) ของพวกเขาขึ้นมา
ระบบครอบครัวใหม่ (new family) คือสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หรือสภาพปัญหา
ทางสังคมที่ใกล้เคียงกัน นอกเหนือจากคนในครอบครัวของตนเอง ความผูกพันที่ยึดเหนี่ยวพวกเขาไว้จะขึ้นอยู่กับความไว้
วางใจ ความเห็นอกเห็นใจ และความต้องการที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะเป็นลักษณะครอบครัวทางสังคม (social
family) มากกว่าครอบครัวเดิม การเกิดครอบครัวใหม่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในสังคมโดยเฉพาะในวัฒนธรรมตะวันออก เช่น
การสาบานเป็นพี่น้องกันโดยจะมีการติดตามดูแล ช่วยเหลือไปตลอดเหมือนพี่น้องจริง ๆ หรือการเลี้ยงดูผู้ที่มาจากบ้าน
เมืองอื่น จนสนิทกันเหมือนญาติ
ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระบบครอบครัวใหม่จะมากกว่าความสัมพันธ์แบบเพื่อน (friendship) ที่เกิดขึ้นทั่วๆ ไป
หลายคนเคยมีความคิดว่า เพื่อนเราคนนี้ดีกับเรามากกว่าพี่น้องของเราเสียอีก หรือ “คุณป้าข้างบ้านดูแลเราเหมือนกับแม่
แท้ ๆ ของเรา” และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กวัยรุ่นบางคนจะมีความเชื่อถือไว้วางใจเพื่อนหรือคนอื่นมากกว่าพ่อแม่
ญาติพี่น้องของตนเอง เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ลึกซึ้งและยั่งยืน
เหมือนในครอบครัวขึ้นมาได้
ครอบครัวใหม่ อาจเกิดขึ้นในชุมชน สถานศึกษา โรงงาน สถานที่พิเศษ เช่น สถานกักกัน สถานพักฟื้น หรือ
สถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยผู้ที่อยู่ในชุมชนเหล่านี้เป็นผู้ต้องการครอบครัวตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ป่วยเอดส์
ระยะสุดท้ายส่วนหนึ่งจะถูกตัดออกจากครอบครัวในขณะที่เขามีความต้องการที่จะอยู่กับครอบครัวอย่างที่สุดจะเป็น
การดีถ้าสามารถจัดให้เขาอยู่กับอาสาสมัครหรือผู้ป่วยด้วยกันเอง ในแบบครอบครัวให้เขาได้ดูแลช่วยเหลือ ปลอบใจ
กัน เตรียมตัวที่จะพบกับความตายอย่างสงบและมีศักดิ์ศรี



โดย : นางสาว ปวีณา มีธง, -, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545