เอกลักษณ์ในสภาพยุคโลกาภิวัตน์



การเคลื่อนไหวเพื่อเชื่อมโยงกันเป็น “ โลกเดียว “ ของนานาประเทศเป็นกระแสที่ก่อตัวสูงขึ้นตามสภาพพัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารและความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสาร กระแสดังกล่าวเป็นไปตามการคาดการและการวิเคราะห์ของ อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ ( Alvin Toffle ) นักเขียนระดับโลกซี่งได้วิเคราะห์สถานการณ์ในอดีตปัจจุบันและอนาคตไว้ในหนังสือ คลื่นลูกที่สาม ( The Third Wave ) โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมโลกเหมือนคลื่นลูกที่สาม
คลื่นลูกที่หนึ่ง คือ สังคมเกษตรกรรม เริ่มเมื่อประมาณ 8000 ปีก่อนคริสตกาลเป็นผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมใช้เวลานับพันปีก่อนจะแสดงตัวอย่างเด่นชัดมาสู่ คลื่นลูกที่สอง คือ สังคมอุตสาหกรรมเริ่มเมื่อประมาณ ค.ศ. 1650-1750 เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีการใช้เครื่องจักรกล มีโรงงานขนาดใหญ่ผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อมวลชนใช้เวลาประมาณ 300 ปี ในการก่อตัวจนเริ่มเข้าสู่คลื่นลูกที่สาม คือ สังคมแห่งเทคโนโลยีระดับสูงมีจุดเริ่มต้นราว ค.ศ. 1955 ในปัจจุบันมีการเคลื่อนตัวเข้ามาอย่างรวดเร็วสู่สังคมต่าง ๆ ทั่วโลกยุคนี้มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม ฯลฯ อย่างรวดเร็ว ข่าสารข้อมูลต่าง ๆ สามารถส่งต่อกันได้สะดวกและรวดเร็ว ผู้คน สินค้า บริการ เงินตรา สามารถถ่ายเทได้ในเวลาสั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เราเรียกยุคที่ไร้พรมแดน ในยุคข่าวสารข้อมูลนี้ว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์
คลื่นลูกที่สามส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของโลก และก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงทุกระดับ นับตั้งแต่ระดับโลกระดับกลุ่มประเทศ ระดับประเทศ ย่อยลงมาเรื่อย ๆ จนกระทั้งถึงระดับครอบครัว


ที่มา : เอกลักษณ์ในสภาพยุคโลกาภิวัตน์.2542.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : wwwcharpa.co.th/bulletin



โดย : นางสาว ปวีณา มีธง, -, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545