ครอบครัวใหม่

น.พ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเวชกรรม กรมสุขภาพจิต คัดจากหนังสือ สุขภาพจิต 16 สุขภาพจิต
ครอบครัว จากหนังสือปฏิรูปความรูปความคิดฝ่าวกฤตบ้านเมือง (ใช้ในการประชุมอสม.ภาคกลาง) หน้า 66-67
ครอบครัวมีวงจรชีวิต (life cycle) ของตัวมันเองโดยเริ่มจาก การแต่งงานมีลูก ลูกเรียนหนังสือ ลูกทำงานแล้วแต่งงานแยก
ครอบครัวออกไป พ่อแม่เกษียณอายุหรือถึงแก่กรรม ครอบครัวอาจเริ่มจากครอบครัวเดี่ยวไปเป็นครอบครัวขยาย แล้วกลับ
ไปเป็นครอบครัวเดี่ยวย่อย ๆ ต่อไปอีก
ลักษณะของครอบครัวไม่ใช่ผลรวมของบุคลิกภาพของแต่ละคนที่มาอยู่รวมกัน แต่จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่าง
กันไป ครอบครัวจะเป็นกลุ่มบุคคลที่เรารักและผูกพันหรือเกลียดชังกันอย่างมากที่สุด เป็นที่ตอบสนองความต้องการและ
เป็นความภาคภูมิใจหรือเป็นที่ที่ทำให้เราเสียใจ ผิดหวังและทุกข์ทรมานได้ในเวลาเดียวกัน
แม้ว่าสถาบันครอบครัว ทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยายจะยังคงมีอยู่แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยี ระบบอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมากได้ดึงดูดคนในวัยหนุ่มสาวให้ออกจากครอบครัวในชนบทมาอยู่ใน
เมืองและในโรงงานอุตสาหกรรม เด็กและคนชราจะเป็นผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบครอบครัว
ในระยะยาว ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมทางสังคมที่ผ่านระบบครอบครัวจากผู้อาวุโสจะขาดหายไป อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อมีเด็ก
กำพร้านับพัน ๆ คน ที่พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์และถูกตัดออกจากระบบครอบครัวอย่างสิ้นเชิง ความขัดแย้งทางการ
เมืองและสงครามทำให้เกิดการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติและครอบครัวอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในยุคปัจจุบัน และส่วนหนึ่งจะเป็นผู้เหลือรอดเพียงคนเดียว (lone survivor) ของครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่เป็นหม้ายเนื่องจาก
สามีเสียชีวิตในสงคราม คนชราที่ลูกหลานสูญหายไปหรือเด็กกำพร้า
ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว เช่น คนชรา เด็กกำพร้า คนโสด ผู้ที่เป็นหม้ายเนื่องจากการหย่า
ร้างที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุก ๆ ปี หรือคู่สมรสเสียชีวิตไป ผู้อพยพผู้ลี้ภัยทางการเมืองหรือสงคราม ผู้ที่ไปทำงาน ไปศึกษา
ต่างประเทศเพียงคนเดียว การทิ้งถิ่นฐานเพื่อไปประกอบอาชีพเนื่องจากความอดอยาก ทุพภิกขภัยเหล่านี้ทำให้ผู้ไร้ครอบ
ครัวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมไทยขณะนี้ที่มีผู้กล่าวว่ากำลังอยู่ในภาวะ “ครอบครัวล่มสลาย” แม้ว่าความรู้สึก
แปลกแยกไม่คุ้นเคยจะเพิ่มมากขึ้นแต่เราทุกคนยังต้องการความรักความห่วงใย การช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้อื่น โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจากครอบครัว




โดย : นางสาว ปวีณา มีธง, -, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545