2002 คอมฯมาแรง แซงหน้าโทรทัศน์


คอมพิวเตอร์มาแรง แซงหน้าโทรทัศน์
อินเทล สำรวจความเห็นคนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผลที่ออกมาชี้ว่าคนเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มากกว่าโทรทัศน์เพราะมีเทคโนโลยีใหม่มากกว่า แถมยังมีลูกเล่นเชื่อมต่ออุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ ได้มาก ส่วน MP3 ยังครองแชมป์กิจกรรมสุดฮิตของชาวไซเบอร์

ผลสำรวจของ “อินเทล? เพนเทียม? โฟร์ โปรเซสเซอร์ ดิจิตอล จอย” ซึ่งทำการสอบถาม ประชาชน 9,000 คนในประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิกพบว่า คนส่วนใหญ่พอใจที่จะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มากกว่าโทรทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ชิปเพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสมบัติที่มีค่าชิ้นหนึ่ง ปรากฏการณ์ “คอมพิวเตอร์ข้าใครอย่าแตะ” หรือ อาการหวงเครื่องคอมพิวเตอร์นี้มีอยู่ทั่วทุกประเทศที่ทำการ สำรวจ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และประเทศไทย คนหนุ่มสาวและคนที่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยดูจะเป็นกลุ่มที่มีอาการนี้มากที่สุด

ที่มาของบทสรุปนี้มาจากการสำรวจของ “อินเทล? เพนเทียม? โฟร์ โปรเซสเซอร์ ดิจิตอล จอย” ที่ป้อนคำถามโดนใจผู้ถูกสำรวจว่า หากมีอันต้องแยกทางจากคนรักและจำเป็นต้องแบ่งสมบัติกันแล้ว คุณจะเลือกอะไรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ ผู้ตอบชาวมาเลเซีย (ร้อยละ 74) เกาหลี (ร้อยละ 69) และประเทศไทย (ร้อยละ 68) เป็นสามประเทศที่นำลิ่วเรื่องความรู้สึกหวงเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่าโทรทัศน์ ขณะที่ผู้ตอบส่วนใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฮ่องกง ยังคงเลือกโทรทัศน์มากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์

แนวโน้มที่น่าสนใจนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้ความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและการติดต่อสื่อสาร ยิ่งกว่านั้นยังเสริมสร้างและสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ สามารถให้ความบันเทิงได้หลากรูปแบบ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็น หัวใจของการทำงาน การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่และคนวัยทำงานส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่เม่ื่อประมาณ 50 ปี ที่แล้ว ไม่มีใครคาดคิดว่าคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความสะดวกและมีประโยชน์ขนาดนี้ นักคิดค้นระดับหัวกะทิหลายคนในยุคนั้นทำนายความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ในอนาคตหรือในยุคของเราว่า จะมีประสิทธิภาพสูงเพราะประกอบด้วยหลอดสูญญากาศประมาณ 1,000 หลอด และมีน้ำหนักประมาณหนึ่งตันครึ่ง

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลการสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้ตามบ้านในแถบเอเชีย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ทุกครอบครัว สามารถมีกิจกรรม ที่หลากหลายร่วมกันได้ โดยเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปเพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเป็นกระแสที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก”

ตัวอย่างกิจกรรมที่คนรุ่นใหม่ๆ ทั่วโลก สามารถสนุกสนานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนคือ การดาวน์โหลดเพลงโปรดจากอินเทอร์เน็ตสู่เครื่อง MP3 จากผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 51 ของคน ในวัย 18-34 ปีทั่วโลกเคยดาวน์โหลดเพลงจากอินเตอร์เน็ตกันมาแล้วทั้งนั้น กิจกรรมนี้ดูจะเป็นกิจกรรมยอดฮิตในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกด้วยเช่นกัน โดยวัยรุ่นไต้หวันเป็นประเทศที่นิยมความสนุกสนานในรูปแบบนี้มากที่สุด เช่นเดียวกับวัยรุ่นชาวแคนาดา ตามมาด้วยฮ่องกง ส่วนวัยรุ่นในเอเชีย นิยมดาวน์โหลดเพลงของประเทศตนเองมากกว่าเพลงต่างประเทศ สำหรับผู้ชื่นชอบดาวน์โหลดเพลงชาวไทย นิยมเพลง “สุริโยทัย” โดยนันทนา บุญหลงมากที่สุดในปีที่ผ่านมา

แน่นอนว่า พลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มากมายกว่าการฟังเพลง ในปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์บัดนี้ได้กลายเป็น “ศูนย์รวมความบันเทิง” ไปแล้ว และยิ่งในปัจจุบันมี เพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ ความเร็ว 2.2 กิกะเฮิร์ตซ ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดที่อินเทลเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีพลังการทำงานสูงสุด รวมทั้งยังสามารถทำงานแบบ อินเตอร์แอคทีฟได้อย่างแท้จริง เพื่อใช้ค้นหาข้อมูลในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และความบันเทิงที่หลากหลาย เมื่อความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันจึงได้รับการพัฒนาให้เชื่อมต่อการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เกือบร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ลงความเห็นให้กล้องดิจิตอลวิดิโอเป็นอุปกรณ์ดิจิตอลที่ได้รับความนิยมสูงสุดหากต้องการเลือกซื้อให้ใครสักคนเป็นของขวัญ ตามมาด้วยกล้องดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 และจอยสติ๊ก

เมื่อมาถึงคำถามเกี่ยวกับการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในห้องเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกทั้งหมดให้ความเห็นที่ตรงกันว่า เครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตควรเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในการเรียนรู้ในห้องเรียน โดยในประเทศฮ่องกง จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และอินเดีย ให้ความสำคัญต่อการผนวกหลักสูตรการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ไว้ในแผนการศึกษามากขึ้น ที่น่าสนใจคือประเทศไทยและฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญต่อการศึกษาทางไกลมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ก็ควบคู่ไปกับการวางแผนนำคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาใช้ในห้องเรียนด้วย

คำถามปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอีกข้อหนึ่งคือ หากให้ท่านเลือกสิ่งที่เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ เพื่อให้เป็นไอคอนที่ชาวอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจะได้รู้จักประเทศของท่าน ท่านจะเลือกอะไร ผู้ตอบในประเทศฮ่องกงโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีการศึกษาและเป็นผู้ใหญ่ จะเลือกตึกระฟ้าที่มีแสงไฟระยิบระยับยามค่ำคืน ส่วนจีนนั้น คงเดาได้ไม่ยากว่า ผู้ตอบส่วนใหญ่เลือกกำแพงเมืองจีนเป็นสัญญลักษณ์ของประเทศตนมากที่สุด ตามมาด้วยจตุรัสเทียนอันเหมิน ส่วนชาวสิงคโปร์เลือกสนามบินชางกีเป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยร้อยละ 57 เลือกพระบรมมหาราชวังเป็นสัญญลักษณ์ของประเทศไทย อันดับสองคือพระปรางค์วัดอรุณฯ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าเป็นภาพในช่วงพระอาทิตย์ตกดินซึ่งปกติจะสวยงามมากหรือในช่วงใดของวัน ที่น่าแปลกใจคือ วัยรุ่นชาวไทยกลับเลือกตลาดน้ำเป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ

สำหรับคำถามที่อาจถูกใจผู้คลั่งไคล้กล้องวิดิโอดิจิตอลก็คือ หากจะให้ท่านสร้างโฮมมูวี่ ด้วยกล้อง ดิจิตอลสักเรื่อง ท่านจะเลือกใครมาเป็นตัวเอก ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่โดยเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ เลือกบุคคลในครอบครัวของตน หรือเพื่อนฝูงที่รักใคร่กันมาเป็นตัวเอกในเรื่อง แต่สำหรับประเทศไทยนั้นแปลกกว่าใคร เพราะ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจ พอใจเลือก ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นตัวเอกของเรื่อง ไม่มีรายละเอียดอีกเช่นกันว่า ผู้สร้างโฮมมูวี่แต่ละท่านจะเอานายกรัฐมนตรีของเรามาแสดงอะไร แต่คนไทยที่เป็นวัยรุ่นพอใจจะเลือกดาราหนุ่มรูปหล่ออย่าง แอนดริว เกร็กสัน มาเป็นตัวเอกมากกว่า

ข้อมูลเกี่ยวกับอินเทล

อินเทล เป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นผู้นำในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์สื่อสาร ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท อินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom

เข้าถึงได้จาก http://www.byxtreme.com/



โดย : นางสาว Laddaporn ngamthura, klonglong, วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545